นับถอยหลังสู่ ‘การเปลี่ยนผ่าน’ ‘เปลี่ยน..ให้ทันโลก’ New world New opportunity New Business

ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกปีที่ผ่านมา และที่กำลังเกิดขึ้นนับจากนี้ไป ถือเป็น ห้วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญอย่างยิ่ง ประเมินกันว่าในปี 2560 เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญความท้าทายต่างๆ ทั้งจากเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ผลกระทบจาก Geopolitics ระหว่างประเทศมหาอำนาจ รวมถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่พลิกโฉมโดยสิ้นเชิงจาก Start UP, Fin Tech, การดำเนินธุรกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) ขณะที่ราคาผลผลิตการเกษตร ภัยธรรมชาติ การดึงดูดเม็ดเงินลงทุนใหม่ๆ จากอุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรม (THAILAND 4.0) ความไม่ชัดเจนทางการเมือง ฯลฯ เป็นตัวแปรสำคัญที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญ

จากสมมุติฐานที่ว่าการวิเคราะห์ และคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าอย่างแม่นยำ นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับธุรกิจของไทยในทุกระดับ ขณะที่ “การปรับตัว” และ “ยกระดับธุรกิจ” ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ คือ การสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เกิดขึ้น

ในโอกาสที่ “ประชาชาติธุรกิจ”  ผู้บุกเบิกหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจฉบับแรกของประเทศ ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 41 เล็งเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต นำมาสู่แนวคิดการจัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “เปลี่ยน…ให้ทันโลก New world  New opportunity New Business” เพื่อนำมุมมอง ความรู้ และประสบการณ์จากผู้ทรงภูมิความรู้ มีความเชี่ยวชาญ และเป็น “ยอดกูรู” ในการปรับเปลี่ยนองคาพยพธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและดียิ่ง ท่ามกลางกระแสโลกที่ไม่เหมือนเดิม มาเผยแพร่ให้กับนักธุรกิจ นักลงทุน และประชาชนทั่วไป ได้รับรู้ รับทราบ ซึ่งอาจนำไปเป็นแนวทางสู่การพัฒนาธุรกิจของตนต่อไป ซึ่งขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ “ประชาชาติธุรกิจ” ที่ยึดถือมาโดยตลอดว่าต้องทำหน้าที่  “เตือนคุณล่วงหน้า ทุกคำ ทุกข่าว”

ขวบก้าวย่างสู่ปีที่ 41 ครั้งนี้ “ประชาชาติธุรกิจ” จึงทำหน้าที่ของตนด้วยการนำ “4 ยอดขุนพลธุรกิจ” เมืองไทย ประกอบด้วย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี, ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และ ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่กรุงศรีคอนซูเมอร์ มาวิเคราะห์เจาะลึก เปิดมุมมองใหม่ของธุรกิจ และวิธีปรับเปลี่ยนให้ทันโลก เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ในห้วงเวลาที่ทุกอย่างรอบตัวเรากำลังจะเชื่อมต่อด้วยคอมพิวเตอร์กับอินเตอร์เน็ต เปลี่ยนโลกไปอีกขั้นหนึ่ง ธุรกิจที่เคยรุ่งเรืองในยุคอนาล็อกอาจหายไป ใครที่ปรับตัวไม่ได้ ก็จะอยู่ไม่รอด ผู้อ่านเกมขาดเท่านั้นที่จะเห็นล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น และนั่นคือ โอกาสทางธุรกิจ

Advertisement

ขณะเดียวกัน คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ร่วมแจมความรู้ด้วยการอัพเดตความคืบหน้าแผนการพัฒนาโครงการพื้นที่ EEC ในทุกๆ ด้าน ทั้งการเตรียมการ การพัฒนาสาธารณูปโภค ถนน รถไฟ ไฮสปีดเทรน สนามบินอู่ตะเภา รวมถึงความสนใจของ “ทุนยักษ์” ระดับโลกที่จะเข้ามาลงทุนในเขตอีอีซี

สัมมนาครั้งนี้ จัดขึ้นที่ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างเวลา  09.00-12.00 น. วันพฤหัสที่ 25  พฤษภาคม 2560 รับจำนวนจำกัด 400 คน ไม่มีค่าใช้จ่าย

ห้ามพลาด ถ้าไม่อยากตกขบวน!!

ค้นหา’คำตอบ’

 

คณิศ แสงสุพรรณ

คณิศ แสงสุพรรณ
“..การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ก็คือการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ภาค 2 และสนามบินอู่ตะเภา ถือเป็นกระดูกสันหลังของโครงการนี้ การลงทุนใน EEC ทั้งภาครัฐและเอกชน คาดว่าจะมีเม็ดเงินอย่างน้อย 1.5 ล้านล้านบาท หรือ 4.38 พันล้านเหรียญ ภายใน 5 ปีแรก ซึ่งขณะนี้มีทั้งหมด 15 โครงการ ใน 4 กลุ่มธุรกิจ จะดำเนินการ 5 โครงการก่อนในปี 2560 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนราว 3-4 แสนล้านบาท ที่จะต้องมีการทำสัญญา เพื่อให้ดำเนินการได้เร็วตามเป้าหมาย..”

…เฟสแรก เป้าหมายคือให้สนามบินเกิด จากนั้นภายใน 8 เดือน ต้องมีการประกวดราคา ในพื้นที่เป็นแอร์พอร์ตซิตี้ให้ได้ อย่างน้อยต้องมีทีโออาร์ชัดเจน รถไฟความเร็วสูงต้องเปิดประมูลให้ได้ รวมถึงประมูลท่าเรือสำหรับพัฒนาสนามบินอู่ตะเภามาใช้ในเชิงพาณิชย์ และเล็งทำเลการจัดรูปเมืองไว้แล้ว ว่า…” ?

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส
“..ผมพยายามทำความเข้าใจว่าธุรกิจเราเป็นยังไงบ้าง ต้องยอมรับว่าผมคุ้นกับธุรกิจแค่บางตัว ไม่ได้ทุกประเภท..ตอนนี้เอสซีจีมีพนักงาน 5.1 หมื่นคน อยู่ในเมืองไทย 3 หมื่นกว่าคน อยู่ต่างประเทศอีก 1.6 หมื่นคน ซึ่งเรื่องคนเป็นทั้งงานหนักและเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรที่เราให้ความสำคัญสูงสุด

…แผนธุรกิจ ตลาดหลักยังคงเป็นอาเซียน 10 ประเทศ  เฉลี่ยงบลงทุนปีละ 5 หมื่นล้านบาท เป็นเป้าที่มีความยืดหยุ่นสูง ขณะเดียวกัน ตลาดส่งออกภูมิภาคอื่นทั่วโลกก็ไม่ได้ละเลยเพราะ…” ?

ศุภชัย เจียรวนนท์

ศุภชัย เจียรวนนท์
“..ผมไม่ได้เข้ามาเพื่อพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน อะไรที่ดีอยู่แล้วก็ปล่อยให้ทำกันไป อะไรที่อ่อนแอก็ต้องเสริม นอกเหนือจากธุรกิจที่กำลังทำอยู่ ก็ยังต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ใระยะยาว ซึ่งทั้งคุณธนินท์และพี่ชายผมเข้ามาช่วยกัน เราพูดกันถึงธุรกิจขนส่งสินค้า เทคโนโลยี หุ่นยนต์ และธุรกิจอาหารชีวภาพ…แม้ผมจะนั่งเก้าอี้ซีอีโอใหญ่ แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก และหวังเพิ่มประสบการณ์ให้ตัวเองได้มากกว่านี้
หากเราต้องการจะก้าวสู่การเป็นประเทศ 4.0 ก็ต้องคิดแบบครอบจักรวาลจริงๆ ไม่ใช่แค่…” ?

ฐากร ปิยะพันธ์

ฐากร ปิยะพันธ์
“..ทิศทางดิจิทัลแบงก์ของธนาคารกรุงศรีอยุธยาในปีหน้า มีโฟกัสในหลายจุด ไม่ว่าเรื่องบิ๊กดาต้าปัญญาประดิษฐ์ (AI) ธุรกิจอัจฉริยะ (Business – Intelligence : BI) หรือกลยุทธ์โมบายที่เชื่อมต่อไปถึงตัว Smart API ซึ่งการเข้ามาของฟินเทค-สตาร์ตอัพ จะเป็นตัวเร่งทำให้ธนาคารมีการพัฒนาตัวเองเร็วขึ้น ปัจจุบันธุรกรรมที่ผ่านออนไลน์ อาทิ สินเชื่อประมาณ 5% ที่เหลืออีก 95% ยังเป็นการใช้ช่องทางปกติคือ ผ่านสาขา และผ่านไดเร็กต์เซล แต่คาดว่าแนวโน้ม 3 ปีข้างหน้าพฤติกรรมผู้บริโภคจะ..” ?

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
“..โลกธุรกิจทุกวันนี้ต้องแข่งขันกันที่อินโนเวชั่น การเลือกทำเลก็เป็นอินโนเวชั่นอย่างหนึ่ง เซอร์วิส โปรดักต์พรีเมียม อีโคโนมี ก็เป็นอินโนเวชั่นทั้งนั้น..วินาทีนี้ทุกคนต้องปรับตัว อย่างแรกเลยคือต้องปรับวิธีคิด ในแง่องค์กรธุรกิจใหญ่ๆ เขาปรับกันไปพักใหญ่แล้ว แต่ในมุมมองรวมๆ ผมห่วงว่าจะมีคนตกรถเยอะ นั่นหมายถึง คนส่วนใหญ่อาจไม่เข้าใจหรือไม่ได้เดินไปด้วยกัน จึงห่วงว่าแล้วพวกเขาจะทำอย่างไรกับ 4.0 ในรูปแบบไหน คนทั้งประเทศจะรับมือกับ “จุดเปลี่ยน” ตรงนี้ได้อย่างไร…เหมือนลงทุนอสังหาฯ ต้องดู…” ?

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image