สุจิตต์ วงษ์เทศ : สิ่งแปลกปลอมในวัดพุทไธศวรรย์ ของสมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง)

พระปรางค์วัดพุทไธศวรรย์ (ขวา) องค์ดั้งเดิม เชื่อกันสืบมาว่าสร้างสมัยพระรามาธิบดี (อู่ทอง) เมื่อยกเวียงเหล็กสร้างวัด (ซ้าย) สิ่งก่อสร้างแปลกปลอมทำขึ้นใหม่ ที่ไม่น่าดู ไม่น่าทำ

สมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง) เป็นเชื้อสายวงศ์ละโว้ ครองอยู่กรุงอโยธยา บริเวณฟากตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่วัดพนัญเชิงขึ้นไป

ต่อมามีกาฬโรคระบาด (ไม่ใช่อหิวาต์) ผู้คนล้มตายมาก จึงไปสร้างพระตำหนักที่ประทับชั่วคราวอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ปัจจุบันเรียกย่านสำเภาล่ม) เพื่อสร้างเมืองใหม่บริเวณหนองโสน (ปัจจุบันเรียกบึงพระราม)
ที่ประทับชั่วคราวเรียก เวียงเล็ก หมายถึงบริเวณที่มีคูค่ายเป็นขอบเขตไม่กว้างขวางใหญ่โตนัก (แต่บางทีเรียกเวียงเหล็กก็มี)

เมื่อสร้างสำเร็จแล้ว จึงย้ายไปประทับในเมืองใหม่ที่หนองโสน ส่วนเวียงเล็กให้สถาปนาเป็นพระอาราม เรียกกันต่อมาว่า วัดพุทไธศวรรย์ มีพระปรางค์แบบขอมละโว้เป็นประธาน สูงราว 32 เมตร

เรือนธาตุด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ทำเป็นซุ้มจระนำ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน
ซุ้มด้านเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปพระเจ้าอู่ทอง (เดิมประดิษฐานเทวรูปพระเจ้าอู่ทอง)
[ต้องการข้อมูลมากกว่านี้ ดูในหนังสือ โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่ม 1 กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2551 หน้า 271-272]
ปัจจุบันมีสิ่งก่อสร้างแปลกปลอมขึ้นมาแข่งกับพระปรางค์วัดพุทไธศวรรย์ ซึ่งไม่น่าดู และไม่น่าทำ

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image