“บิ๊กตู่” ควงผู้ว่าฯ กทม.-มทภ.1 ตรวจสถานีสูบน้ำ-พบปะปชช. แนะกทม.ต้องคิดใหม่

“บิ๊กตู่” ควงผู้ว่าฯ กทม.-แม่ทัพภาค 1 ตรวจสถานีสูบน้ำพระโขนง ซอยลาซาล-แบริ่ง พร้อมเช่าตะกรุด 19 ดอก-ขี้บุหรี่หลวงพ่อคูณเอาใจชาวบ้าน

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 29 พฤษภาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและติดตามแผนบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร โดยชมการดำเนินงานในสถานีสูบน้ำพระโขนง พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการแก้ไข นอกจากนี้ยังได้และตรวจเยี่ยมภายในซอยลาซาล – แบริ่ง โดยมี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม.นายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ ปลัด กทม.ผู้บริหาร กทม.ให้การต้อนรับ โดยมี พล.ท.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ แม่ทัพภาค 1 ร่วมด้วย

สถานีสูบน้ำพระโขนง เป็นสถานีสูบน้ำขนาดใหญ่ที่สุดใน กทม.มีหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำในคลองประเวศ ของพระโขนง ซึ่งเป็นคลองสำคัญในพื้นที่กทม.ตะวันออก รวมทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีกำลังการสูบน้ำ 173 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ ได้ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและของลาดพร้าว (อุโมงค์ยักษ์พระราม9) ขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร เป็นทางลัดน้ำลอดใต้ดินลึกจากพื้นผิวประมาณ 25 เมตรโดยปากอุโมงค์ตั้งอยู่บริเวณวัดพระราม 9 ลอดไปคลองแสนแสบ คลองตันถนนสุขุมวิท 71 คลองพระโขนงสิ้นสุดที่สถานีสูบน้ำพระโขนง รวมระยะทาง 5.11 กิโลเมตรกำลังสูบ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยเปิดใช้งานเมื่อปี 2554 ครอบคลุมพื้นที่ 50 ตารางกิโลเมตรในพื้นที่เขตห้วยขวาง บางกะปิ บึงกุ่ม ลาดพร้าว วังทองหลาง ซึ่งสามารถลดระยะทางการไหลของน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ นอกจากนี้ ยังมีแผนก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำเพิ่มเติม 6 แห่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 2 แห่ง ได้แก่โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ จากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเกียกกาย ซึ่งคืบหน้าไปแล้ว 90% โดยจะทดสอบระบบในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ และโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้อยู่ระหว่างประชาสัมพันธ์เส้นทางการจัดระบบปิดเบี่ยงการจราจรเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนระหว่างการก่อสร้าง

หลังรับฟังบรรยายสรุปแผนบริหารจัดการน้ำใน กทม. แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ได้ไปพบปะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ชุมชนเกาะกลาง ต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง รักษาสิ่งแวดล้อม คลองพระโขนง ซึ่งเป็นชุมชนขนาดเล็กในเขตคลองเตย

Advertisement

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอชื่นชมประชาชนในชุมชนเกาะกลาง เป็นชุมชนที่เสียสละ ทั้งนี้ จะสั่งการให้ กทม. จัดสร้างโรงสูบน้ำในอีกหลายพื้นที่ โดยมอบหมายให้วางแผนโครงการ พร้อมเสนอขออนุมัติงบประมาณ คาดว่าจะใช้ประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อเร่งระบายน้ำ และอยากให้คนไทยทุกคนเข้าใจ ว่ารัฐบาลพยายามแก้ปัญหาที่รากเหง้าของปัญหา ว่าน้ำนั้นมาอย่างไร และประชาชนก็ต้องมีส่วนร่วม และต้องคิดใหม่ว่าวิธีแก้ปัญหาเดิมถูกจุดหรือไม่ และต้องใช้งบประมาณ ใช้เวลาในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะการแก้ปัญหาขยะที่มักอุดตันทางระบายน้ำ จนส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังหลายพื้นที่ในกรุงเทพ ทั้งนี้เข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ กทม.ทุกคนเมื่อมีปัญหาน้ำท่วม เจ้าหน้าที่ก็จะตกเป็นจำเลยทุกครั้ง แต่เป็นจำเลยเพียงจังหวัดเดียว ขณะที่นายกรัฐมนตรีกลับตกเป็นจำเลยทุกเรื่องเพราะดูแลทุกจังหวัด อย่างไรก็ตาม เตือนประชาชนอย่าลืมตอบคำถาม 4 ข้อเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการเลือกตั้งที่ได้ถามไปด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเดินทางไปยังซอยแบริ่ง-ลาซาล นายกรัฐมนตรีได้พบปะทักทายกับชาวชุมชนเกาะกลางโดยขอให้ กทม.มอบเรือ 1 ลำให้ชุมขนเพื่อใช้ในการเก็บขยะตามที่ร้องขอ พร้อมเช่าวัตถุมงคลที่ชาวบ้านตั้งใจจะมอบให้ เป็นตะกรุด 19 ดอก และก้นบุหรี่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

จากนั้นเวลา 15.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ เดินทางมายังพื้นที่ซอยลาซาล – แบริ่ง แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ เพื่อรับฟังการบรรยายแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ซอยลาซาล – แบริ่ง และพื้นที่เฝ้าระวัง พร้อมตรวจเยี่ยมพื้นที่ซอยลาซาล – แบริ่ง ท่ามกลางที่ฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ดูแลและควบคุมเครื่องสูบน้ำบริเวณด้านหน้า ก่อนให้ทดลองติดเครื่องสูบน้ำพร้อมกระเซ้า “ว่าถ้าเครื่องไม่ติดเดี๋ยวเอาตาย” พร้อมให้กำลังใจกับเจ้าหน้าที่ทุกคนเพื่อประชาชนและช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังได้ให้กำลังใจกับบรรดาพ่อค้าแม่ค้าและชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงว่าขอให้อดทนขณะนี้เจ้าหน้าที่ทั้งรัฐบาลและกรุงเทพมหานครกำลังเร่งหามาตรการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ก็ขอให้ทุกคนอดทน จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เหมาร้่านขนม ร้านน้ำและไก่ 5 ดาว เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาทเพื่อให้เจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ได้รับประทาน

Advertisement

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขอบคุณกทม. ที่ให้การต้อนรับในการลงพื้นที่ตรวจในครั้งนี้ รวมถึงขอบคุณเจ้าหน้าที่และประชาชนทุกคน ทั้งนี้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในช่วงฝนตกและกระทบปัญหาการจราจร ต้นเหตุทั้งหมด เป็นเพราะไม่ได้รับการแก้ไขทั้งระบบ ในกทม.มีความแออัด เกิดจากผังเมืองและการสร้างที่อยู่ผ่านทางน้ำไหล ซึ่งวันนี้ตนบอกไปแล้วว่ากทม.ต้องคิดใหม่ทั้งหมด ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร และต้องทำให้ดีที่สุด แต่เรื่องผังเมืองคงทำอะไรไม่ได้ มันสายเกินไป จะต้องขยายเมืองออก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่ที่ว่าประชาชนจะร่วมมือกับรัฐบาลหรือเปล่า เมืองจะต้องมีเมืองใหม่ ซึ่งรัฐบาลพร้อมจะให้การสนับสนุนงบประมาณ โดยให้กทม.ไปคิดแผนมาเสนอการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกทม. จะต้องดูแผนการจัดการน้ำทั้งระบบของประเทศด้วย ทั้งนี้ทราบว่าโรงสูบน้ำของกทม. ที่มี 7 แห่งยังไม่เพียงพอ ต้องพิจารณาสร้างโรงสูบน้ำเพิ่ม ซึ่งคิดว่าจะต้องสร้างเพิ่มที่คลองเปรมประชากรอีกหนึ่ง

ทั้งนี้ พื้นที่บริเวณซอยลาซาล-แบริ่ง ถนนสุขุมวิท เขตบางนานั้น มีลักษณะเป็นพื้นที่ต่ำแอ่งกะทะ กทม.วางท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.20 เมตร ทั้งสองฝั่งเพื่อรองรับน้ำฝนและระบายน้ำลงสู่คลองบางนาและคลองสำโรง แต่เนื่องจากภายในถนนซอยลาซาล-แบริ่ง สูงกว่าถนนสุขุมวิท เมื่อฝนตกลงมาจะทำให้มีน้ำไหลบ่าออกจากซอยดังกล่าว ไปยังถนนสุขุมวิท ส่งผลให้น้ำท่วมขังและกระทบต่อการจราจร กทม.จึงได้แก้ปัญหาดังกล่าวชั่วคราวโดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำดีเซลบรรทัดวิทย์ทั้งสองฝั่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำดีเซลบริเวณซอยย่อยซอยลาซาลเพิ่มเครื่องสูบน้ำบริเวณบ่อสูตรน้ำถนนสุขุมวิทตอนคลองบางนาทั้งสองฝั่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า แต่เนื่องจากภายในถนนซอยลาซาล-แบริ่งสูงกว่าถนนสุขุมวิท เมื่อฝนตกลงมาจะทำให้มีน้ำไหลบ่าออกจากซอยดังกล่าวก็ยังถนนสุขุมวิทส่งผลให้น้ำท่วมขังและกระทบต่อการจราจรกรุงเทพมหานครจึงได้แก้ปัญหาดังกล่าวชั่วคราวโดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำดีเซลทั้งสองฝั่ง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำดีเซลบริเวณซอยย่อยซอยลาซาล เพิ่มเครื่องสูบน้ำบริเวณบ่อสน้ำถนนสุขุมวิทตอนคลองบางนาทั้งสองฝั่ง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ทำนบคูน้ำข้างบริษัทแพรนด้าจิวรี่ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำดีเซลซอยลาซาล 20,21,27,37 ก่อสร้างระบบระบายน้ำบริเวณถนนสุขุมวิทจากซอยสุขุมวิท 107 ถึงคลองบางนาและเพิ่มประสิทธิภาพกำลังสูบน้ำจากปี 2559 จาก 8.97 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเป็นกำลังสูบรวม 14.14 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image