ก.เกษตรฯ คาด 47 จว.เสี่ยงอุทกภัย-ดินโคนถล่มปีนี้ เตรียม 7,800 ล้านรับมือ

แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2560 ซึ่งมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน ว่า การประชุมเพื่อเตรียมรับมืออุทกภัยด้านการเกษตร ที่อาจเกิดฝนตกหนักในช่วงเดือนกรกฎาคม –กันยายน 2560 ทั้งนี้ในเดือนสิงหาคม -กันยายนอาจมีฝนตกหนักและพายุเกิดขึ้นในเมืองไทยอีก 2 ลูก จนอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะกลับมามีกำลังแรงขึ้น โดยกระทรวงเกษตรเตรียมแผนรับมือ ภายใต้งบประมาณ 7,807.64 ล้านบาท

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดทำแผนรับมือภัยพิบัติด้านการเกษตรในช่วงฤดูฝนอย่างเป็นระบบไม่ให้ประสบปัญหาเหมือนที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดต่อการเกษตรของเกษตรกร และรับมือสถานการณ์รุนแรงทางธรรมชาติ ดังนั้นก่อนเกิดภัยพิบัติต้องป้องกันและลดผลกระทบด้วยการบริหารจัดการน้ำ ปริมาณน้ำ วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง เพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำ ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำในฤดูกาลเพาะปลูก สำรองน้ำในช่วงฝนทิ้งช่วง และจัดสรรน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค

สำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย และดินโคนถล่มในปี 2560 คาดว่าจะมีทั้งหมด 47 จังหวัด เนื้อที่ 2.88 ล้านไร่ แบ่งเป็น ภาคกลาง มีน้ำท่วมขัง 11 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรีสระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทองคิดเป็นพื้นที่ 1.01 ล้านไร่ และมีพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษคาดว่าจะมีโอกาสสูงที่จะเกิดน้ำท่วมขังเป็นวงกว้างและระยะนานส่งพื้นผลให้พืชที่ปลูกได้รับความเสียหายและผลผลิตลดลงจำนวน 8 จังหวัดได้แก่ พิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และ นครศรีธรรมราช ภาคเหนือพื้นที่เกษตรที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดน้ำท่วมขังทั้งหมด 11 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงราย นครสวรรค์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์และอุทัยธานี คิดเป็นพื้นที่ 1.12 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพื้นที่เกษตรที่มีโอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมขัง 17 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานีและอุบลราชธานีคิ ดเป็นพื้นที่ 0.32 ล้านไร่ ภาคตะวันออก พื้นที่เกษตรที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดน้ำท่วมขังมี 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี คิดเป็นพื้นที่ 0.09 ล้านไร่ และภาคใต้พื้นที่เกษตรที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดน้ำท่วมขังมี 5 จังหวัดได้แก่ นครศรีธรรมราช นราธิวาส พัทลุงสงขลา และสุราษฎร์ธานี คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 0.34 ล้านไร่

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image