‘มทส.-จุฬาฯ-สดร.’ ร่วมมือ ‘ไทย-จูโน’ วิจัย-ปั้นบุคลากร ‘ฟิสิกส์ของนิวตริโน’

 

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดเผยภายหลังร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง 3 สถาบัน และการแถลงโครงการความร่วมมือทางวิชาการไทย-จูโน ร่วมกับนายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และนายบุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และตน ว่า เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัย ตลอดจนการพัฒนาและผลิตบุคลากร และส่งเสริมความรู้ด้านฟิสิกส์ของนิวตริโน และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และแถลงโครงการความร่วมมือทางวิชาการไทย-จูโน ภายหลัง 3 หน่วยงาน ร่วมกันลงนามความร่วมมือกับสถาบันฟิสิกส์พลังงานสูง Institute of High Energy Physics (IHEP), Chinese Academy of Sciences ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเร็วๆ นี้ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีลงนามความร่วมมือดังกล่าว เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และร่วมในโครงการ Jiangmen Underground Neutrino Observatory (JUNO) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดลองสำหรับการตรวจวัดนิวตริโน ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงเหมิน มณฑลกวางตุ้ง ทั้งนี้ โครงการ JUNO เป็นความร่วมมือกันของหลายประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 71 สถาบัน จาก 16 ประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ล่าสุด 3 สถาบันได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on Earth Magnetic Field Shielding for JUNO 2017 ในวันที่ 18-23 มิถุนายน เพื่อหารือ และติดตามความก้าวหน้าในการออกแบบ EMF shielding ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรทั้งจากไทย และจีนเข้าร่วม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image