09.00 INDEX จาก รัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 มาสู่ รัฐประหาร พฤษภาคม 2557

เหมือนกับ “ปฏิมา” ของรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 จะเดินตามรอย 2 ยุค

1 ยุคของรัฐประหารเมื่อเดือนตุลาคม 2501

ขณะเดียวกัน 1 ยุคของรัฐประหารเมื่อเดือนตุลาคม 2520 อันนำไปสู่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521

ภาพของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลอยเด่น

Advertisement

ภาพของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ต่อเนื่องมายังภาพของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ลอยเด่น

เพราะจาก “สฤษดิ์” ก็โยงมาถึง “ถนอม”

เพราะจาก พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ก็ยาวมายัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

Advertisement

เมื่อ 2 ยุค “ประสาน” เข้าก็ “ยาว”

ถามว่าตอนรัฐประหาร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 สมองก้อนโตของ “รสช.” คิดอย่างนี้หรือไม่

ตอบได้เลยว่า “คิด”

หากไม่คิดคงไม่เอา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ มาแสดงบทบาทเป็น อย่างสูงกับ “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534”

หากไม่คิดคงไม่ตั้ง “พรรคสามัคคีธรรม”

หลังเลือกตั้งแล้ว นายณรงค์ วงศ์วรรณ ประสบปัญหาเรื่องติด “บัญชีดำ” สหรัฐ

การเข้ามาของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เหมือน “อุบัติเหตุ”

แต่เมื่อดูบทบาทของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ทั้งหลังรัฐประหารและก่อนเลือกตั้ง ก็ต้องยอมรับว่าที่ว่า “อุบัติเหตุ” นั้นไม่ใช่ หากเป็นไปตามแผนในทาง “ยุทธการ” ที่จัดวางเอาไว้

เพียงแต่เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม 2535 กลับไม่เป็นตามแผน

จากรัฐประหาร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 มายังรัฐประหารเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2557

กติกาจัดวางโดย นายมีชัย ฤชุพันธุ์

ในตอนแรกเหมือนกับจะมอบบทบาทนี้ให้ นายบวรศักดิ์ อุวรรโณ แต่ในที่สุด นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ก็ต้องออกโรง

สรุปบทเรียนจาก รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 จาก รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 จาก รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

แต่จะรอดปลอดภัยหรือไม่ ไม่นานคงมี “คำตอบ”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image