09.00 INDEX เส้นทาง “ประยุทธ์” มิใช่ “เปรมโมเดล” หากเป็น “เกรียงศักดิ์โมเดล” มากกว่า

 

ความเคยชิน 1 ทางการเมือง คือ เมื่อมองนายกรัฐมนตรี”คนนอก” มักจะมองไปยังกรณีของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

มองว่าสามารถอยู่ได้ถึง 8 ปีเศษ

เมื่อ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ยกร่าง”รัฐธรรมนูญ”จนสามารถผ่านประชามติและประกาศบังคับใช้เมื่อเดือนเมษายน 2560

Advertisement

ก็ยังมองไปยัง “ปฏิมา” ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

จึงคิดฝันหวานว่า นายกรัฐมนตรี”คนนอก”ภายหลังการเลือกตั้งจะเป็นใครไปไม่ได้นอกเสียจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ทั้งๆที่ในความเป็นจริง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มิได้มาในแบบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

หากมาในแบบ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

 

พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อาจเป็นเลขาธิการในการรัฐประหาร เมื่อเดือนตุลาคม 2519

แต่เดือนตุลาคม 2519 ก็เหมือนเดือนกันยายน 2549

คือมอบให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตี เหมือนมอบให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็น

ต่อเมื่อก่อรัฐประหารเดือนตุลาคม 2520 นั้นหรอก พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ จึงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วก็ผลักดัน “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521”

กำหนดให้ “ส.ว.”อันมาจาก “การแต่งตั้ง”เป็นฐานอำนาจ กำหนดให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง

หลังเลือกตั้งเดือนเมษายน 2522 ก็ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีตามความหมายเหมือนที่คาดหมาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

แล้วผลเป็นอย่างไร

 

ผลก็คือ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ถึงปลายปีก็ประสบกับวิกฤตน้ำมันโลก ส่งผลสะเทือนเข้าไทย

ส.ว.ที่แต่งตั้งมากับมือก็”แปรพักตร์”

แปรพักตร์เข้าไปจับมือกับพรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย กดดันกระทั่ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ต้องลาออกแล้ว”ป๋า”ก็เข้าแทนที่

แนวโน้มของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงน่าจะเป็น”เกรียง ศักดิ์โมเดล” ไม่ใช่”เปรมโมเดล”

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image