จุกจิก รายวัน รัฐ-นักวิชาการ กรณี’ค่ายทหาร’

ดัชนีชี้วัดว่ารัฐบาลใดๆ ในโลก อยู่ในช่วงภาวะขาขึ้นหรือขาลง

ประการหนึ่งก็คือ “ความหวั่นไหว” ที่มีต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์

โดยเฉพาะจากภาควิชาการ

ลองระลึกถึงบรรยากาศของ “การตอบโต้” ระหว่าง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับนักวิชาการหลายแขนง

Advertisement

ในช่วงระหว่างปี 2547-2549 ได้ดี

ทั้งที่มีเสียงสนับสนุนในสภาชนิด “เด็ดขาด” ถึง 377 ที่นั่ง

แต่ตบะและความหนักแน่นของนายกรัฐมนตรีผู้ไวต่อปฏิกิริยารอบข้าง เทียบไม่ได้

Advertisement

กับช่วงที่ขึ้นครองตำแหน่งแรกๆ ระหว่างปี 2544-2546

ตัวอย่างหมาดๆ นี้จะเตือนใจฝ่ายใดได้หรือไม่?

18 กรกฎาคม 2560

มีการเผยแพร่ภาพเอกสารราชการทางโซเชียลมีเดีย

ที่ นายพุฒิพงษ์ ศิริมาตย์ รักษาราชการแทนผู้ว่าฯเชียงใหม่ ทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงมหาดไทยและอธิบดีกรมการปกครอง ว่า

เวลา 15.00 น. มีนักวิชาการ นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว 3 คน คือ

นายประจักษ์ ก้องกีรติ นางภัควดี วีระภาสพงษ์ และ นายชัยพงษ์ สำเนียง

มาชูป้ายข้อความ “เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร”

เพื่อให้ถ่ายภาพโพสต์ลงสื่อออนไลน์ต่างๆ

โดยใช้สถานที่ภายในห้องประชุมสัมมนาไทยศึกษา ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 17-18 ก.ค. ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพ

เอกสารระบุด้วยว่า คนกลุ่มนี้เคลื่อนไหวในนามกลุ่มนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองหรือ คนส. เพื่อต่อต้านทหารและการรัฐประหาร

ดังนั้น ทาง กกล.รส.จว.เชียงใหม่จะเชิญบุคคลทั้ง 3 มาเข้าพบเพื่อชี้แจง

และขอความร่วมมือไม่ให้เคลื่อนไหวทางการเมืองต่อไป

ท่าทีของรัฐบาล และ คสช. ยังไม่ชัดเจนว่าเห็นด้วยกับแนวทางของฝ่ายปฏิบัติหรือไม่

แต่เสียงวิพากษ์วิจารณ์กระหึ่มไปทั่วโลกเสมือนเรียบร้อย

ติดตามมาด้วยแถลงการณ์ของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) เรื่อง “เสรีภาพทางวิชาการและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน” วันที่ 19 กรกฎาคม ว่า

กรณีที่มีการลงข่าวมีเนื้อหาเป็นโทรสารในราชการกรมการปกครอง พาดพิงกิจกรรมของ คนส. คลาดเคลื่อนหลายประการ คนส. จึงขอชี้แจงและแสดงจุดยืนดังนี้

1.กรณีการถือป้ายที่มีข้อความว่า “เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร” แล้วสื่อต่างๆ ถ่ายภาพและนำไปเผยแพร่ในครั้งนี้

ถูกเจ้าหน้าที่ราชการตีความและกล่าวหาว่าเป็นการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ในการต่อต้านทหารและการทำรัฐประหาร

แต่ไม่ปรากฏข้อบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญที่ห้ามการกระทำดังกล่าว

 

2.การที่เอกสารราชการกล่าวหา ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ว่ามีส่วนในกิจกรรมการชูป้ายในวันที่ 18 กรกฎาคม นั้นเป็นเท็จ

เนื่องจาก ผศ.ดร.ประจักษ์ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามวันและเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด

นอกจากนี้ เป็นที่ทราบกันอย่างเปิดเผย

อยู่ว่า คนส.ดำเนินกิจกรรมเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงคัดค้านรัฐประหารในวาระโอกาสต่างๆ เป็นปกติ

มิได้เป็นการฉวยโอกาสอย่างไร้เกียรติตามที่เอกสารราชการฉบับนี้กล่าวหาแต่อย่างใด

3.คนส.ขอยืนยันว่าการเคลื่อนไหวอย่างสันติวิธีเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกหมู่เหล่ารวมทั้งนักวิชาการ

ที่ต้องการให้รัฐบาลเคารพเสรีภาพทางวิชาการ การแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของประชาชน

รวมถึงการคืนอำนาจให้ประชาชนด้วยการจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม และการปฏิรูปสถาบันต่างๆ ในสังคมไทย

อันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและสิ่งที่รัฐบาลแสดงความจำนง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image