ปภ.เผยน้ำท่วมเหนือ-อีสาน 5-29 ก.ค.เสียหายแล้ว 42 จว. คลี่คลายแล้ว 23 จว.

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5-29 กรกฎาคม ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยและน้ำไหลหลากใน 42 จังหวัด รวม 182 อำเภอ 775 ตำบล 4,064 หมู่บ้าน 1 ชุมชน ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 23 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 19 จังหวัด รวม 113 อำเภอ 575 ตำบล 3,412 หมู่บ้าน แยกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองสกลนคร อ.สว่างแดนดิน อ.พังโคน อ.เต่างอย อ.กุสุมาลย์ อ.พรรณานิคม และอ.อากาศอำนวย รวม 38 ตำบล 351 หมู่บ้าน ปัจจุบันระดับน้ำลดลงคือร้อยเอ็ด น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 16 อำเภอ ได้แก่ อ.เสลภูมิ อ.จังหาร อ.โพธิ์ชัย อ.โพนทราย อ.สุวรรณภูมิ อ.ทุ่งเขาหลวง อ.เมืองร้อยเอ็ด อ.เกษตรวิสัย อ.เชียงขวัญ อ.ศรีสมเด็จ อ.ธวัชบุรี อ.จตุรพักตรพิมาน อ.อาจสามารถ อ.พนมไพร อ.หนองพอก และ อ.เมืองสรวงรวม 109 ตำบล 762 หมู่บ้าน นครราชสีมา น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อ.เทพารักษ์ อ.ชุมพวง อ.ประทาย อ.สีดา อ.บัวลาย อ.โนนแดง อ.บัวใหญ่ และ อ.แก้งสนามนาง รวม 41 ตำบล 2,350 หมู่บ้าน ขอนแก่น น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองขอนแก่น และ อ.บ้านไผ่ ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,343 ครัวเรือน มหาสารคาม น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 12 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองมหาสารคาม อ.พยัคฆภูมิพิสัย อ.กันทรวิชัย อ.นาเชือก อ.เชียงยืน อ.ชื่นชม อ.กุดรัง อ.บรบือ อ.นาดูน อ.วาปีปทุม อ.ยางสีสุราช และอ.โกสุมพิสัย รวม 93 ตำบล 367 หมู่บ้าน กาฬสินธุ์ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อ.นามน อ.ท่าคันโท อ.นาคู อ.สมเด็จ อ.เขาวง อ.เมืองกาฬสินธุ์ อ.ห้วยผึ้ง อ.ดอนจาน อ.ยางตลาด อ.กมลาไสย อ.กุฉินารายณ์ อ.คำม่วง อ.ร่องคำ อ.ห้วยเม็ก และ อ.ฆ้องชัย ประชาชนได้รับผลกระทบ 920 ครัวเรือน

นายฉัตรชัยกล่าวต่อว่า บุรีรัมย์ น้ำไหลหลาก เข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.สตึก อ.พุทไธสง อ.แคนดง อ.นาโพธิ์ และ อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ รวม 19 ตำบล 76 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,895 ครัวเรือน มุกดาหาร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองมุกดาหาร และ อ.ดงหลวง รวม 14 ตำบล 18 หมู่บ้าน อุบลราชธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.โขงเจียม อ.ศรีเมืองใหม่ อ.น้ำยืน อ.น้ำขุ่น อ.ตระการพืชผล และ อ.บุณฑริก รวม 8 ตำบล 11 หมู่บ้าน อำนาจเจริญ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร 7 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองอำนาจเจริญ อ.หัวตะพาน อ.ลืออำนาจ อ.พนา อ.ปทุมราชวงศา อ.ชานุมาน และอ.เสนางคนิคม รวม 52 ตำบล 344 หมู่บ้าน ชัยภูมิ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อ.บำเหน็จณรงค์ ประชาชนได้รับผลกระทบ 50 ครัวเรือน อุดรธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อ.บ้านดุง อ.ทุ่งฝน อ.น้ำโสม อ.ประจักษ์ อ.กู่แก้ว อ.ศรีธาตุ อ.พิบูลย์รักษ์ และอ.เมืองอุดรธานี รวม 8 ตำบล 86 หมู่บ้าน

นายฉัตรชัยกล่าวว่า สำหรับภาคเหนือ 1 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ น้ำไหลหลากเข้าท่วมอำเภอทองแสงขัน ประชาชนได้รับผลกระทบ 182 ครัวเรือน ภาคกลาง 5 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย ปริมาณน้ำไหลผ่านประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก ทำให้กำแพงกั้นน้ำบริเวณวัดไทยชุมพลรั่ว จำนวน 5 จุด ส่งผลให้ น้ำไหลเข้าท่วมเขตชุมชนเทศบาลเมืองสุโขทัย ปัจจุบันอุดรอยรั่วได้แล้วทั้ง 5 จุด ระดับน้ำในตลาดเทศบาลเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว พิษณุโลก น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ อ.ชาติตระการ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง พิจิตร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อ.ตะพานหิน อ.วังทรายพูน อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.สามง่าม อ.วชิรบารมี อ.ทับคล้อ อ.สากเหล็ก อ.ดงเจริญ และ อ.โพทะเล รวม 24 ตำบล 105 หมู่บ้าน พระนครศรีอยุธยา ผลกระทบจากเขื่อนเจ้าพระยาทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.เสนา อ.บางปะอิน อ.ผักไห่ อ.พระนครศรีอยุธยา และ อ.บางไทร รวม 68 ตำบล 292 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,826 ครัวเรือน 28,985 คน เพชรบูรณ์ น้ำไหลหลาก ทเข้าท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.น้ำหนาว อ.หล่มเก่า และ อ.หล่มสัก รวม 5 ตำบล 8 หมู่บ้าน ภาคใต้ 1 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร น้ำไหลหลาก เข้าท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ท่าแซะ อ.เมืองชุมพร และ อ.ปะทิว รวม 16 ตำบล 86 หมู่บ้าน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image