9.00 INDEX คำถาม ต่อ กรณี “สลายการชุมนุม” จากเมื่อปี 2551 มายังเมื่อปี 2553

คำพิพากษาคดีสลายการชุมนุมเมื่อเดือนตุลาคม 2551 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

มีแรง “สะเทือน”

ไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิด “ปฏิกิริยา” ไม่พอใจใน “พันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย”

หากยังทำให้ตะกอนแห่งการสลายเมื่อปี 2553 กระพือขึ้น

Advertisement

“ในเมื่อเหตุการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2551 มีโอกาสต่อสู้กันในชั้นศาล ทำไมเหตุการณ์สลายการชุมนุมในปี 2553 ที่มีคนเสียชีวิต 99 รายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศไทยจึงไม่ได้รับโอกาสแบบเดียวกัน”

เป็นการตั้งข้อสังเกตจาก นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ

ความน่าสนใจอยู่ที่ข้อสังเกตของ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ มิได้มีแต่คำพิพากษาของ “ศาล”

Advertisement

หากแต่อยู่ที่กระบวนการของ “ป.ป.ช.”

ทำไมการสลายการชุมนุมเมื่อเดือนตุลาคม 2551 จึงไปสิ้นสุดที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ขณะที่การสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 ไปไม่ถึงศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

เป็นคำถามโดยตรงไปยัง “ป.ป.ช.”

ทั้งมิได้เป็น “ป.ป.ช.” ชุด ปัจจุบัน หากแต่เป็น “ป.ป.ช.”ชุดเดียวกันกับที่นำกรณีการสลายการชุมนุมเมื่อเดือนตุลาคม 2551 ไปยังศาลฎีกาแผกนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ไม่ว่าในที่สุดแล้ว “ป.ป.ช.”จะมีคำอธิบายออกมาอย่างไร แต่ความคลางแคลงใจก็ยังค้างคา

ค้างคาภายใต้คำ “2 มาตรฐาน”

น่าสังเกตว่าไม่เพียงแต่ต่อกรณีการสลายการชุมนุมของปี 2551 กับของปี 2553 เท่านั้นที่กลายเป็น “คำถาม”

หากกรณีอันเกี่ยวกับข้าวและชาวนาก็เด่นชัด

คำถามก็คือ ทำไมกรณีโครงการประกันราคาข้าวจึงไม่มีความคืบหน้า ทำไมเน้นแต่โครงการ”จำนำข้าว”

ไม่ว่าเหตุการณ์อันเกี่ยวกับ”สลายการชุมนุม” ไม่ว่ากรณีอันเกี่ยวกับการช่วยเหลือชาวนาล้วนดำรงอยู่ในห้วงแห่ง 10 ปี

10 ปีแห่งความขัดแย้ง 10 ปีแห่งรัฐประหาร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image