ชลประทานนครพนม เตรียมของบรัฐบาล 200 ล้าน เร่งขยายลำน้ำก่ำแก้น้ำท่วมถาวร

DCIM100MEDIADJI_0003.JPG

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.นครพนม สถานการณ์น้ำท่วมแถบพื้นที่ลุ่มน้ำก่ำ ในเขตพื้นที่ อ.นาแก อ.วังยาง อ.เรณูนคร เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ หลังระดับน้ำลดต่อเนื่อง ทำให้ลำน้ำก่ำ มีปริมาณน้ำอยู่ในระดับปกติ ต่ำกว่าระดับเก็บกักประมาณ 1เมตร ทำให้น้ำที่ยังท่วมขังในพื้นที่การเกษตร นาข้าวของชาวบ้าน ไหลระบายลงน้ำก่ำ ก่อนไหลลงสู่น้ำโขงได้รวดเร็ว

แต่ยังมีปัญหาบางพื้นที่ เป็นที่ลุ่มไม่สามารถไหลระบายลงน้ำก่ำได้ ทางชลประทานนครพนม ได้นำเครื่องสูบน้ำไปตดตั้ง เสริม เพื่อสูบน้ำให้ระดับลดลง ช่วยเหลือพื้นที่นาข้าวที่ยังที่ไม่เสียหาย ซึ่งยังมีพื้นที่นาข้าวที่ได้รับผลกระทบ น้ำท่วมขังอีกเกือบ 7,000 ไร่ และบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม ระดับน้ำแห้งเกือบทั้งหมด อยู่ระหว่างการ ฟื้นฟูช่วยเหลือ ส่วนความเสียหายพื้นที่การเกษตร นาข้าว ทั้งจังหวัด ในพื้นที่ประสบอุทกภัย 11 อำเภอ เสียหายกว่า 2 แสนไร่ เฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำก่ำ อ.วังยาง อ.นาแก ได้รับความเสียหายกว่า 80,000 ไร่

โดยทางชลประทานนครพนม ได้เตรียมวางแผนหาทางแก้ไข รับมือไม่ให้เกิดน้ำท่วมซ้ำอีก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ มีปริมาณฝนมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเสนอยังรัฐบาล สนับสนุนงบประมาณ กว่า 200 ล้าน บาท ในการพัฒนา ปรับขยาย ลำน้ำก่ำ และเสริมพนังกั้นน้ำ ในชุดที่ชำรุด ตลอดแนวลำน้ำก่ำ ประมาณ 120 กิโลเมตร ที่รับหนองจากหนองหาร จ.สกลนคร ก่อนไหลลงสู่น้ำโขง ที่ องธาตุพนม จ.นครพนม

ด้าน นายพิศิษฐ ผลิสินเอี่ยม ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประตูระบายน้ำก่ำตอนล่าง อ.ธาตุพนม จ.นครพนมเปิดเผยว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมปีนี้ยอมรับว่าหนักสุดในรอบ 50 ปี ปัจจัยหลักจาการประเมิน พบว่ามาจาก การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ เนื่องจากก่อนที่จะเกิดปัญหาพบว่า ในพื้นที่ จ.สกลนคร ต้นน้ำ มีปริมาณฝนตกหนักวัดได้สูงกว่า 400 มิลลิเมตร ต่อเนื่อง 4 -5 วัน ทำให้มีปริมาณน้ำจำนวนมาก บวกกับมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เกี่ยวกับการก่อสร้าง อาคารสถานที่ ทำให้กระทบทางระบายน้ำ จึงเกิดน้ำท่วมขังตามมา ซึ่งปริมาณน้ำหนองหาร ที่เป็นต้นน้ำมีปริมาณเกินความจุประมาณ 3 เท่าตัว เมื่อไหลลงลำน้ำก่ำ ระยะทางกว่า 120 กิโลเมตร ลงสู่น้ำโขงที่ อ.ธาตุพนม จ.นคพรนม ทำให้ไหลระบายช้า และมีการทะลักเอ่อท่วม พื้นที่การเกษตร บ้านเรือน เสียหายหนัก

Advertisement

ส่วนในการระบายน้ำเราไม่หนักใจ เนื่อง จากมีระบบชลประทาน ที่ออกแบบสร้างขึ้น สามารถควบคุมได้ ทั้งปัญหาน้ำท่วมขัง รวมถึงแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งปกติตลอดแนวลำน้ำก่ำจะมาสมารถเก็บกักน้ำได้ ประมาณ 53 ล้านลูกบาศก์เมตร หากระดับน้ำโขงไม่วิกฤติมาก ไม่มีปัญหาในการระบาย ถือเป็นพระมหากรุณาคุณของเกษตรกร ในพื้นที่ลุ่มน้ำก่ำ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริ ดำเนินการก่อสร้าง โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประตูระบายน้ำก่ำตอนล่าง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ประตูระบายน้ำ ธรนิศนฤมิต ถือเป็นจุดสำคัญที่รองรับน้ำ จุดสุดท้าย ก่อนไหลระบายลงสู่แม่น้ำโขง ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2535 ปัจจุบันโครงการเกือบแล้วเสร็จ ได้ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ มีประตูระบายน้ำ รวม 5 จุด ตลอดลำน้ำก่ำ สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งได้เป็นอย่างดี จากในอดีตมีปัญหามากกว่านี้

ส่วนการวางแผนแก้ไขปัญหาระยะยาว ทางชลประทาน ได้มีการสำรวจออกแบบ เสนอรัฐบาล เพื่อของบประมาณมาน มาพัฒนาแก้ไขปัญหา รับมือน้ำท่วม เนื่องจากปัจจุบัน ลำน้ำก่ำ มีปัญหา เพราะเส้นทางคดเคี้ยว ทำให้การระบายน้ำบางจุดไหลช้า บวกกับสภาพลำน้ำถูกกัดเซาะ เกิดปัญหาเอ่อล้น ท่วมพื้นที่การเกษตร ลักษณะคล้ายฝันหรอ ทำให้น้ำทะลักท่วมพื้นที่การเกษตร จึงต้องมีการปรับปรุงขยายเส้นทางน้ำ รวมถึงเสริมพนังกั้นน้ำ ให้แข็งแรง หากมีมวลน้ำระบายจากหนองหาร จะได้ไหลลงน้ำโขงเร็ว และไม่ทะลักท่วมพื้นที่ลุ่ม เชื่อว่าหากดำเนินการสมบูรณ์ จะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ ซึ่งจะต้องเตรียมพร้อมรับมือ เนื่องจากปีนี้ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่จะต้องเตรียมพร้อม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image