นักวิชาการ -เอกชนหนุนขยายอายุการจ้างงานผู้สูงวัย ก.แรงงานออกมาตรการรองรับเพียบ!

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.) และภาคีเครือข่าย จัดเสวนา “ขยายอายุการจ้างงาน : คุณค่าต่อสังคมไทย” โดยมี ผศ.ศุภชัย ศรีสุชาติ นักวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันแต่ละองค์กรต้องมีระบบการบริหารบุคลากรที่แตกต่างกัน เพราะมีคนแต่ละรุ่นอยู่ด้วยกัน เช่น คนเจนเนเรชั่น(Generation )หรือเจนวาย ใช้เทคโนโลยีได้มากกว่าคนเจนเอ็กซ์ และอีกกลุ่มคือ เจนแซด พบมากในองค์กร เป็นกลุ่มที่เถียง และเมื่อเจ้านายต่อว่าจะสวนกลับได้ แต่กลุ่มนี้มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสามกลุ่มอยู่ในองค์กร จึงจำเป็นต้องมีการการบริหารองค์กรอย่างเหมาะสมด้วย อย่างการขยายการจ้างงานผู้สูงอายุนั้น จะต้องมีต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งจำเป็นที่รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือ เช่นมาตรการลดหย่อน เป็นต้น ส่วนตัวสนับสนุนให้รัฐบาลอุดหนุน สร้างแรงจูงใจในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากต้องเข้าใจว่า งานบางงานยังต้องใช้ผู้สูงอายุอยู่เช่นกัน เพราะสังคมผู้สูงอายุจะก้าวเข้ามาเร็วๆนี้ ดังนั้น สถานประกอบการหรือนายจ้างคงต้องมาร่วมกันวางแผนหาแนวทางร่วมกันด้วย ต้องมีกาประเมินว่า ตำแหน่งงานไหนที่ผู้สูงอายุทำได้ และสามารถปรับตัวใช้เทคโนโลยีได้ด้วย ทั้งนี้ เชื่อว่าบางอุตสาหกรรมต้องมีคนหลุดออกจากระบบแน่นอน แต่จะทำอย่างไรให้อยู่ได้นานที่สุด

” อุตสาหกรรมภาคบริการ ผู้สูงอายุน่าจะอยู่ได้ เพราะมีการพัฒนาศักยภาพอยู่เรื่อยๆ แต่กลุ่มที่น่าเป็นห่วง คือ กลุ่มที่ใช้แรงงานมาอย่างเข้มข้น จนกำลังหมดเมื่ออายุมากขึ้น อย่างกลุ่มเกษตร ประมง หรือการแกะเปลือกกุ้ง ผู้สูงอายุไม่สามารถทำได้แล้ว ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์มีมากขึ้น อย่างหุ่นยนต์เรียงก้อนอิฐ ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์แล้ว” ผศ.ศุภชัย กล่าว

นายมาโนชญ์ แสงแก้ว ผู้อำนวยการกองสวัสดิการแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานเห็นความสำคัญผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง โดยมีกลยุทธ์อยู่ในการรองรับผู้สูงอายุ เช่น กระจายงานไปทำที่บ้าน ซึ่งมีการผลักดันพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)แล้ว ซึ่งเดิมไม่มีการขีดเส้นอายุการทำงาน เป็นไปตามสถานประกอบการ ดังนั้น กฎหมายใหม่จึงกำหนดไว้ว่า หากสถานประกอบการไม่มีกฎกติกากำหนดอายุเกษียณไว้ก็ให้กำหนดไว้ที่อายุ 60 ปี ซึ่งตรงนี้จะเป็นการกำหนดค่าชดเชยก่อนอายุ 60 ปี หากเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดก็จะได้เงินชดเชย

นายมาโนชญ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีกลยุทธ์ส่งเสริมให้มีการจ้างผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งต้องยอมรับว่าผู้สูงอายุบางคนทำงานเต็มศักยภาพ แต่กฎหมายปัจจุบันกำหนดแค่วันละ 300 บาท จึงเปิดโอกาสให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณางานในบางประเภท คือ ผู้สูงอายุ หรือเด็กนักเรียนทำงานพาร์ทไทม์ ให้ทำงานรายชั่วโมงได้ ซึ่งหากกฎหมายฉบับนี้ผ่าน ทางคณะกรรมการค่าจ้างก็จะไปศึกษารายละเอียดต่อ ซึ่งตรงนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งกรณีผู้สูงอายุที่ไม่พร้อมทำงานเต็ม 8 ชั่วโมง ก็ทำรายชั่วโมงได้ และยังมีมาตรการทางภาษีให้ได้อีกประมาณ 200 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งจะมีการทำคลังข้อมูลรวบรวมไว้ว่า สถานประกอบการใดต้องการแรงงานผู้สูงอายุ ประเภทงานใดบ้าง ก็จะมีจัดไว้ที่สมาร์ทจ็อบเซนเตอร์ที่กระทรวงแรงงานด้วย

Advertisement

“ส่วนข้อกังวลที่ว่าการทำงานร่วมกันหลายเจนนั้น จริงๆหลายเจนมีประโยชน์ร่วมกัน ทำงานส่งต่อร่วมกันได้ แต่ปัญหาที่มีคือ ระบบสวัสดิการได้แบบไหนก็ต้องเหมือนกัน แต่ปัญหาคือ บางเจนเขาไม่ต้องการเหมือนกันหมด อย่างคนสูงอายุต้องการเรื่องสุขภาพอนามัย ส่วนเด็กๆวัยรุ่นอาจต้องการอีกแบบ จึงต้องมีการจัดสวัสดิการที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งตรงนี้ต้องมีการคุยกันทั้งตัวนายจ้าง และลูกจ้างต้องมาคุยและยอมรับพร้อมกันมากขึ้น ซึ่งกระทรวงแรงงานพยายามพูดคุยให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยอยู่ระหว่างดำเนินการเรื่องนี้อยู่” นายมาโนชญ์ กล่าว

นายวิชิต วรรณศร ผู้แทนบริษัทโรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่า จำกัด(มหาชน)
กล่าวว่า บริษัทไม่ได้ออกนโยบายว่าเกษียณแล้วต้องจ้างต่อทันที แต่เปิดโอกาสคนเกษียณหลังอายุ 55 ปีให้สมัครเข้ามาได้ ซึ่งก็สามารถเอาเงินเกษียณก่อนได้ และสมัครใหม่ได้ตามที่บริษัทเปิด

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image