หวังก้าวสู่แหล่งผลิตไหมหัตถกรรมโลก

กรมหม่อนไหมเตรียมจัดงานใหญ่ดึง 9 ชาติอาเซียนประชุมสัมมนาหม่อนไหมนานาชาติหวังใช้สินค้าผ้าไหมสืบสานวัฒนธรรมประจำชาติเพื่อก้าวสู่ แหล่งผลิตไหมหัตถกรรมที่สำคัญของโลกในอนาคต

นางสุดารัตน์ วัชรคุปต์ เหล่าวิชยา อธิบดีกรมหม่อนไหมกล่าวถึงการประชุมสัมมนาทางวิชาการ National Focal Point ด้านหม่อนไหมในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 1 ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2560 นี้ที่จังหวัดอุบลราชธานีว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่กรมหม่อนไหม
ได้ริเริ่มเสนอแนวคิดในการจัดตั้งคณะทำงานหม่อนไหมอาเซียน ASEAN Sericulture Working Group ในที่ประชุม Special SOM-34th เมื่อวันที่ 12-17 สิงหาคม 2556 ณ สปป.ลาว อีก 1 เดือนต่อมาการประชุม SOM-AMAF ที่ประเทศมาเลเซีย จึงมีมติอนุมัติให้รับ Sericulture Working Group อยู่ภายใต้ ASEAN
โดยเห็นชอบให้เป็นคณะทำงานหนึ่ง ภายใต้ Joint Committee on ASEAN Cooperation in Agriculture and Forest Products Promotion Scheme โดยมอบหมายให้ประเทศไทย ในฐานะผู้ริเริ่มดำเนินการหารือคณะทำงานทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน

นางสุดารัตน์เผยต่อว่าจากนั้นกรมหม่อนไหมในฐานะผู้ริเริ่มการจัดตั้ง Sericulture Working Group จึงได้มีการจัดประชุม National Focal Point Working Group on Sericulture ขึ้น ณ จ.ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 1–4 ธันวาคม 2556ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ได้มี การพิจารณากรอบความร่วมมือหม่อนไหมในภูมิภาคอาเซียน ชนิดของสินค้าหม่อนไหม และรายชื่อผู้ประสานงานของแต่ ละประเทศ ขณะเดียวกันในการประชุม The 23rd Meeting of Joint Committee (JCM) on ASEAN Cooperation in Agriculture and Forest Product Promotion Scheme ระหว่างวันที่ 20–21 กันยายน 2559 ณ กรุงบันดาเสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน
ซึ่งประเทศไทยในฐานะ Lead country ก็ได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม National Focal Point
ด้านหม่อนไหมในภูมิภาคอาเซียนดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการจัดประชุมสัมมนาในครั้งนี้

Advertisement

“นี่เป็นครั้งแรกที่เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่ ความร่วมมือด้านหม่อนไหมในภูมิ ภาคอาเซียน> 9 ชาติส่งตัวแทนมาชาติละ 2 คน รวม 18 คน มีเป้าหมายเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัยนวัตกรรม การพัฒนาและการตลาดหม่อนไหมในแถบภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นระบบครบวงจรในรูปแบบเอกภาพเดียวกัน มีการร่วมมือพัฒนาบุคลากรด้านหม่อนไหมในแถบภูมิภาคอาเซียนมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ และดูงานด้านหม่อนไหมรวมถึงลงพื้นที่ดูงานด้วย”

อธิบดีกรมหม่อนไหมเผยต่อว่านอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้อาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมคงอยู่อย่างยั่งยืนสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพรายได้อย่างมั่นคงให้ชุมชนชนบทและชุมชนเมืองในประเทศภูมิภาคอาเซียนและยังเป็นการสร้างมาตรฐาน และตราสินค้า (Brand name)ของผลิตภัณฑ์หม่อนไหมอาเซียนให้ ก้าวสู่ระดับมาตรฐานสากลและสำคัญที่สุดคือต้องการผลักดันให้ อาเซียนเป็นศูนย์กลางไหมหัตถกรรมของโลกในอนาคตอีกด้วย
“การเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม เป็นอาชีพที่ดำเนินกันมาอย่างยาวนานควบคู่กับสังคมไทยและหลายประเทศในอาเซียน ถือได้ว่าการทอผ้าไหมเป็นวัฒนธรรมประจำชาติของหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ไม่ว่าจะเป็นสปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และมาเลเซียต่างก็มีผ้าไหมของแต่ละประเทศที่ มีความโดดเด่นและลวดลายเป็นเอกลักษณ์ประจำของชาตินั้นๆ นอกจากนี้การทอผ้าไหมยังเป็นอาชีพที่สร้างงานในสังคมชนบท มิให้มีการโยกย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ สังคมเมือง ตลอดจนยังเป็นห่วงโซ่เชื่อมโยงสายใย ความผูกพัน ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมระหว่างอาเซียน ทำให้อาเซียนเป็นแหล่งผลิตไหมหัตถกรรมที่สำคัญของโลก”
“อย่างไรก็ตามกรมหม่อนไหมเป็นหน่วยงานภาครัฐสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์> มีบทบาทและหน้าที่หลัก ในการค้นคว้าวิจัยส่งเสริมและพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การทอผ้าไหม และการตลาดหม่อนไหมของประเทศได้เห็นความสำคัญกับการพัฒนาหม่อนไหมทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าหม่อนไหมโดยในปี 2560 มีการเปิดเสรีทางค้าเของกลุ่มประชาคมอาเซียน ทำให้โอกาสของสินค้าและผลิตภัณฑ์จากไหมมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับโลกของไทยเข้าสู่ตลาดอาเซียนได้ง่ายขึ้น ส่วนผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุมสัมมนาครั้งนี้ อธิบดีกรมหม่อนไหมย้ำว่า นอกจากก่อให้เกิดความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัย นวัตกรรม การพัฒนา และการตลาดหม่อนไหมแล้วยังเป็นการสร้างมาตรฐานการผลิตสินค้าไหมของภูมิอาเซียนเป็นไปในทางเดียวกัน สามารถใช้ร่วมกัน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลทำให้เกิดการรวมกลุ่มและสร้างโอกาสทางการตลาดได้มากขึ้นอีกด้วย สำหรับกำหนดการสัมมนาครั้งนี้ ในวันแรกจะเป็นการเสนอแผนปฏิบัติงานด้านหม่อนไหมอาเซียน โดยให้แต่ละประเทศได้เสนอเข้ามา จากนั้นวันที่สองช่วงเช้าจะประชุมหาข้อสรุปร่วมกันเพื่อจัดทำเป็นแผนการปฏิบัติงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน ก่อนทั้งหมดจะลงพื้นที่ดูงานหม่อนไหมในช่วงบ่าย”

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image