9.00 INDEX บทเรียน ล้ำค่า จาก มาตรา 44 บทเรียน พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์

กรณีอันเกี่ยวกับการโยก พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)
สะท้อน “อาการ” ของ “โรค”
โรคอันเนื่องจากการงัดเอา “มาตรา 44” มาใช้อย่างขาดความรอบคอบ สุขุมอย่างเพียงพอ
แทนที่จะ “แก้” ปัญหา กลับ “สร้าง” ปัญหา
จึงเห็นได้ว่า นอกจากจะมี “มติครม.”ออกมาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ยังจำเป็นต้องมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 220 เรื่องให้ข้า ราชการมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 8 กันยายน
สะท้อนว่า “มติครม.” ก็ยังไม่สามารถ “จัดการ” กับปัญหาได้โดยราบรื่น
เท่ากับยืนยัน “อาการ” ในลักษณะ “ดื้อยา”

ความจริง คสช.และรัฐบาลน่าจะ “สำเหนียก” กับปัญหาตั้งแต่เมื่อมีความพยายามจะเข้าไปจัดการกับ “ธรรมกาย”แล้ว
นั่นก็คือ การแสดงบทบาทในการตั้ง “เจ้าอาวาส”
ทั้งๆที่ตรงนี้ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)
หากเป็นงานของ “มหาเถรสมาคม”
ความล้มเหลวจากการเข้าไปก้าวก่ายของ “ผอ.พศ.” ในกรณีตำแหน่ง “เจ้าอาวาส”
คสช.และรัฐบาลน่าจะมองออก
หรือคสช.มองไม่ออก “รัฐมนตรี” ที่กำกับและดูแลงานพศ.ในฐานะผู้บังคับบัญชาก็สมควรจะเข้าใจ
แต่นี่กลับปล่อยปละละเลยมาจนถึง “เดือนสิงหาคม 2560”

คำถามจาก “สังคม” ที่อยากรู้ว่าการบริหารจัดการต่อตำแหน่งผอ.พศ.ในเดือนมีนาคม 2559 ดำเนินกันอย่างไรมาจาก “ข้อเสนอ” จาก “หน่วยงาน”ใด
หากมาจากกระทรวงยุติธรรม หากมาจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ก็ควรจะต้อง “สำเหนียก” และ “ตระหนัก”
1 ตระหนักในกระบวนการนำเอา “มาตรา 44” มาเป็นเครื่องมือ ขณะเดียวกัน 1 ตระหนักในการเฟ้น”บุคคลากร”มาเป็นกำลัง
เพราะหากไม่แม่นยำก็อาจจะกลายเป็น “ปัญหา”

 

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image