จากผี รัฐบาลแห่งชาติžสู่ข้อพิจารณาเรื่อง ‘การแบ่งปันอำนาจž’

ข้ อเสนอเรื่องรัฐบาลแห่งชาตินั้นเป็นข้อเสนอที่มีมาหลายครั้งในประเทศไทย ไม่ว่าท่าน ผู้อ่านจะรู้สึกศรัทธาหรือเคลือบแคลงต่อข้อเสนอในเรื่องดังกล่าว ผมคิดว่าทุกครั้งที่มีการเสนอ เรื่องรัฐบาลแห่งชาติ สังคมนี้มีเหตุปัจจัยบางประการที่ความคิดเช่นนี้ถูกเสนอขึ้นมา แม้ว่าในบางครั้งก็มีการขานรับอยู่มาก บางครั้งก็มีการขานรับน้อยมาก

จากการรวบรวมของสำนักข่าวบีบีซีไทยที่ลองรวบรวมย้อนหลังไปถึง 12 ปี พบความพยายามถึง 6 ครั้ง แม้ว่าจะไม่รุ่งสักครั้ง นับตั้งแต่ รัฐบาลสมานฉันท์Ž ของ พล.อ.ชวลิต ในช่วงก่อนรัฐประหาร 2549 รัฐบาลแห่งชาติเพื่อความปรองดองŽ ของคุณหญิงหน่อยในช่วงวิกฤตรัฐบาลอภิสิทธิ์ หรือ รัฐบาลเฉพาะกาลคนกลางที่เกิดขึ้นบนความยอมรับของทุกฝ่ายŽ ของคุณอภิสิทธิ์ในช่วงวิกฤตรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รัฐบาลปรองดองเพื่อการปฏิรูปŽ ของอาจารย์เอนก ในการประชุมของ สปช. หรือมาจนถึงข้อเสนอการร่วมอำนาจกันของคุณพิชัยเมื่อไม่กี่วันก่อน (อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.bbc.com/thai/41250843?ocid=socialflow_facebook)

ในการศึกษาเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ ความจริงอาจจะต้องมองย้อนไปก่อนหน้านั้นในสังคมไทย เพราะข้อเสนอในเรื่องรัฐบาลแห่งชาติของสังคมไทยอาจไม่ได้ซับซ้อนตามทฤษฎีฝรั่ง แต่มาจากพัฒนาการของสังคมไทยเอง โดยต้องรวมข้อเสนออีกสองแบบเข้ามาด้วย จะทำให้เรามองย้อนไปก่อน 2549 ได้อีกนาน

หนึ่งคือ รัฐบาลแห่งชาติในความหมาย รัฐบาลปฏิวัติŽ หรือรัฐบาลทหารที่ทำให้ทุกฝ่ายนั้นเงียบๆ ไป ทีนี้จะเรียกใครมาใช้งานก็ค่อยเรียกเข้ามา ไม่ว่าจะเอานักการเมืองมานั่งรัฐมนตรี เอาเข้ามาในโครงสร้างอำนาจดังที่เป็นอยู่ นับตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์มาจนถึงวันนี้

Advertisement

สองคือ รัฐบาลที่แบ่งอำนาจระหว่าง พลเรือนกับทหาร โดยให้ทหารนำ เช่นยุค พล.อ.เปรม ที่ทหารมีอิทธิพลมากขนาดที่นักการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งก็ต้องไปเชิญทหารมาเป็นนายกรัฐมนตรี

สามคือ ความฝันของนักการเมืองที่จะมีรัฐบาลแบบพรรคอัมโนของมาเลเซีย คือมีพรรคใหญ่ที่เป็นเสมือนร่ม แล้วก็มีพรรคย่อยๆ อยู่ภายในนั้น

ในประการต่อมา สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ข้อเสนอเรื่องรัฐบาลแห่งชาติมักจะเกิดมาในช่วงที่การเมืองมักเข้าสู่ทางตันหรือวิกฤต ที่สำคัญ ข้อเสนอมักจะไม่ได้ผล และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองหรือรูปรัฐบาลไปสู่การทำรัฐประหารอยู่บ่อยครั้งในบ้านเรา

Advertisement

ในแง่นี้ อย่างน้อยข้อเสนอในเรื่องรัฐบาลแห่งชาติก็เป็นสัญญาณบวก (นิดๆ) ในการต่อรองอำนาจกัน แม้ว่าจะไม่มีการขานรับอย่างจริงจังก็ตาม

ที นี้มาพิจารณาในระดับที่ลึกซึ้งขึ้น นักรัฐศาสตร์สนใจเรื่องรัฐบาลแห่งชาติในบริบทที่มากไปกว่าข้อเสนอของนักการเมือง แต่สนใจเรื่องรัฐบาลแห่งชาติในฐานะส่วนหนึ่งของ การแบ่งปันอำนาจŽ (Power Sharing) ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียงหลักข้อถกเถียงหนึ่งในวงวิชาการทางรัฐศาสตร์

อธิบายง่ายๆ ก็คือ การแบ่งปันอำนาจ กลายเป็นข้อเสนอในการปรับปรุงประชาธิปไตยท่ามกลางบริบททางการเมืองที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งในสังคม

นักรัฐศาสตร์กลุ่มนี้พยายามเสนอว่า ประชาธิปไตยนั้นไม่ได้มีแต่เรื่องของการเลือกตั้ง แต่หมายถึงการออกแบบเชิงสถาบันที่คำนึงถึงการกระจายอำนาจและแบ่งปันอำนาจกันของกลุ่มพลังทางสังคมต่างๆ

จุดประสงค์สำคัญที่ใช้วัดประเมินการแบ่งปันอำนาจก็คือ การแบ่งปันอำนาจนั้นเกิดขึ้นแล้วจะส่งเสริมประชาธิปไตย สันติภาพ และลดความขัดแย้งแบบรุนแรงฆ่ากันได้ไหม

ในยุคแรก ข้อเสนอในเรื่องของการแบ่งปันอำนาจนั้นเป็นข้อเสนอที่ได้รับการขานรับเป็นอย่างดี เต็มไปด้วยความหวังและความเชื่อว่าการแบ่งปันอำนาจนั้นจะนำไปสู่ประชาธิปไตย สันติภาพ และการเลิกฆ่ากัน โดยเฉพาะในบริบทของการมีสงครามกลางเมือง และความขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์

ในยุคปัจจุบัน งานวิจัยเรื่องของการแบ่งปันอำนาจนั้นทำให้เราเห็นความสลับซับซ้อนของเงื่อนไขที่จะทำให้การแบ่งปันอำนาจนั้นส่งผลแง่บวกต่อประชาธิปไตย สันติภาพ และการยุติสงครามการเมือง ได้อย่างไรŽ และ ในกรณีหรือภายใต้เงื่อนไขใดบ้างŽ มากกว่าเชื่อว่าการแบ่งปันอำนาจนั้นเป็นยาแก้สารพัดโรคได้อย่างไร

พูดแบบง่ายที่สุดคือ การแบ่งปันอำนาจในระดับคำจำกัดความ เราต้องถามกันก่อนว่า การแบ่งปันอำนาจนั้นเราพูดถึงอะไรระหว่าง 1.การแบ่งปันอำนาจกันขององค์กรในรัฐบาล 2.การแบ่งปันอำนาจของรัฐบาลต่างระดับกัน เช่น ส่วนกลางกับท้องถิ่น 3.การแบ่งปันอำนาจกันระหว่างกลุ่มทางสังคมที่ต่างกัน 4.การแบ่งปันอำนาจกันระหว่างพรรคการเมือง หรือกลุ่มกดดัน หรือขบวนการทางสังคมต่างๆ

ในเชิงทฤษฎีหลักนั้น นักคิดยุคแรกอย่าง Lijphart มองอย่างกว้างๆ ว่า การแบ่งปันนั้นมีสองเรื่องใหญ่คือ การแบ่งปันอำนาจของกลุ่มทางสังคมและเศรษฐกิจและการแบ่งปันอำนาจในเชิงรูปธรรม นั่นก็คือการแบ่งปันอำนาจระหว่าง ชนชั้นนำŽ

ซึ่งการแบ่งปันอำนาจระหว่างชนชั้นนำนี่แหละ ที่ต่อมาพัฒนากันมาในหลายรูปแบบและกลายเป็นแรงจูงใจของชนชั้นนำในการทำงานร่วมกัน หรือร่วมรัฐบาล จนบางครั้งเราก็ลดทอนเรื่องของการแบ่งปันอำนาจที่กว้างขวางมาสู่เรื่องแค่ว่าชนชั้นนำจะเสนอข้อตกลงในการเกี้ยเซี้ยกันอย่างไร หรือการมีรัฐบาลผสมอย่างไร

ทั้งที่ในความสลับซับซ้อนของการแบ่งปันอำนาจนั้น ยังมีเรื่องของการออกแบบระบบการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภา ที่มีที่มาจากกลุ่มพลังทางสังคมที่แตกต่างกัน ยังมีเรื่องของการออกแบบระบบที่ทำให้คนกลุ่มน้อยรู้สึกมีที่มีทางในการเมืองของเสียงข้างมากได้มากขึ้น และยังมีเรื่องของการนำเอาคู่ขัดแย้ง เช่น ฝ่ายกบฏแบ่งแย่งดินแดนหรือการเมืองเข้ามาอยู่ในกองทัพเดียวกันจะได้ไม่ต้องรบกัน (กองทัพแห่งชาติ) ฯลฯ

ข้อวิจารณ์อื่นๆ ที่น่าสนใจในเรื่องของการแบ่งปันอำนาจก็คือ ในบางกรณีการแบ่งปันอำนาจนั้นขัดกับหลักประชาธิปไตย เพราะไม่ให้ความสำคัญกับการมีฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง และการนำเอาฝ่ายที่ขัดแย้งกันเข้ามาร่วมกันนั้น ทำให้ฝ่ายที่เคยค้านนั้นอ่อนพลังลง ที่สำคัญการเมืองของการไม่มีการแข่งขันและการคัดค้านที่ทรงพลังนั้น จะทำลายคุณค่าของการเลือกตั้งที่หมายถึงความสามารถในการมีทางเลือกใหม่ๆ ให้กับสังคมลงด้วย

ข้อวิจารณ์อีกประการหนึ่งก็คือ บางครั้งการมุ่งเน้นกับรูปแบบการแบ่งปันอำนาจมากจนเกินไป ทำให้ความขัดแย้งในสังคมอาจไม่ได้หายไปจริง แต่ความขัดแย้งกลายเป็นทุนและแหล่งอ้างอิงและหากินของชนชั้นนำกลุ่มหนึ่งที่จะต้องแสดงท่าทีว่าฉันไม่มีทางจะเป็นพวกเดียวกันได้ เพราะถ้าฉันเหมือนกับคนอื่นทั้งหมดฉันจะไม่มีที่ยืนในเกมอำนาจ และก็มีส่วนที่ทำให้ฉันต้องมีมวลชนของฉันไว้ต่อรอง

ข้อเสนออื่นๆ ที่น่าสนใจก็คือ ในการแบ่งปันอำนาจนั้น สิ่งสำคัญก็คือ เราจะแบ่งปันกันอย่างไรในความเป็นจริง ใครจะเป็นคนชี้ช่องว่าเราจะดึงเอาใครเข้ามาใน วงอำนาจŽ บ้าง หรือว่าใครที่อยากเข้ามาในวงอำนาจก็จะต้อง ส่งเสียงŽ หรือ ออกท่าออกทางŽ อยู่ตลอดเวลาจึงจะถูกพบเห็น หรือเราจะมีนักคิดอัจฉริยะที่สามารถล่วงรู้และเข้าถึงโครงสร้างอำนาจของสังคม

นอกจากนั้นแล้วถ้าเราไม่แยกง่ายๆ ว่า การแบ่งปันอำนาจนั้นจะมีเป้าหมายไปสู่การส่งเสริมประชาธิปไตย หรือลดความขัดแย้งอย่างไร แต่มองว่าสิ่งที่เราต้องการนั้นคือการไปสู่ประชาธิปไตยที่ลดความขัดแย้งลงด้วย (หรือไปให้ไกลกว่านั้น post-conflict democracy) เราอาจต้องคิดว่าเงื่อนไขที่สำคัญอาจไม่ใช่การเกี้ยเซี้ยกันของชนชั้นนำ (นักการเมืองด้วยกันเอง หรือนักการเมืองกับทหาร) หรือมีโควต้าของคนกลุ่มน้อยในสภา หรือมีระบบการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง

หรือพูดง่ายๆ ว่าจะมีแค่เรื่องของการรวมอำนาจเข้ามาหรือกระจายอำนาจออกไปคงจะไม่พอ แต่ต้องหมายถึงการสร้างสถาบันทางการเมืองและการกำกับอำนาจที่อ้างว่ามีการแบ่งปันกันด้วย ซึ่งงานวิจัยทางรัฐศาสตร์ใหม่ๆ นั้นชี้ไปที่ เรื่องของการสร้างสถาบันที่จะต้องแบ่งปันอำนาจจากชนชั้นนำกับประชาชนด้วย โดยการกำกับชนชั้นนำ ไม่ใช่มองว่าการแบ่งปันอำนาจเป็นเรื่องของชนชั้นนำเขาดีลกันในระดับชาติ หรือชาติกับท้องถิ่น

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือการไม่ปล่อยให้ชนชั้นนำกลุ่มใดนั้นมีอำนาจครอบงำกลุ่มอื่น เช่น องค์กรอิสระที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน การไม่กำกับอำนาจของกองทัพทางการเมือง รวมตลอดถึงการที่ต้องมุ่งเน้นการมีกรอบกฎหมายและรัฐธรรมนูญที่ปกป้องสิทธิของประชาชนและกลุ่มต่างๆ

ไม่ใช่แหงนหน้ารอดูคนเขาต่อรองกันโดยที่เราเป็นเครื่องมือทางอำนาจของพวกเขาในข้ออ้างการแบ่งปันอำนาจในระดับบนเท่านั้นเอง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image