การบูรณการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สู่การบูรณการเพื่อพิทักษ์ชายฝั่ง กับการเปิดตัว ศูนย์อำนวยการและศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเปิดตัว “ศูนย์อำนวยการและศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง: ศอทช./ศปทช.” โดยพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการฯ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2560 กล่าวว่า
“กระบวนการขับเคลื่อนการปฏิรูปในมิติของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีความจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการบูรณาการของหน่วยงานรัฐและทุกภาคส่วนให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น ที่ผ่านมามีการประสานงานและบูรณาการในระดับหนึ่ง แต่นับว่า ยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร ทำให้การจัดการแก้ไขปัญหาและผลกระทบต่อระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งถูก  ภัยคุกคามทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์มีลักษณะเป็นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก ตัวอย่างปัญหา เช่น กรณีการลักลอบขโมยปะการังจาน อายุกว่าห้าร้อยปีเมื่อเร็วๆ นี้  ได้รับแจ้งการเกิดเหตุแล้วไปตามแก้ไขซึ่งอาจไม่ทันการณ์ ติดตามผู้ลักลอบยากเพราะไม่มีเบาะแสเส้นทางการนำปะการังไปไหน และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ด้านการอนุรักษ์และด้านวิชาการ แต่การกำกับควบคุมจะเกี่ยวโยงกับกฎหมายอื่นซึ่งกรม ทช.ไม่มีอำนาจ

จึงได้จัดตั้ง ศอทช. และ ศปทช. ขึ้นโดยมุ่งหวังให้เกิดการสร้างระบบการบูรณาการการทำงานโดยมีระเบียบปฏิบัติประจำ มีขั้นตอน มีวิธีการ มีผู้รับผิดชอบทั้งหน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานร่วมปฏิบัติ รวมถึงเครือข่ายการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในวันนี้ ได้เสนอแนะกรอบการทำงานของศูนย์ฯ เพื่อให้ไปพิจารณาในรายละเอียดต่อไป ดังนี้

  1. 1. การสร้างระบบงานของศูนย์ ได้แก่ การรวบรวม/วิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคาม การกำหนดหน่วยปฏิบัติ การสรุปรายงานและการสร้างการรับรู้และความเข้าใจ ที่ถูกต้อง
    ​2
    . การปฏิบัติการเชิงรับที่มีประสิทธิภาพ และเชิงรุกเพื่อลด/ยับยั้งไม่ให้เกิดการกระทำผิด          ลดแรงจูงใจและอื่น ๆ
    ​3
    . การฟื้นฟูและแก้ไขผลกระทบภายหลังจากเกิดภัยคุกคาม
    ​4
    . การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของ    ภาคส่วนต่าง ๆ องค์กรเอกชนที่สร้างสรรค์และ     ภาคประชาชน

    Advertisement

    จากข้อมูลที่นำเสนอในการประชุม ศอทช.ครั้งนี้ ได้สะท้อนถึงบทบาทและความสำคัญทางเศรษฐกิจ ของจังหวัดชายฝั่งทะเลซึ่งมี GDP ประมาณ 65% ของ GDP ทั้งประเทศ ซึ่งผลประโยชน์ทางทะเลแทบทุกด้าน เช่น ท่องเที่ยว อุตสาหกรรม ขนส่งทางทะเลล้วนมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่ผลประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีแนวโน้มลดลง โดยที่การดูแลบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทางทะเลมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องถึง 89 ฉบับ ซึ่งอยู่ภายใต้หน่วยงานรับผิดชอบ 32 หน่วยงาน ดังนั้น การมีกลไก ศอทช. และ ศปทช. ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติงานจังหวัดชายฝั่ง 24 จังหวัด และพื้นที่ทะเลตั้งแต่แนวชายฝั่งจนถึงเขตเศรษฐกิจจำเพาะ จะมีการบูรณาการอย่างเป็นระบบ เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

 

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image