“ลุมพินี”จ่อขึ้นแท่นแลนด์มาร์คใหม่กทม.-ซีบีอาร์อีชี้หลังโครงการย่านนั้นแล้วเสร็จจะมีพื้นที่สำนักงานค้าปลีกเพิ่มอื้อ

นางสาวอลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีบีอาร์อี จำกัด กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “Bangkok’s New Landmark แนวโน้มกรุงเทพเมืองใหม่จากแลนด์มาร์คใหม่” ซึ่งจัดโดย บริษัท ทูมอร์โร กรุ๊ป จำกัด และเว็ปไซต์ พร็อพทูมอร์โร ว่า ภายใน 5 ปีข้างนี้หน้าแลนด์มาร์คของกรุงเทพฯจะเปลี่ยนไปในอีกรูปแบบหนึ่ง ปัจจุบันมองแลนด์มาร์คแค่ตัวอาคารที่มีรูปร่าง สะดุดตา โดยทำเลแรกที่จะเป็นแลนด์มาร์คคือ บริเวณรอบสวนลุมพินี เพราะมีโครงการขนาดใหญ่ถึง 3 โครงการจะเกิดขึ้น คือ โครงการ วันแบงคอก มีพื้นที่ 104 ไร่ อยู่ตรงหัวมุมวิทยุ ตัดพระราม 4 ,โครงการหลังสวนวิลเลจ มีเนื้อที่ 56 ไร่ ของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และโครงการของกลุ่มโรงแรมดุสิตธานี หัวมุมถนนสีลม ขนาด 23 ไร่ อย่างไรก็ตามเมื่อโครงการดังกล่าวสร้างเสร็จ จะทำให้พื้นที่สำนักงานเพิ่มขึ้นมาก จากปัจจุบันอยู่ 4.4 ล้านตรม.เพิ่ม 7.85 แสนตร.ม. รวมเฉพาะแค่วันแบงคอก เฟสเดียว ส่วนรีเทลปัจจุบันมีพื้นที่รวม 1.5 แสนตร.ม. เพิ่มขึ้นอีก 2.85 แสนตร.ม. หรือ 9% ในอีก 5 ปีข้างหน้า และจะมีโรงแรมเพิ่มขึ้นอีก 18% นอกจากนี้ในอนาคตทำเลที่จะพัฒนาเป็นแลนด์มาร์คได้ คือ โซนติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งเจริญนคร และเจริญกรุง เพราะมีจุดเด่นของทำเลที่มีคาแรกเตอร์ที่ไม่เหมือนใคร สังเกตว่าคอนโดมิเนียมติดริมแม่น้ำจริงๆ เมื่อพัฒนาออกมาขายได้ 100% นอกจากนี้ยังมีรถไฟฟ้าสายสีทองที่เชื่อมในเมืองกับฝั่งธนบุรี

นางสาวก่องกนก เมนะรุจิ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษหัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการขนส่งทางรางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. กล่าวว่า การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งมวลชนไปพร้อมกับการพัฒนาพื้นที่รอบโครงข่ายและสถานีจะสามารถควบคุมทิศทางการพัฒนาเมือง จะสามารถควบคุมทิศทางการพัฒนาเมืองให้เกิดความกระชับและมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความหนาแน่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ผังเมืองใหม่ที่จะประกาศใช้ในปี 2561 ที่ทำให้การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในรัศมี 600 เมตรจากสถานนีรถไฟฟ้ามีประสิทธิภาพและมีความหนาแน่นมากยิ่งขึ้น อาทิ หากพัฒนาภายในรัศมี 600 เมตรจะได้โบนัส FAR เพิ่มขึ้น 20% หรือกรณีมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นจากกฎหมายกำหนัดก็จะได้รับโบนัสเพิ่มเช่นเดียวกัน นอกจากจะเอื้อต่อผู้ประกอบการที่ยู่ในรัศมี 600 เมตรแล้วยังทำให้เกิดการพัฒนาอื่นๆตามมาในรัศมี 12 กิโลเมตร

นางสาวก่องกนกกล่าวว่า นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มอบหมายให้สนข.ไปศึกษาและพิจารณาบรรจุโครงการระบบขนส่งมวลชนระบบรองของกรุงเทพมหานครใน M-Map 2 จำนวน 3 โครงการ คือ ส่ายสีเทา จากวัชรพล-สะพานพระราม 9 ระยะทาง 26 กิโลเมตร สายบางนา-สุวรรณภูมิ เป็นระบบขนส่วงมวลชนเบา และสายสีทอง จากสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-เขตคลองสาน-ถนนประชาธิปก ระยะทาง 2.7 กิโลเมตร

นายอิสระ บุญยัง นายกกิตมศักดิ์สมาคมธุกิจบ้านจัดสรร และกรรมการผู้จัดการบริษัทกานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า การพัฒนาโครงข่ายระบบรางจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กรุงเทพฯสามารถเติบโตไปได้อีกมาก นอกจากนี้การขยายระบบรางไปยังเส้นทางต่างจังหวัดยังทำให้จังหวัดที่เส้นทางรถไฟฟ้าผ่านมีการขยายตัวและเจริญเติบโตมากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดเมืองศูนย์กลางที่กระจายตัวออกไปยังภูมิภาคแทนกรุงเทพเพียงแห่งเดียว อาทิ ภาคตะวันออกที่รัฐบาลสนับสนุนให้เกิดโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกซึ่งจะมีทั้งระบบราง การขยายสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินนานาชาติ ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังซึ่งจะยกเลิกท่าเรือคลองเตยไปใช้ที่แหลมฉบังแทน

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image