“ฮับเบิล” เฉลยแล้ว วัตถุประหลาดคล้ายดาวหาง ที่จริง มันคือดาวเคราะห์น้อย2ดวง โคจรคู่ ห่างกัน 97 กม.เท่านั้น

ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลอธิบาย ดาวเคราะห์น้อย 2006 VW139/288P ในช่วงเดือนกันยายน 2016 ก่อนที่ดาวเคราะห์น้อยจะโคจร เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ขององค์กการบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา(นาซา) ช่วยให้ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ ค้นพบวัตถุประหลาดในแถบดาวเคราะห์น้อย ว่าความจริงแล้ว มันคือ ดาวเคราะห์น้อยสองดวง ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดาวหาง โดย วีดิโอ ที่ประมวลผลจากชุดภาพถ่ายจากกล้อง ฮับเบิล พบดาวเคราะห์น้อยสองดวง ลักษณะคล้ายดาวหาง ดาวเคราะห์น้อยคู่นี้ มีชื่อว่า 2006 VW139/288P ค้นพบในเดือนกันยายน ค.ศ.2016 ก่อนที่ดาวเคราะห์น้อยคู่นี้จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด จากวีดิโอนี้ สังเกตเห็นหางของดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนที่อย่างชัดเจน เมื่อสังเกตจาก โลก

ภาพถ่ายจาก ฮับเบิลใช้อธิบาย ดาวเคราะห์น้อย 2006 VW139/288P ในช่วงเดือนกันยายน 2016 ก่อนที่ดาวเคราะห์น้อยจะโคจร เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้นักดาราศาสตร์ทราบว่ามันไม่ใช่ ดาวเคราะห์น้อย เพียงดวงเดียว แต่เป็นดาวเคราะห์น้อยสองดวงที่มีขนาด ใกล้เคียงกันโคจรรอบกันโดยมีระยะห่างเพียง 97 กิโลเมตร

ดาวเคราะห์น้อย 2006 VW139/288P ถูกค้นพบในโครงการ Spacewatch ในเดือน พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ในขณะนั้นนักดาราศาสตร์ไม่เชื่อว่า 2006 VW139/288P จะพบปฏิกิริยาทางเคมีที่คล้ายกับดาวหาง จนมีการค้นพบข้อมูลที่ใหม่ ของโครงการ Spacewatch และ Pan-STARRS ซึ่งเป็นโครงการสำรวจวัตถุใกล้ โลกขององค์การนาซา ทำให้วัถตุนี้เป็นที่ รู้จักครั้งเเรกในชื่อของ “ดาวเคราะห์น้อยคู่” (binary asteroid) ที่มีลักษณะคล้ายดาวหาง

Advertisement

ลักษณะของดาวเคราะห์น้อยคู่ ทั้งระยะห่างระหว่างกัน ขนาดที่ใกล้เคียงกัน และปฏิกิริยาทางเคมีที่คล้ายดาวหางทำให้มันพิเศษ กว่าดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ

การค้นพบครั้งนี้ทำให้เข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับ ต้นกำเนิดและวิวัฒนาการช่วงเเรกของระบบสุริยะได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ดาวเคราะห์น้อย 2006 VW139/288P ระบบวัตถุคู่มาเป็นระยะเวลาเพียง 5,000 ปีเท่านั้น การก่อตัวที่เป็นไปได้มากที่สุดของดาวเคราะห์น้อยคู่นี้เกิดจาก แตกตัวของดาวเคราะห์น้อยที่มีการหมุนอย่างรวดเร็วจนเสียสมดุล หลังจากนั้น วัตถุทั้งสองเขยิบตัวห่างออกจากกันด้วยเเรงผลักจากไอน้ำที่พ่นออกมา จากดาวเคราะห์น้อย ซึ่งไอน้ำดังกล่าวมาจากการระเหิดของน้ำแข็งบนตัวดาว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image