ผู้นำแบบ‘ซุนวู’ โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

 

ในเวทีการแข่งขันที่มีสัประยุทธ์แบบทีม คือมีผู้ร่วมกระบวนการหากเป็นสงครามแล้ว พึงดำเนินการ 5 ข้อ ทุกคนใช้ยุทธศาสตร์ (strategy) การดำเนินการในฐานะที่เป็นผู้นำ ซึ่งเรียกภาษาทหารว่า “แม่ทัพ” ต้องรับบัญชาการจาก “เจ้าเมือง” แล้วระดมไพร่พลพร้อมสรรพภายใต้ชัยภูมิต่างๆ กัน มีหลักการว่าพื้นที่วิบากต้องไม่ตั้งค่าย พื้นที่คาบเกี่ยวพึงคบมิตร พื้นที่ตัดขาดอย่าเชื่องช้า เมื่อถูกล้อมต้องใช้เหลี่ยม ประสบวิกฤตต้องสู้ตาย เส้นทางบางสายไม่ควรสัญจร บางกองทัพไม่ควรต่อกรด้วย บางที่มั่น ไม่ควรเข้าโจมตี บางตำแหน่งแห่งที่ไม่ควรรักษา คำบัญชาบางอย่างไม่ควรรับ

“แม่ทัพ” ต้องเชี่ยวชาญ “การปรับตัว” ให้ได้เปรียบ จึงจะเป็นผู้รู้การศึก “แม่ทัพ” ที่ไม่ชำนาญการปรับตัว พวกเขาอาจรู้ว่าภูมิประเทศมีรูปร่างอย่างไร แต่ก็ยังสามารถใช้สิ่งเหล่านั้นเพิ่มความได้เปรียบ บางแม่ทัพไม่รู้ว่าจะปรับวิธีการรบอย่างไร พวกเขาอาจพบตำแหน่งได้เปรียบ แต่มีความสามารถใช้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการ 1) วางแผนพึงสร้างสรรค์ พึงปรับตัวตามเงื่อนไขแห่งโอกาสและอุปสรรค อาจใช้วิธีต่างๆ แต่ได้ผลอย่างเดียวกัน ปัญหาอาจแตกต่าง แต่เราต้องหาทางออกได้เสมอ 2) ปรับเปลี่ยนข้าศึกต้องรู้จุดอ่อน ต้องการให้ข้าศึกต้องหางานให้ทำ ต้องการให้ข้าศึกเร่งรุดต้องหาผลประโยชน์เข้าล่อ 3) ขึ้นชื่อว่า “นักรบ” อย่าได้วางใจว่าข้าศึกจะไม่มา พึงวางใจความพร้อมที่จะรับมือกับพวกเขาจะดีกว่า อย่าได้เชื่อว่าข้าศึกจะไม่จู่โจม เชื่อความสามารถในการเลือกสถานที่ที่ข้าศึกไม่สามารถเข้าโจมตีย่อมดีกว่า 4) จุดอ่อนห้าประการของ “แม่ทัพ” มีดังนี้ 1) สู้ตายอาจถูกฆ่า 2) กลัวตายอาจถูกจับ 3) ฉุนเฉียวอาจถูกยั่ว 4) หยิ่งในศักดิ์ศรีอาจถูกหยาม 5) รักราษฎรอาจถูกก่อกวน ห้าประการนี้เป็นจุดอ่อน เป็นความผิดพลาดที่มักพบได้ในแม่ทัพ
ล้วนเป็นภัยแก่การบังคับบัญชาอาจนำไปสู่การล่มสลายของ “กองทัพ” ได้…

ความสามารถในการปรับตัวของ “แม่ทัพ” หรือผู้นำ จึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งก่อนที่เราจะนำมาสู่การวิเคราะห์จุดอ่อน เสริมจุดแข็งเพื่อชัยชนะ “ซุนวู” กล่าวว่า หลักสัประยุทธ์มี 7 ประการ
1.จงไปถึงสนามรบก่อนข้าศึกเพื่อเป็นฝ่ายคอยข้าศึกอยู่อย่างสดชื่นสบายใจ และเป็นการสังเกตการณ์ศึกษารวบยอดสภาพแวดล้อมน่าจะประมาณการได้ระดับหนึ่ง หากฝ่ายตรงข้ามถึงสนามรบก่อนฝ่ายเราจะต้องตะลีตะลานเข้าไปย่อมเกิดความสับสนลนลาน ทำอะไรไม่ถูก น่าจะเสียดุลไประดับหนึ่ง

Advertisement

หากต้องการความสำเร็จในการศึก จงเคลื่อนกำลังแต่อย่าเคลื่อนเข้าสู้กำลังฝ่ายตรงข้าม เราสามารถทำให้ข้าศึกฝ่ายตรงข้ามเข้ามาหาเราได้โดยให้ผลประโยชน์แก่เขา เราสามารถทำให้ข้าศึกหลีกเลี่ยงไม่เข้ามาก็ได้ หากข่มขู่ว่าจะได้รับอันตราย

หากข้าศึกสดชื่นจงทำให้เหนื่อยล้า หากเขาอิ่มจงทำให้เขาอด หากเขาพักผ่อน จงอย่าให้อยู่นิ่ง

2.จงออกเดินทางอย่างสุขุม รีบไปยังที่ข้าศึกคาดไม่ถึง จะเดินทัพได้พันลี้ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพราะเดินในที่ปลอดคน โจมตีไปที่ “จุดอ่อน” ด้วยการป้องกัน ยามป้องกัน ป้องกันจนข้าศึกไม่มีที่จะโจมตี

Advertisement

3.โจมตีอย่างชัดเจนให้ข้าศึกไม่รู้ว่าจะป้องกันที่ตรงไหน ป้องกันให้เชี่ยวชาญ อย่าให้ข้าศึกรู้ว่าควรโจมตีเราตรงที่ใด จงลึกลับอย่างมีเหลี่ยมไปถึงอย่างไรอย่ามีรูปแบบที่เห็นได้เด่นชัด จงเร้นกายอย่างลี้ลับ ไปถึงอย่างไม่มีเสี่ยง ใช้ทักษะทุกอย่างควบคุมการตัดสินใจของข้าศึก จงรุกเข้าไปในตำแหน่งที่เขาไม่สามารถปกป้อง จู่โจมผ่านจุดอ่อนถอนกำลังยามข้าศึกไม่สามารถขับไล่ รวดเร็วให้เกินกว่าที่ข้าศึกจะไล่ได้ทัน จงเป็นฝ่ายเลือกรบ ข้าศึกอาจซ่อนอยู่หลังกำแพงสูงหรือดูลึกอย่าได้พยายามเอาชัยมาด้วยการเข้าตีตรงหน้า แต่จงเข้าโจมตีในที่ซึ่งพวกเขาต้องช่วยกัน จงหลีกเลี่ยงรอความที่เราไม่ต้องการ

แบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ แล้วปกป้องมันอย่าให้ข้าศึกมีอะไรที่จะใช้ช่วยให้ชนะ ชักนำเขามายังตำแหน่งที่เราเตรียมการตั้งรับไว้เป็นอย่างดี

4.จงจ่ายงานให้ “ทุกคน” ยกเว้น “ตัวเอง” แล้วรวมกำลังเมื่อข้าศึกแบ่งกำลัง รวมพลังให้เป็นหนึ่งเดียว ข้าศึกแบ่งกำลังย่อมแยกเป็นกลุ่มย่อย จงใช้กลุ่มใหญ่โจมตีกลุ่มย่อยเพียงกลุ่มเดียว เป็นคนหลายคนกับคนน้อยคน กำลังที่เหนือกว่าย่อมทำให้ผู้ที่มีกำลังน้อยมิอาจต้านทาน หลังจากนั้นจงจัดการกลุ่มย่อยกลุ่มต่อไป ขยี้อย่างนี้ไปทีละกลุ่ม

5.จงรักษาสถานที่ที่ได้เลือกไว้ว่าจะใช้เป็นสมรภูมิให้เป็นความลับข้าศึกจะต้องไม่รู้ บีบให้ข้าศึกต้องเตรียมการรบในหลายพื้นที่ให้พวกเขาต้องเตรียมการป้องกันในหลายพื้นที่ แล้วค่อยเข้าตีตรงจุดที่ได้เลือกไว้ ในลักษณะนี้กำลังข้าศึกจะถูกแบ่งจนเหลือเบาบาง ข้าศึกมีกำลังน้อย เพราะต้องเตรียม
รับศึกจากเรา ฝ่ายเรามีกำลังมาก เพราะให้ข้าศึกเป็นฝ่ายต้องเตรียมรับศึก

6.เราต้องรู้จักพื้นที่การรบ เราต้องเข้าใจจังหวะของการศึกเมื่อนั้นเราจะสามารถรุกคืบหน้าเข้าไปได้เป็นพันลี้อย่างผู้พิชิต หากไม่รู้พื้นที่การรบ ไม่เข้าใจจังหวะของการศึก ปีกซ้ายก็จะมิอาจช่วยปีกขวา ปีกขวาก็มิอาจช่วยปีกซ้าย แนวหน้าก็มิอาจช่วยส่วนหลัง ส่วนหลังก็มิอาจช่วยแนวหน้า การสนับสนุนที่อยู่ใกล้เพียงสิบลี้ก็เหมือนอยู่ไกล ใกล้ก็เหมือนไกล

7.กำหนดยุทธศาสตร์ พึงวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง ดำเนินตามแผนพึงรู้วิธีปฏิบัติไม่ปฏิบัติ เมื่อเข้าสู่พื้นที่พึงรู้ว่าพื้นที่ไหนเป็นจุดตาย พื้นที่ไหนอำนวยชัย เมื่อเข้าสู่สงคราม พึงรู้ว่ามีกำลังพลมากไปหรือน้อยไป..
“รูปขบวน” ในการรบมีความสำคัญยิ่ง จงเข้าสู่สงครามอย่างปราศจาก
รูปแบบ อย่าได้รีบด่วนจัดรูปแบบก่อนเวลาอันควร ทำได้ดังนี้ แม้แต่การรบชั้นเลิศก็สามารถหาข่าว แม่ทัพที่ฉลาดล้ำก็มิอาจวางแผนรับมือ เรารู้รูปแบบที่สามารถได้รับชัยชนะด้วยการใช้กำลังที่เหนือกว่า อย่าปล่อยให้กองกำลังของฝ่ายข้าศึกได้ล่วงรู้ให้เขาได้รู้ว่าเราอยู่ ณ ตำบลใดก็ต่อเมื่อรูปแบบของเราช่วยให้เราประสบความสำเร็จแล้ว

อย่าให้ใครได้ล่วงรู้ว่ารูปแบบของเราช่วยให้เราได้รับชัยชนะได้อย่างไร จะรบให้ชัยชนะได้อย่างเด็ดขาด อย่าให้ข้าศึกมีโอกาสได้โงหัวขึ้นมาอีก พึงจัดรูปแบบให้เหมาะสมกับรูปแบบของข้าศึก จัดรูปแบบการรบดุจดั่ง “น้ำ”

“น้ำ” ปรับรูปแบบปรับตัวได้ตาม “ภาชนะ” น้ำย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ การรบของเราต้องปรับเปลี่ยนได้ดั่ง “น้ำ” พึงหลีกเลี่ยงจุดแข็ง โจมตีจุดอ่อน น้ำย่อมปรับตัวไปตามพื้นที่ที่มันไหลผ่าน กองทัพของเราก็พึงปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับข้าศึกเพื่อชัยชนะเฉกเช่นกัน

⦁เริ่มสงครามโดยมีรูปแบบไม่แน่นอน เฉกเช่น “น้ำ” ที่ไม่มีรูปทรงแน่นอน หากปรับเปลี่ยนได้ตามที่ข้าศึกปรับและเปลี่ยนเราก็จะหาหนทางเอาชนะได้ เช่นนี้เรียกว่า ทำตัวได้ดั่ง “เงา” เข้าสู่สงครามโดยมีรูปแบบแห่งชัยชนะไม่เหมือนกัน แต่ละฤดูใช้รูปแบบที่ไม่เหมือนกัน วันเวลาที่มีจำกัด ช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์เราสามารถตัดสินแพ้ชนะได้

⦁การสัประยุทธ์ : “ซุนวู” กล่าวว่า ทุกคนล้วนต้องใช้ยุทธศาสตร์หรือ “แม่ทัพ” รับโองการจาก “ประมุข” จัดระดับไพร่พล จัดหน่วย จัดค่าย แต่ยังต้อง “หลีกภัย” จากการสัประยุทธ์ให้จงดี
การเผชิญหน้าอาจเป็นภัยดังนี้ ทางอ้อมจึงอาจเป็นทางสั้นที่สุด เพราะเหตุนี้ ปัญหาจึงอาจถือเป็นโอกาส ฝึกใช้ทางอ้อมเป็นทางสัญจร พึงล่อด้วยประโยชน์ เมื่อล้าหลังหรือพึงเร่งฝีเท้าเมื่อล้ำหน้าพึงชะลอ พึงรู้ทางอ้อมที่สามารถช่วยให้บรรลุแผนได้ตรงที่สุด จงเข้าสัประยุทธ์เมื่อได้เปรียบ การแสวงหาการสัประยุทธ์เพียงเพื่อได้รับสัประยุทธ์จักเป็นภัย

⦁หากกองทัพสู้เพื่อผลประโยชน์ ย่อมไม่สามารถจับศัตรูได้ กองทัพสู้เพื่อผลประโยชน์ จักสูญเสียเพื่อสัมภาระ หากปล่อยให้กองทัพเดินทางโดยปราศจากขบวนสัมภาระที่ดี กองทัพจะสลาย ปราศจากเสบียงอาหารกองทัพย่อมสลาย หากไม่ประหยัดธัญญาหารกองทัพย่อมมลาย
อย่าปล่อยให้ข้าศึกรู้แผนการของฝ่ายเรา ทั้งต้องไม่ลังเลที่จะเสริมพันธมิตร ต้องรู้จักภูเขา รู้ป่า รู้อุปสรรคที่ขัดขวาง รู้ว่ามีหนองอยู่หนใด หากไม่รู้จะเคลื่อนทัพหาได้ไม่ หากไม่รู้จะต้องใช้คนท้องถิ่นนำทาง หากไม่รู้จะไม่สามารถใช้ภูมิประเทศสร้างความได้เปรียบ

⦁ทำสงครามพึงมิเปิดเผยตำแหน่งแห่งที่แท้จริง ตำแหน่งลวงช่วยให้เคลื่อนที่สะดวก ทางแยกและรวมช่วยให้เราปรับตัวเองและเปลี่ยนสถานการณ์ได้ เราจักเคลื่อนที่ได้เร็วดั่งลมพัด สามารถเพิ่มจำนวนได้ดั่งต้นไม้ในป่า สามารถบุกสามารถปล้นสะดมได้ดุจอัคคีภัยบรรลัยกัลป์ ตั้งมั่นได้ดังหนึ่งภูผา สามารถคงความลึกลับได้ดั่งเมฆหมอก สามารถฟาดฝ่าได้ประดุจอสุนีบาต แบ่งกำลังเพื่อปล้นสะดมหมู่บ้านในพื้นที่โล่ง การแยกกำลังช่วยให้ได้เปรียบไม่ต้องห่วงการจัดทัพ ขอเพียงให้เคลื่อนที่ได้เท่านั้น รู้ว่าทางเช่นใดอ้อมเช่นใดตรง เยี่ยงนี้จึงจะประสบความสำเร็จไป การสัประยุทธ์ “ยกที่หนึ่ง”

⦁ในสมรภูมิ “ส่งเสียงจักไม่ได้ยินต้องใช้ฆ้องใช้กลอง มองก็มิสามารถแลเห็น ต้องใช้ธงทิวเสริมส่งสัญญาณ” ต้องใช้ให้เชี่ยวชาญให้สั่งการไพร่พล ให้ได้ยินเหมือนเป็นหนึ่งเดียว ต้องรวมคนรวมใจให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ผู้กล้าจะต้องไม่บุกไปเพียงลำพัง ผู้หวาดกลัวจะต้องไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง พึงบัญชาการให้พวกเขาทำงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

⦁รบกลางคืน ต้องใช้ “คบไฟ” และ “กลอง” ให้มาก กลางวันใช้ “ธงทิว” ให้มาก ดูแลไพร่พลให้สามารถเห็นสัญญาณได้ชัดเจนและทั่วถึง

⦁กองทัพ ควบคุมได้ด้วยขวัญ “แม่ทัพ” ต้องรู้จัก “ยับยั้งชั่งใจ” ในตอนเช้าพลังงานของผู้คนย่อมเต็มเปี่ยม เมื่อเวลาผ่านไปอาจโรยราตกเย็นต่างก็สิ้นแสง เราควรใช้กำลังอย่างโดยฉลาดหลีกเลี่ยงข้าศึกที่ฮึกเหิม จู่โจมเมื่อไพร่พลข้าศึกเกียจคร้านอิดโรยเหล่านี้ คือหนทางการคุมพลัง…คือชัยชนะยกที่สอง

⦁พึงใช้ “วินัย” รับมือความสับสนอลหม่านของสงคราม คือ “หนทางแห่งการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก” คือ ยกที่สาม

⦁พึงรออยู่ใกล้บ้านเพื่อเตรียมตัวรับมือข้าศึกที่ต้องเดินทางไกล พักอย่างสบายเพื่อรอรับข้าศึกที่เหนื่อยล้า อิ่มเพื่อรอข้าศึกที่อดอยากปากแห้งเหล่านี้ คือ “หนทางการคุมกำลัง” คือ ยกที่สี่
⦁พึงอย่าได้ลองข้าศึกที่มีระบบระเบียบในการบังคับบัญชาดี อย่าเพิ่งเข้าโจมตีหากรูปขบวนเขาเข้มแข็งเหล่านี้ คือ…“หนทางแห่งการปรับตัว” คือ ยกที่ห้า..

ท้ายสุดนี้พึงจำไว้ว่า “กฎทางทหาร” ที่ต้องปฏิบัติตาม ยึด “วินัย” โดยเคร่งครัดมีอยู่ข้อคำนึง “7 อย่าง” คือ อย่าบุกขึ้นที่สูง อย่าเข้าตีคนจนตรอก อย่าไล่คนแสร้งหนี อย่าได้โจมตีข้าศึกคนที่เข้มแข็งที่สุด อย่ากินเหยื่อที่ข้าศึกอ่อย อย่าขัดขวางกองทัพที่กำลังบ่ายหน้ากลับบ้าน แต่จงให้หาทางออกแก่กองทัพที่ถูกปิดล้อม อย่าได้กดดันข้าศึกให้หมดหนทางสู้เหล่านี้ คือ “หนทางการใช้ทักษะทางทหาร” นั่นคือ จริยธรรมทางการทหารในสมรภูมิรบตาม “ตำราพิชัยสงคราม” ของ “ซุนวู” รู้เขา รู้เรา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในฐานะ “ผู้มีชัยชนะ” ย่อมต้องมี “พรหมวิหารธรรม” และให้อภัยแก่ผู้แพ้

ซึ่งมันเป็น “ธรรมชาติ” ของการแข่งขัน การต่อสู้แม้ในสงครามย่อมมีแพ้มีชนะในเกม มันก็เท่านี้เองแหละไงเล่าครับ..

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image