เปิดวิจัย “พะยูน” ชี้อดีตมีการ “ล่า” พร้อมเสนอทางอนุรักษ์ความรู้เดิมผสมวิทย์ เผยปัจจุบันไม่มีการล่า

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

เปิดงานวิจัย “พะยูน -หญ้าทะเล” มทร.ศรีวิชัยตรัง ชี้อดีตมีการ “ล่าพะยูน” เสนอแนวทางอนุรักษ์นำความรู้ดั้งเดิม ความรู้ชุมชนผสมผสานทางวิทยาศาสตร์ ขณะที่ปัจจุบันงานวิจัยไม่ระบุมีว่ามีการล่าพะยูน

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม หลังจากกระแสข่าวกรณี นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลถึงภาวะวิกฤตพะยูนที่อาศัยอยู่ในทะเล ถูกคุกคามอย่างหนัก ในเรื่องที่อยู่อาศัยและการทำลายแหล่งหญ้าทะเล สาเหตุหนึ่งมาจากการล่าพะยูน นำเนื้อออกมาแล่เป็นส่วนๆ กระดูกและเขี้ยวแยกไว้ส่วนหนึ่ง ซื้อขายในกิโลกรัมละ 1หมื่นบาท ส่วนเนื้อขายกันในกิโลกรัมละ 150 บาท และนำเนื้อไปปรุงอาหารกระทั้งเกิดความไม่พอใจของชาวบ้านเกาะลิบง และองค์กรอนุรักษ์ในจังหวัดตรังอย่างมาก จนนำสู่การเรียกร้องให้นายธัญญา ออกมาแสดงความรับผิดชอบนั้น ส่งผลให้สังคมเกิดความสนใจอยากที่จะรับรู้เรื่องราวพะยูนที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำทะเลตรังกันเป็นอย่างมาก

จึงส่งผลให้มีความพยายามการเสาะหาแหล่งข้อมูลเรื่องราวของพะยูนเพื่อจะได้เล่าสู่กันฟัง โดยหนึ่งในข้อมูลที่สามารถบอกเล่าความเป็นไปของพะยูนได้จากงานศึกษาวิจัย “กระบวนการสร้างองค์ความรู้ในการอนุรักษ์พะยูนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่งจังหวัดตรัง” โดยณัฐทติา โรจนประศาสน์ ประเสริฐ ทองหนูนุ้ย วิภาวรรณ ตินนังวัฒนะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย งบประมาณแผ่นดินประจําปี พ.ศ. 2555-2556

งานวิจัย ระบุที่มาของพะยูนว่า พะยูนเป็นสัตว์หายากที่พบในหลายประเทศ โดยพื้นที่ที่มีประชากรพะยูนมีมากที่สุดใน โลกคือประเทศออสเตรเลีย ในประเทศไทย มีพะยูนอาศัยอยู่ทั้ง 2 ฝั่งทะเล ก็คือ อ่าวไทย และอันดามัน จากการ สำรวจในปี พ.ศ.2554 ประเมินว่าในน่านน้ำทะเลตรังหวัดตรังมีประชากรพะยูนประมาณ 123 ตัว ปี พ.ศ.2548 พะยูนบริเวณเกาะตะลิบง-เกาะมุกด์ เพิ่มเป็น126 ตัว โดยที่เกาะตะลิบง-เกาะมุกด์ จังหวัด ตรัง เป็นที่แห่งเดียวในน่านน้ำทะเลตรังที่มีประชากรพะยูนมาก พะยูนอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง โดยพะยูนมีอัตราการสืบพันธุ์ต่ำ นอกจากนี้พะยูนมีอัตราการตายสูงโดยเฉพาะพะยูนในตรังมีรายงานว่ามีอัตรา การตายประมาณ 15 ตัวต่อปี การตายของพะยูน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากอวนของชาวประมงพาณิชย์ ในฝั่งอันดามันอวนลากและอวนรุนของชาวประมงพาณิชย์เข้ามาในเขตชายฝั่งได้ทำ ลายแหล่ง หญ้าทะเลและติดพะยูนโดยไม่ได้ตั้งใจ ทั้งนี้พะยูนในจังหวัดตรังลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2548-2555

Advertisement

งานวิจัย ระบุอีกว่า สมัยก่อนกระแสการอนุรักษ์พะยูนยังไม่กว้างขวาง จึงมักมีการล่าหรือฆ่าพะยูนอยู่เสมอ โดย จุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์พะยูนเมื่อมี พ.ร.บ. การประมง ปี พ.ศ. 2490 ที่จัดให้พะยูนเป็นสัตว์คุ้มครอง ที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง ห้ามจับ ดัก ล่อ หรือฆ่าโดยเด็ดขาด ซึ่งการอนุรักษ์พะยูนเข้มข้นขึ้นประมาณ ปี พ.ศ. 2534-2535 เมื่อสมาคมหยาดฝนได้ รณรงค์ให้ชาวบ้านในชุมชนชายฝั่งตระหนักและหวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่น โดยใช้พะยูนเป็ น เครื่องมือในการป้องกันอวนลาก อวนรุน ที่บุกรุกเข้ามาในเขตอนุรักษ์ 3,000 เมตร ทําลายหญ้าทะเล โดยกิจกรรมที่ทาคือนาหลักไม้มาปักไว้รอบแนวหญ้าทะเล นอกจากนี้ยังเป็ นที่ทราบโดยทั่วกันว่าพะยูนเป็ นสัตว์ชนิดหนึ่งในบัญชีสัตว์ป่าสงวน 15 ชนิดของ ประเทศไทย ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

“การอนุรักษ์พะยูนต้องใช้ฐานความรู้ดั้งเดิมสนับสนุนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยที่ชาวประมงมี ความรู้พื้นฐานมาจากประสบการณ์เกี่ยวกับสัตว์น้ำา การประมง และระบบนิเวศ ซึ่งใช้ปรับปรุง ฐานความรู้ในกระบวนการจัดการ นอกจากความรู้นิเวศแบบดั้งเดิมจะสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจในเรื่องการใช้ ทรัพยากร และการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนแล้ว ยังเป็ นการเสริมพลังอํา นาจของคนในการ จัดการชะตากรรมของเขาเอง ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหนึ่งในการพัฒนาด้วย ความรู้ดั้งเดิม มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชุมชน วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมโดยรอบที่ความรู้ถูกผลิตขึ้น แบ่ง ได้เป็น 3 ประเภท คือ 1) ความรู้ทางการแพทย์แบบดั้งเดิม 2) ความรู้ทางการเกษตรแบบดั้งเดิม3) ความรู้ นิเวศแบบดั้งเดิม”

งานวิจัย ระบุอีกว่า ในปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าความรู้นิเวศแบบดั้งเดิมซึ่งมีอิทธิพลต่อสถาบันและ วิธีการจัดการทรัพยากร คือ การปฏิบัติและนิเวศวิทยาที่ดี ดังนั้น ความรู้นิเวศดั้งเดิมจึงมีบทบาทใน การออกแบบการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืนในปัจจุบัน ความรู้ท้องถิ่น เป็นสิ่งสาคัญในการสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ และเสริมพลังอา นาจ ดังที่เป้าหมายหลักของการพัฒนา คือ การเสริมสร้างพลังของคนในการจัดการ ชะตากรรมของตนเอง งานวิจัยในทศวรรษที่ผ่านมาได้เน้นเรื่อง ความรู้นิเวศแบบดั้งเดิมที่จะรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโลก โดยระบบความรู้ทางนิเวศแบบดั้งเดิมสามารถสนับสนุนการใช้และการ จัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ดั งนั้น จึงสนใจที่จะศึกษาถึง กระบวนการสร้างองค์ความรู้ในการอนุรักษ์พะยูนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่งในจังหวัด องค์ความรู้ที่ได้องค์กรชุมชนชายฝั่งนาไปใช้ในการอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเล เพื่อ ความยั่งยืน องค์ความรู้ที่ได้นา ไปพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อถ่ายทอดไปสู่ เยาวชนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างจิตสา นึกในการอนุรักษ์พะยูน

ท้ายสุดของบทคัดย่อระบุเสนอแนะว่าในการอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเลอย่างมีประสิทธิภาพควรใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้านเกี่ยวกับพะยูนและหญ้าทะเลนี้ผสมผสานกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยการแต่งตั้งแกนนํากลุ่มอนุรักษ์ในชุมชนชายฝั่งให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งของภาครัฐ เพราะนอกจากชาวบ้านในชุมชนชายฝั่งจะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการร่วมในด้านการวางแผนและการนาไปปฏิบัติในการอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเลแล้วยังเป็นการเสริมสร้างพลังของชาวบ้านในชุมชนชายฝั่งด้วย

“อีกทั้งการนําหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องพะยูนและหญ้าทะเลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพจาเป็นต้องยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับสภาพบริบทของโรงเรียนชายฝั่งและนักเรียนแต่ละโรงเรียนรวมถึงการสร้างความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษา ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 ภาคเอกชนซึ่งทํา โครงการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ชายฝั่ง รวมถึงมหาวิทยาลัยในพื้นที่ จะทํา ให้การสอนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นรวมถึงการขยายไปยังชุมชนชายฝั่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง”

ล่าสดปี พ.ศ. 2559 ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์นักวิชาการประมงชำนาญการ กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน พร้อมเจ้าหน้าที่และนักบินชาวต่างชาติ นำเครื่องบินเล็กทำการบินสำรวจพะยูนในทะเลตรังเพื่อนับจำนวนประชากรพะยูน และจากการสำรวจประชากรพะยูนเพิ่มขึ้นจากปี 2558 คืออยู่ที่ 150 ตัว โดยพบพะยูนฝูใหญ่จำนวน 3 ฝูง แต่ละฝูงอยู่ที่ประมาณ 10-20 ตัว จนถึงประมาณ 50 ตัว รวมแล้วแต่ละเที่ยวบินพบไม่น้อยกว่า 90 ตัวขึ้นไป และพบเห็นพะยูนคู่แม่ลูกจำนวนกว่า 10 คู่ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี ที่พะยูนมีการเจริญเติบโตของประชากรที่ดีขึ้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image