09.00 INDEX ความเป็นจริง สถานการณ์ น้ำท่วม จากด้าน “รัฐบาล” กับด้าน “ชาวบ้าน”

ถามว่าปัญหาอุทกภัยน้ำไหลหลากและน้ำเอ่อล้นตลิ่งตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมเป็นต้นมาหนักหรือไม่
ต้องฟังจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)
“เกิดน้ำไหลหลากและน้ำเอ่อล้นตลิ่งในพื้นที่ 21 จังหวัด ประชาชนได้รับผลกระทบ 306,050 คน เสียชีวิต 9 ราย”
ก็ต้องถือว่ายังไม่หนัก
ยังไม่หนักหากเทียบกับ 77 จังหวัดทั่วประเทศ ยังไม่หนักหากเทียบกับ 63 ล้านคนของประชากร
แต่ถ้าถามกับ 120,124 ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ
ก็ต้องยอมรับว่า พวกเขา ใน 21 จังหวัด 74 อำเภอ 450 ตำบล 2,637 หมู่บ้านเดือดร้อนอย่างแน่นอน
โดยเฉพาะครอบครัวที่สูญเสีย 9 ชีวิต

เมื่อมี “รายงาน” จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เช่นนี้
เป็นธรรมดาที่ “รัฐมนตรีมหาดไทย” ต้องบอก
“น่าจะคลี่คลายแล้ว การระบายน้ำต่างๆเป็นไปในลักษณะที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่กทม. ทุกอย่างอยู่ในสภาพเรียบร้อย มีบ้างที่ได้รับผลกระทบแต่ไม่กว้างขวางรุนแรงนัก”
กระนั้น หากฟังจาก “กรมชลประทาน” ที่ว่า
“บริเวณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยายังคงสูงขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดน้ำล้นคันกั้นน้ำบริเวณเหนือเขื่อนจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขยายวงกว้างเกินกว่าจะควบคุมได้
“จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณผ่านเขื่อนจาก 2,600 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที เป็น 2,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีในวันที่ 24 ตุลาคม”
นี่จึงเป็น”วินาที”แห่งความระทึก

ประเด็นอันเกี่ยวกับสถานการณ์อุทกภัย น้ำไหลหลากและน้ำเอ่อล้นตลิ่งจึงมองได้ 2 ระลอก
ระลอก 1 คือ สถานการณ์ตอน “น้ำท่วม”
น่ายินดีที่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ยืนยันว่า รัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องเตรียมลงพื้นที่ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
ระลอก 1 คือ สถานการณ์ “หลัง” น้ำท่วม
แม้จะมีการเยียวยา แม้จะมี “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ช่วยบรรเทา แต่ผลกระทบอย่างลึกซึ้งคือผลผลิต
“ผลผลิต” ที่เสียหายคือจุด”ละเอียดอ่อน”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image