โครงการพระราชดำริ ร.9 ’16ถนน 1สะพาน’ แก้ปัญหาจราจรในกรุง

กรุงเทพมหานครŽ เป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด และไร้ทิศทาง ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงเกิดโครงการพระราชดำริแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มากมาย

นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร (กทม.) กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีสายพระเนตรยาวไกล คาดการณ์อีก 10-20 ปีข้างหน้า หากไม่ก่อสร้างถนนเพิ่มเติมอาจทำให้เกิดปัญหาจราจร บั่นทอนคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงมีพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างถนนรวมหลายโครงการ เริ่มตั้งแต่ในปี 2514 มีพระราชดำริแก้ไขปัญหาจราจรโครงการแรก คือ การสร้างถนนวงแหวน และถนนยกระดับ หรือ โครงการถนนรัชดาภิเษกŽ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและตะวันตก โดยไม่ต้องผ่านใจกลางเมือง และมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อพระราชพิธีรัชดาภิเษกเป็นชื่อถนน ถนนรัชดาภิเษกŽ พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปวางศิลาฤกษ์ถนนสายนี้ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2514 โดยใช้เวลาก่อสร้างกว่า 23 ปี จนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2536 ปัจจุบันช่วยเพิ่มความคล่องตัวการสัญจรบนถนนรัชดาภิเษกและแก้ปัญหา คอขวดŽ รวมถึงเป็นโครงการทางแยกชนิด Semi Direction Loop ที่เชื่อมโยงระหว่างถนนวิภาวดีรังสิต-รัชดาภิเษก-กำแพงเพชร 2 โดยที่ไม่ต้องหยุดรอสัญญาณไฟ

ในปี 2534 ทรงมีพระราชดำริให้แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในถนนและบริเวณทางแยกตามแนวถนนลาดพร้าว รัชดาภิเษก พระราม 9 รามคำแหง เทียมร่วมมิตร โครงการก่อสร้างปรับปรุงชุมชนบึงพระราม 9Ž เพื่อเชื่อมถนนประชาอุทิศ ตามแนวซอยโรงเรียนไทย-ญี่ปุ่นกับซอยจำเนียรเสริม โดย กทม.ได้ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 4 ช่องจราจร กว้าง 14 เมตร (ม.) ทางเท้าข้างละ 3 ม. ความยาว 300 ม.และวางท่อระบายน้ำมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ม. รวมถึงมีสะพานข้ามคลองลาดพร้าวและคลองพลับพลาที่สามารถเชื่อมถนนเอกชัย-รามอินทรา จนแล้วเสร็จเมื่อปี 2538 ต่อมาทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้างถนนสายรอง หรือทางลัดเชื่อมระหว่างถนนพระราม 9 กับถนนสายอื่น เพื่อเติมเต็มโครงข่ายถนนให้สมบูรณ์ โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมบริเวณถนนพระราม 9-ถนนเทียมร่วมมิตร ถนนประชาอุทิศและถนนเพชรบุรีตัดใหม่Ž จนเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2537 ทำให้การเดินทางของประชาชนได้รับความสะดวกและลดระยะการเดินทางระหว่างถนนเทียมร่วมมิตรกับพระราม 9 โดยไม่ต้องผ่านแยก อ.ส.ม.ท.

ปี 2536 ด้วยเล็งเห็นถึงการจราจรติดขัดบริเวณสี่แยก อ.ส.ม.ท. จึงมีพระราชดำริให้ดำเนิน โครงการก่อสร้างถนนคู่ขนานถนนพระราม 9Ž จากทางแยกเข้าวัดอุทัยธาราม ถึงบริเวณก่อนขั้นที่ 2 กทม.จึงเริ่มก่อสร้างและขยายทางคู่ขนานที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยสร้างไว้ ช่วงจากทางแยกเข้าวัดอุทัยธาราม ถึงบริเวณก่อนถึงทางด่วนขั้นที่ 2 ความยาว 330 ม. โดยก่อสร้างผิวจราจรเพิ่มอีกหนึ่งช่องจราจรและติดตั้งราวสะพานเหล็กชั่วคราวข้ามคลองบางกะปิ จนแล้วเสร็จในเวลาต่อมา

Advertisement

ในปีเดียวกัน รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงพยาบาลศิริราช เพื่อทรงเยี่ยมพระอาการประชวรสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ทรงทอดพระเนตรสภาพการจราจรติดขัดบริเวณโดยรอบ ด้วยตระหนักถึงผลกระทบของผู้ป่วยที่จะเดินทางไปรักษาตัว พระองค์จึงใช้ช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินศึกษาสภาพพื้นที่อย่างละเอียด และทรงมีพระราชดำริว่าปัญหาจราจรที่ติดขัดนี้ สามารถคลี่คลายด้วยการขยายแนวถนนเลียบทางรถไฟบางกอกน้อยจากช่วงปลายถนนอิสรภาพถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ กทม.จึงขออนุญาตการรถไฟแห่งประเทศ (รฟท.) ใช้ที่ดินก่อสร้าง โครงการสร้างถนนเลียบทางรถไฟสายใต้Ž และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2537 นอกจากนี้ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 5 ล้านบาท ก่อสร้าง โครงการปรับปรุงเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า บริเวณหน้ากรมประชาสัมพันธ์ (เดิม)Ž จากการทอดพระเนตรการจราจรที่คับคั่งบนสะพานพระปิ่นเกล้ามาถึงถนนราชดำเนินกลาง จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ปรับปรุงและจัดระเบียบช่องซ้ายสุด บริเวณลาดสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า หน้ากรมประชาสัมพันธ์ที่มีสภาพคอขวด เพื่อให้รถที่ข้ามสะพานมาแล้วและต้องการมุ่งหน้าไปยังถนนเจ้าฟ้า หรือสนามหลวง สามารถกลับรถได้โดยไม่ต้องรอสัญญาณไฟจราจรที่บริเวณสี่แยก วันที่ 29 ธันวาคม 2536 กทม.จึงเริ่มขยายช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร เพื่อความคล่องตัวจนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2537 บริเวณนี้เมื่อมองภาพจากมุมสูงจะเห็นทางกลับรถมีรูปทรงคล้ายกับ หยดน้ำŽ และถูกเรียกว่า ถนนหยดน้ำŽ นับแต่นั้นมา

ถัดมาในปี 2537 พระองค์ทรงวางแผนแก้ไขปัญหาการจราจร 3 โครงการ โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 3 ล้านบาท ให้ กทม.ก่อสร้าง โครงการสะพานคนเดินข้ามถนนรัชดาภิเษกบริเวณหน้าศาลอาญาŽ จนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2537 โครงการขยายผิวจราจรสะพานผ่านฟ้าลีลาศŽ เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการขยายช่องการจราจรจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า-ถนนราชดำเนินกลาง ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 2 ล้านบาท จัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อขยายช่องจราจรถนนราชดำเนินให้เชื่อมโยงพื้นที่ฝั่งตะวันตกและพื้นที่ด้านเหนือของเกาะรัตนโกสินทร์ รวมถึงอนุรักษ์โครงสร้างสะพานพระ
ปิ่นเกล้า ที่สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2537 ต่อมามีพระราชดำริให้แก้ไขปัญหาการจราจรสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนินนอก ใน โครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนานสะพานมัฆวานรังสรรค์Ž สำนักการโยธา กทม.ได้ประสานกรมศิลปากรพิจารณารูปแบบอย่างรอบคอบ ป้องกันผลกระทบด้านศิลปกรรม โดยก่อสร้างสะพานคู่ขนานเพิ่มอีก 2 สะพานทดแทนการขยายสะพานเดิม และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 2 ล้านบาท

ในปี 2538 ทรงมีพระบรมราโชบายบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จากการจราจรติดขัดจากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าจนถึงทางแยกสิรินธร จึงเกิด โครงการก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีŽ เป็นการสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กและคอนกรีตอัดแรงสูงเหนือผิวจราจรเดิม 12 ม. แบ่งความรับผิดชอบเป็น 2 ส่วน คือ โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี ตอนปิ่นเกล้าทางแยกต่างระดับสิรินธร ยาว 4,515 กม. กทม.รับผิดชอบ และโครงการต่อเนื่องจากทางคู่ขนานลอยฟ้า ตอนทางแยกต่างระดับ
สิรินธร-ทางแยกต่างระดับฉิมพลี ยาว 9.36 กม. กรมทางหลวงรับผิดชอบ พร้อมพระราชทานชื่อ ถนนบรมราชชนนีŽ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า และทรงเปิดทางคู่ขนานลอยฟ้า เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2541
ปีเดียวกัน ทรงมีพระราชดำริให้แก้ไขปัญหาการจราจรคับคั่งบริเวณฝั่งธนบุรี โครงการจตุรทิศ
ตะวันตก-ออกŽ เชื่อมพื้นที่ชานเมืองฝั่งตะวันตกเข้ากับฝั่งตะวันออก โดยเริ่มต้นจากแยกต่างระดับฉิมพลี บริเวณพุทธมณฑลสาย 2 ทางคู่ขนานลอยฟ้าพระบรมราชชนนี ผ่านสะพานพระราม 8 ไปยังถนนราชดำเนินนอก เข้าสู่ถนนศรีอยุธยา ไปสิ้นสุดที่ถนนพระราม 9 เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2538 รัชกาลที่ 9 ทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2539 ส่วนโครงการจตุรทิศตะวันออกเริ่มก่อสร้างในปี 2541 ปี 2539 ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าควรเพิ่มช่องจราจรด้านในบริเวณถนนราชดำเนิน โดยลดขนาดฐานรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยลงประมาณ 1 ม. พร้อมทั้งให้ปรับปรุงผิวจราจรใหม่เพื่อให้การสัญจรสะดวกมากขึ้น กทม.จึงเริ่ม โครงการขยายผิวการจราจร โดยรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยŽ โดยจัดทำแบบให้ทรงทอดพระเนตรก่อนที่จะปรับปรุงแล้วเสร็จวันที่ 15 กันยายน 2538 ทรงชี้แนะควรสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกแห่ง เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายจตุรทิศตะวันออกและตะวันตก ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงลากแนวเส้นทางพระราชดำริด้วยพระองค์เอง และทรงมอบหมายให้ กทม.ศึกษาความเหมาะสมของโครงการ โดยกำชับให้ดำเนินการโดยส่งผลกระทบน้อยที่สุด จนปี 2541 เกิด โครงการก่อสร้างสะพานพระราม 8Ž มีรูปแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ลักษณะตัววาย Y คว่ำ มีความยาว 475 ม. ไม่มีเสาหรือตอม่อกลางแม่น้ำอันเป็นเหตุให้กีดขวางทางน้ำไหล หรือขบวนพยุหยาตราการเดินเรือท่องเที่ยว ส่งผลให้การจราจรด้านกรุงเทพฯชั้นในสามารถคลี่คลายลงได้เสด็จฯเปิดสะพานในวันที่ 7 พฤษภาคม 2545

Advertisement

ขณะที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงประชวรและรักษาพระอาการอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ในปี 2554 ทรงมีพระราชดำริให้ กทม.เข้าเฝ้าฯ พร้อมพระราชทานแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรฝั่งธนบุรี บริเวณย่านศิริราช บ้านช่างหล่อ และย่านอรุณอมรินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าพระบรมราชชนนี และโครงการสะพานพระราม 8 ที่มีการจราจรหนาแน่นมาก เป็น 2 โครงการใหญ่อันดับสุดท้ายที่ทรงมีพระราชดำริ ได้แก่ 1.โครงการที่รับสนองพระราชดำริ คือ งานปรับปรุงโครงข่ายถนนบริเวณริมคลองบางกอกน้อยและบริเวณหน้าสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช และโครงการต่อขยายสะพานอรุณอมรินทร์ พร้อมทางขึ้น-ลง และทางยกระดับข้ามแยกศิริราช และ 2.โครงการที่มีการติดตามตามโครงการพระราชดำริเดิม คือ โครงการก่อสร้างขยายผิวจราจรของถนนสุทธาวาส และสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ และโครงการต่อเชื่อมสะพานพระราม 8 กับถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 เมื่อเสร็จสิ้นทั้ง 4 โครงการ จะทำให้การจราจรเข้า-ออกเมืองด้านตะวันตกดีขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณศิริราชและพื้นที่ใกล้เคียง

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image