สุจิตต์ วงษ์เทศ : เขาพระสุเมรุ ในอินทราภิเษก สัญลักษณ์พระจักรพรรดิราช

พระราชพิธีอินทราภิเษก

พระเมรุมาศ ที่สำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน เริ่มมีครั้งแรกยุคอยุธยา ได้ต้นแบบจากเขาพระสุเมรุในพระราชพิธีอินทราภิเษก สัญลักษณ์พระจักรพรรดิราช

เขาพระสุเมรุเป็นเครื่องไม้จำลองปราสาทนครวัด คราวพระเจ้าปราสาททองทำพิธีอินทราภิเษกแล้วลบศักราช พ.ศ. 2181 (จ.ศ. 1000) ทำตามแบบแผนพระราชพิธีอินทราภิเษกที่มีมาก่อนนั่นเอง เพียงแต่ทำใหญ่โตโอ่อ่ามหึมากว่าเก่า ดังมีบอกในบทสรรเสริญพระเกียรติพระเจ้าปราสาททอง

อินทราภิเษก

อินทราภิเษก คือ พระราชพิธียอยกพระเจ้าแผ่นดินดุจพระอินทร์ ผู้เป็นจักรพรรดิราชแห่งสวรรค์ มีในกฎมณเฑียรบาลยุคต้นอยุธยา (สืบเนื่องคติก่อนยุคอยุธยา)

ทางพุทธศาสนา แนวคิดเรื่องจักรพรรดิราชน่าจะมีแล้วตั้งแต่ยุคพระเจ้าอโศก (ราวหลัง พ.ศ. 200) โดยผสมเข้ากับคติพราหมณ์ฮินดู (ที่มีมาก่อน) อันมีพิธีกรรมยกกษัตริย์เสมือนพระอินทร์ ซึ่งเป็นมหาเทพดั้งเดิม ผู้ยิ่งใหญ่เหนือเทพทั้งหลาย ครั้นสมัยหลังเปลี่ยนกลายตามที่รู้จักดีเป็น พระศิวะ, พระวิษณุ

Advertisement

ความเป็นจักรพรรดิราชของพระอินทร์ มีวิมานที่ประทับเหนือจอมเขาพระสุเมรุ พบในพิธีกรรมนามอื่น เช่น เบญจาพิธ, เล่นการดึกดำบรรพ์ รวมทั้งในตำนานอุดมคติเกี่ยวกับแถนและภูเขาทอง (สัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ), และในพระนามเชื้อวงศ์พระเจ้าแผ่นดินของรัฐลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ อินทราชา, เจ้านครอินทร์ เป็นต้น

โขน ในการแสดงทุกวันนี้ ก็เป็นมรดกตกทอดจากพระราชพิธีอินทราภิเษก สมโภชพระจักรพรรดิ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image