‘อุทัย’เร่งพัฒนา ‘หมุดโลก’ไทย บูมท่องเที่ยว

1 ใน 3 หมุดโลกŽ ในทวีปเอเชีย ตั้งอยู่บนยอดเขาสะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี สร้างขึ้นโดยกรมแผนที่ทหาร ส่วนอีก 2 แห่งอยู่ที่ประเทศอินเดีย และประเทศเวียดนาม

ทั้งนี้ เมื่อปี 2518 องค์การแผนที่ กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ได้ปรับแก้และย้ายศูนย์กำเนิดของพื้นหลักฐานจากเขากะเลียนเปอร์ ประเทศอินเดีย มาเป็นที่เขาสะแกกรัง จ.อุทัยธานี โดยใช้เทคนิคการรังวัดจากดาวเทียมดอปเปลอร์จำนวน 9 สถานี ซึ่งตำแหน่งสัมพัทธ์ที่ได้จากการรังวัดดาวเทียมดอปเปลอร์ มีความถูกต้องสูงกว่าที่ได้จากงานโครงข่ายสามเหลี่ยม เป็นจุดควบคุมโครงข่ายสามเหลี่ยมซึ่งประกอบด้วย จำนวนหมุดสามเหลี่ยมทั้งสิ้น 426 สถานี เรียกผลลัพธ์จากการปรับแก้โครงข่ายสามเหลี่ยมในครั้งนี้ว่า พื้นหลักฐาน Indian1975

องค์ประกอบที่สำคัญ มีดังนี้ จุดศูนย์กำเนิดพื้นหลักฐาน เขาสะแกกรัง (หมุดสามเหลี่ยมหมายเลข 91) ละติจูด 15 องศา 22 ลิปดา 56.0487 ฟิลิปดาเหนือ ลองติจูด 100 องศา 0 ลิปดา 59.1906 ฟิลิปดาตะวันออก มีกำหนดสูง 140.98 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง รูปทรงรี เอเวอร์เรสต์ 1,830 เมตร สร้างขึ้นเมื่อปี 2457 โดยการสกัด เป็นวงกลมลงบนหิน เป็นหมุดแผนที่ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 หลักหมุดของโลกในทวีปเอเชีย โดยจุดที่ 1 จากจุดศูนย์กำเนิด หลักหมุดที่ 90 อยู่ที่เขากะเลียนเปอร์ ประเทศอินเดีย จุดที่ 2 หลักหมุดที่ 91 อยู่ที่เขาสะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี และจุดที่ 3 หลักหมุดที่ 92 อยู่ที่ประเทศเวียดนาม

หมุดโลกŽ ใช้สำหรับคำนวณและแบ่งแนวเขต เพื่อลงพิกัดแผนที่โลก ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญในการสำรวจแผนที่ทางการทหาร มีลักษณะเป็นแท่งคอนกรีตทรงสี่เหลี่ยม เป็นกรอบคร่อมทับจุดของที่ตั้งหมุดแผนที่ สำหรับค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ ที่กรมแผนที่ทหาร ใช้ในการกำหนดตำแหน่ง จึงถือได้ว่าหมุดโลกแห่งนี้มีความสำคัญทั้งด้านประวัติศาตร์และเรื่องการวัดแผนที่โลก

Advertisement

แต่ทว่า หมุดโลกในไทย ที่ตั้งอยู่บนยอดเขาสะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี กลับถูกคนมือบอนขีดเขียนข้อความบริเวณแท่นครอบหมุดโลก จนสกปรกเลอะเทอะ ประจานความไร้จิตสำนึก และสะท้อนถึงการไม่ดูแลเอาใจใส่

นักวิจัยจากสำนักมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการดำเนินงานด้านมาตรวิทยาระหว่างประเทศ และพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ให้ความรู้ว่า หมุดโลกŽดังกล่าวใช้คำนวณเพื่อแบ่งแนวเขตลงพิกัดแผนที่โลก ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญในการสำรวจแผนที่ โดยหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องคือ กรมแผนที่ทหาร

”ส่วนบริเวณแท่นครอบหมุดโลกž ที่มีคนขีดเขียนชื่อตัวเองและข้อความต่างๆ นั้น ไม่มีผลต่อการวัดค่าพิกัดแต่อย่างใด โดยปัจจัยที่จะส่งผลต่อการวัดค่าพิกัดคือเหตุแผ่นดินไหว เพราะการสั่นสะเทือนจะทำให้ไม่มีข้อมูลการให้ค่าพิกัด”Ž นักวิจัยจาก มว.สรุป

Advertisement

ส่วนบริเวณหมุดโลกŽที่อุทัยธานี น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอุทัยธานี พร้อมเจ้าหน้าที่เทศบาล ลงพื้นที่ปรับภูมิทัศน์ด้วยการตัดหญ้า พร้อมทำความสะอาดแท่นหมุดโลก หลังมีกลุ่มวัยรุ่นคึกคะนอง ขึ้นมาขีดเขียนสลักชื่อและสัญลักษณ์ต่างๆ ไว้บนแท่น หมุดโลกŽ ถือเป็นการทำลายทรัพย์สมบัติอันมีค่า ที่ควรจะช่วยกันรักษาไว้ให้ดีที่สุด

ทางเทศบาลเมืองอุทัยธานี เตรียมแผนปรับปรุงพื้นที่และดูแลพัฒนาบริเวณโดยรอบหมุดโลกดังกล่าว เพื่อให้เป็นแหล่งเที่ยวชมประวัติศาสตร์ และชมธรรมชาติ รองรับการเข้าชมของประชาชนและนักท่องเที่ยว ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งเสริมให้ตื่นตัวและตระหนักในการช่วยกันดูแลรักษาสถานที่สำคัญให้คงอยู่ตลอดไป

น.ส.มนัญญาบอกว่า ทางเทศบาลเมืองอุทัยธานีทำแผนประชาพิจารณ์เพื่อให้ประชาชนทราบว่าจะเริ่มพัฒนาหมุดโลก โดยจ้างเขียนแบบ เพราะว่าลำพังเทศบาลอย่างเดียวคงทำไม่ได้ มันจะต้องอนุรักษ์ธรรมชาติด้วย และต้องเข้าอะไรอีกหลายๆ อย่าง เราเลยจะต้องจ้างคนเขียนแบบ ช่วง 2-3 เดือนนี้ จะเริ่มดำเนินการพัฒนา เป็นเส้นทางให้พี่น้องประชาชนเข้าชมหมุดโลกบนเขาสะแกกรังใน จ.อุทัยธานี

อยากให้ผู้ที่มาเที่ยวชมได้สำนึกด้วยว่าการที่เรามาเที่ยวชมอะไรก็แล้วแต่ ไม่จำเป็นต้องฝากสัญลักษณ์อะไรไว้ ยิ่งสลักชื่อไว้เขาก็จะจำชื่อของคุณไว้เลยว่าคุณได้เข้ามาทำลายของที่เป็นส่วนรวม ซึ่งจริงๆ แล้วพื้นที่ หมุดโลกŽ อยู่ในการดูแลของทหาร เมื่อถึงเวลาทหารจะมากางเต็นท์ แล้วทำแผนที่อยู่บริเวณนี้ด้วย

”ทางเทศบาลไม่ได้ปล่อยปละละเลย เพราะหากปล่อยปละละเลยคงจะมีการกระทำมากกว่านี้ เรามีการทำความสะอาดตลอดอยู่แล้ว โดย 1-2 เดือนจะขึ้นมาดูสักครั้ง แต่การกระทำแบบนี้มันขึ้นอยู่กับสามัญสำนึกของประชาชน หรือวัยรุ่นต่างๆ ที่เข้ามาสลักชื่อเอาไว้ ถ้าหากเราร่วมมือร่วมใจกัน และมีสำนึก เรามาชมมาดูเฉยๆ มันก็จะเป็นสิ่งที่สวยงามควบคู่กับเขาสะแกกรังตลอดไปŽ” น.ส.มนัญญาสรุป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image