อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิฯ เดินหน้ากลยุทธ์ แผน 2 ปี หลังรัฐบาลประกาศ “สิทธิมนุษยชน”เป็นวาระแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติะรรม กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เรื่อง“สิทธิมนุษยชน ร่วมขับเคลื่อน Thailand 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ให้ประกาศ เป็นวาระแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว หลังจากกระทรวงยุติธรรม นำเสนอเรื่องดังกล่าว ว่า สำหรับความจำเป็นในการประกาศให้เรื่อง สิทธิมนุษยนเป็นวาระแห่งชาตินั้น มีด้วยกันหลายเหตุผล อาทิ เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาครัฐ เห็นความสําคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เป็นการเพิ่มศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของการดำเนินงานแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2557 – 2561) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 เพื่อให้สอดรับกับรายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ซึ่งมีข้อเสนอแนะให้ผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ ให้เป็นนโยบายเร่งด่วนที่ทุกหน่วยงานจะต้องให้ความสําคัญ เพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปด้วยความก้าวหน้า และมุ่งไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

นางสาวปิติกาญจน์ กล่าวว่า ส่วนสาระสำคัญทิศทางวาระแห่งชาติ มีหลักการหรือคอนเซ็ป ดังนี้ “ถอดรหัสวาระแห่งชาติ 4+3+2+1 = Goal กุญแจสู่สังคมสันติสุข” โดยมีเป้าหมาย ต้องการทำให้ “สังคมไทยเป็นสังคมที่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน โดยคํานึงถึงศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อนําไปสู่สังคมสันติสุข” มี กรอบระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2562 สำหรับทิศทางหรือกลยุทธ์และกลวิธีที่สําคัญ คือ 4+3+2+1 = Goal หมายถึง 4 : สร้าง คือ 1 .สร้างความตระหนัก จิตสํานึก สิทธิ หน้าที่ และการเคารพสิทธิผู้อื่น 2. สร้างระบบการติดตาม เฝ้าระวังการละเมิดสิทธิด้วยพลังเครือข่าย เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ทันท่วงที 3 .สร้างวัฒนธรรมแห่งการเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกัน และ 4 .สร้างเสริมการพัฒนาเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีศักยภาพในการทํางานด้านสิทธิมนุษยชน

นางสาวปิติกาญจน์ กล่าวอีกว่า สำหรับ 3 : ปรับปรุง นั้นคือ 1.ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลแสดงผลงานและสถานการณ์ การละเมิดสิทธิที่เป็นรูปธรรม ครอบคลุมระดับพื้นที่จังหวัด เพื่อมุ่งไปแก้ไขปัญหาการละเมิด 2.ปรับทัศนคติ ของเจ้าหน้าที่รัฐ ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่เป็นเรื่องตรวจสอบ แต่เป็นสิ่งดี ๆ ที่จะสนับสนุนการทํางานและ สร้างสังคมสงบสุข และ3.ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่ยังละเมิดเสนอรัฐบาลพิจารณาแก้ไข ทั้งนี้ ในส่วนของการขับเคลื่อน 2 อย่างนั้น ประกอบด้วย 1 .ขับเคลื่อนองค์กรหรือจังหวัดต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน สําหรับ ใช้ถอดบทเรียนการทํางานให้หน่วยงานอื่นขยายผลต่อยอด และ 2. ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สู่การปฏิบัติในมิติเสริมสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนกํารดําเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน และอีก1 ลด คือ ลดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแต่ละปีอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม

นางสาวปิติกาญจน์ กล่าวด้วยว่า สำหรับผลดีและผลกระทบในประเด็นดังกล่าว โดยผลดีหากมีการประกาศวาระแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชนนั้นในระดับประชาชน ประชาชนได้รับรู้และตระหนักในสิทธิ หน้าที่ ไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่น ทําให้สังคมมีความมั่นคง และมีความสุข อยู่กันอย่างสันติสุข ส่วนระดับสังคม หน่วยงานต่างๆ เห็นความสําคัญของการนำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไปสู่การปฏิบัติ และเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในด้านสิทธิมนุษยชน และร่วมมือกันป้องกัน คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทําให้สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนมีแนวโน้มลดลง สร้างวัฒนธรรมให้คนคํานึงถึงสิทธิมนุษยชน เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและเกี่ยวพันกับทุกภาคส่วน เพียงแต่นํามิติด้านสิทธิมนุษยชนมาเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทํางานให้ดียิ่งขึ้น และระดับประเทศนั้นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยพัฒนา ก้าวหน้า ทัดเทียมระดับสากล ตลอดจนประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีในด้านสิทธิมนุษยชนและได้รับการยอมรับ จากนานาประเทศ

Advertisement

“ทั้งนี้สำหรับผลกระทบหากไม่ได้มีการดำเนินงานในเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังนั้น สถานการณ์ในประเทศ ทําให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจมีแนวโน้ม และอาจทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม สุดท้ายจะส่งผลกระทบถึงความ มั่นคงและความสุขในชีวิตของประชาชน และในระหว่างประเทศ ส่งผลกระทบทางด้านภาพลักษณ์ของประเทศไทย การต่อรองหรือ การถูกกีดกันทํางด้านเศรษฐกิจ การค้า และทางการเมืองระหว่างประเทศ รวมถึงส่งผลกระทบต่อเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)”

นางสาวปิติกาญจน์ กล่าวด้วยว่า แนวทางหลังจากนี้ว่า กระทรวงยุติธรรมจะจัดทําแผนปฏิบัติกํารขับเคลื่อนวําระแห่งชาติฯ ในกรอบระยะเวลา 2 ปี (พ.ศ.2561-2562) เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายวาระชาติ ซึ่งมีการเตรียมการในกลยุทธ์ต่างๆเบื้องต้น ได้แก่ 4 สร้าง 1. สร้างจิตสํานึกให้รู้จักเคํารพสิทธิมนุษยชน และสิทธิผู้อื่น เช่น สร้าง เยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจเคํารพสิทธิ เกมการ์ดพลังสิทธิ เป็นต้น 2. สร้างระบบติดตามการ เฝ้าระวังการละเมิดสิทธิ เช่น การ ติดตามและช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านกลไก กพยจ. เป็นต้น ตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชน ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งจะพัฒนําเป็นศูนย์ในระดับกระทรวงต่อไป สําหรับในระดับพื้นที่จะมีการ 3. สร้างวัฒนธรรมเคารพสิทธิของผู้อื่นทุกเรื่อง เช่น ส่งเสริมภําคธุรกิจให้มีกํารปลูกฝังเรื่องกํารเคํารพสิทธิเป็น ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมขององค์กร เป็นต้น 4. สร้างเครือข่ายดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชน เช่น การทํางานร่วมกับเครือข่ายสิทธิมนุษยชนภาคส่วนต่างๆ อาทิ ใน ด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ได้ร่วมกับมูลนิธิมนุษยะ Global Compact Network Thailand และรัฐวิสาหกิจ ในการจัดทําร่างแผนปฏิบัติกํารธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เป็นต้นโดยใช้ระบบ

“3 ปรับ 1. ปรับปรุงฐานข้อมูล เช่น กํารจัดเก็บข้อมูลสําหรับการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน การพัฒนําเชื่อมโยง ระบบฐานข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ หน่วยงานในสังกัดกระทรวง คอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูลให้เชื่อมโยงกัน 2. ปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสม เช่น ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต, ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองพยาน, ร่าง พ.ร.บ.คนหาย 3. ปรับทัศนคติเจ้าหน้ําที่ของรัฐในเรื่องสิทธิมนุษยชน เช่น กํารเตรียมควํามพร้อมเจ้าหน้าที่ในสามจังหวัด ชายแดนใต้ผ่านการอบรม การสร้างความรู้ความเข้าใจในทิศทางวาระแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชนผ่านเวทีการ จัดทําแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชําติ 2 ขับเคลื่อน คือ 1. ขับเคลื่อนองค์กรหรือจังหวัดต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน เช่น การสร้างความร่วมมือกับกรุงเทพมหานครใน การพัฒนําเขตพื้นที่บํางขุนเทียนเป็นเมืองสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงสิทธิใน ด้านต่างๆ ตลอดจนพัฒนําเป็นเขตที่มีความปลอดภัย น่าอยู่ และประชําชนมีความเป็นอยู่ท่ีดีข้ึน ซึ่งจะช่วย สนับสนุนให้เป็นเมืองท่องเที่ยวต่อไป 2. ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชําติสู่การปฏิบัติ โดยแผนสิทธิมนุษยชนเป็นตัวขับเคลื่อนวําระแห่งชาติ”อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิกล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image