คอลัมน์ ฟิสิกส์ธรรมดาสาระมันส์ : มังกรบุกอวกาศ

ประเทศจีนเป็นประเทศมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานหลายพันปี และอาจจะก้าวเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกอวกาศรายสำคัญที่โลกต้องจับตามอง เรามาดูกันดีกว่าว่าที่ผ่านมาประเทศจีนเคยสำรวจอวกาศในแง่มุมไหนไปแล้วบ้าง

1956 ประเทศจีนยังเต็มไปด้วยปัญหาคามยากจน แต่ในปีนั้นจีนมีการเปิดสถาบันวิจัยด้านจรวดและขีปนาวุธเป็นครั้งแรก ภายใต้การผลักดันของ เฉียน ชุยเซิน (Qian Xuesen) ผู้ที่ในเวลาต่อมาได้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งโครงการอวกาศจีน

1957 รัฐบาลจีนเริ่มต้นภารกิจ 581 ซึ่งเป็นภารกิจการสร้างและส่งดาวเทียม ต่อมาในปี ค.ศ.1960 ประเทศจีนพัฒนาจรวดโดยมีนักวิทยาศาสตร์รัสเซียคอยช่วยเหลือ จรวดลำแรกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของจรวดรุ่นอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย โดยทั้งหมดถูกเรียกว่า long march (การเดินทัพทางไกล)

Advertisement

1964 หนูทดลอง 8 ตัว และ 12 ตัวอย่างชีวภาพ

ถูกส่งไปกับจรวด T-7A-S rocket ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่ความสูง 70 กิโลเมตร

1968 ศูนย์การแพทย์และวิศวกรรมอวกาศ (Institute for medical and space engineering) ถูกก่อตั้งขึ้นที่กรุงปักกิ่ง มีหน้าที่ในการดำเนินการวิจัยเพื่อส่งมนุษย์ไปยังอวกาศให้ได้

Advertisement

1970 ในวันที่ 24 เมษายน ประเทศจีนได้ส่งดาวเทียมชื่อ Dongfanghong I ขึ้นสูวงโคจรด้วยจรวดลองมาร์ช (Long March) ได้สำเร็จ แม้ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกด้วยระยะเวลาเพียง 20 วัน แต่ในขณะนั้นจีนกลายเป็นประเทศที่ 5 ที่ผลิตดาวเทียมได้เองและส่งดาวเทียมได้เอง (รองจาก สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น)

1984 ประเทศจีนเปิดฐานปล่อยดาวเทียมแห่งใหม่ในเมืองซีชาง (Xichang Satellite Launch Center หรือ XSLC) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวน ซึ่งกลายเป็นฐานสำคัญของภารกิจอวกาศจีนในเวลาต่อมา

1988 มีการเปิดฐานปล่อยดาวเทียมอีกแห่งที่เมืองไท่หยวน (Taiyuan Satellite Launch Center หรือ TSLC) เมืองหลวงของมณฑลซานซี ทางตอนเหนือของจีน เป็นบริเวณที่อากาศแห้งเหมาะแก่การปล่อยจรวดมาก

1992 รัฐบาลจีนก่อตั้งโปรเจ็กต์หมายเลข 921 ซึ่งต่อมาตั้งชื่อว่า เฉินโจว (Shenzhou) มีความหมายว่า “เรือศักดิ์สิทธิ์”Ž เพื่อการส่งมนุษย์ออกสู่อวกาศ

1994 จีนส่งจรวดลองมาร์ช 2D ขึ้นสู่อวกาศพร้อมกับสัตว์ทดลองตัวเล็กๆ ต่อมาในปี ค.ศ.1995 โครงการสำรวจอวกาศของจีนต้องชะงักเมื่อจรวดลองมาร์ช CZ-2E เกิดระเบิดระหว่างการปล่อยที่ฐานปล่อยที่เมืองซีชาง ทำให้เจ้าหน้าที่อย่างน้อย 6 คนเสียชีวิต ต่อมาในปี ค.ศ.1996  ประเทศจีนลงนามในข้อตกลงเพื่อนำเทคโนโลยีอวกาศของรัสเซียมาใช้งาน

1997  Wu Jie (หวูเจี๋ย) และ Li Qinglong (หลี่ชิ่งหลง) ได้จบการฝึกฝนที่ศูนย์การฝึกนักบินอวกาศ Yuri Gagarin Cosmonaut Training Center (GCTC) ในประเทศรัสเซีย และได้รับการรับรองให้เป็นผู้ฝึกสอนนักบินอวกาศ นอกจากนี้จีนยังเปิดศูนย์ควบคุมภารกิจอวกาศในกรุงปักกิ่งด้วย

1999 วันที่ 20 พฤศจิกายน ยานอวกาศเฉินโจว (Shenzhou spacecraft) ลำแรกถูกปล่อยออกไปด้วยจรวด CZ-2F พร้อมกับตัวอย่างทดลองทางชีววิทยาหลายกิโลกรัม และกลับมายังโลกหลังจากโคจรรอบโลกทั้งหมด 14 รอบ ต่อมาในปี ค.ศ.2000 โครงการเฉินโจวได้เปิดตัวสู่สู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกที่ฮ่องกง

2002 วันที่ 25 มีนาคมซึ่งในตอนนั้นเป็นสมัยของประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน (Jiang Zemin) ยานอวกาศเฉินโจว 3 ถูกส่งออกนอกโลกและกลับมายังโลกในวันที่ 1 เมษายน หลังจากโคจรรอบโลก 108 รอบ เพื่อทดสอบระบบการส่งมนุษย์อวกาศ หลังจากนั้นไม่นาน จีนก็ประกาศแผนการทำสถานีอวกาศ และในปลายปีนั้นเองยานอวกาศเฉินโจว 4 ก็ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศพร้อมระบบทดสอบการอยู่ของมนุษย์อวกาศอีกครั้ง แล้วกลับมายังโลกภายในเวลา 6 วัน

หยาง ลี่เหว่ย

2003 ในวันที่ 15 ตุลาคม มนุษย์ ชาวจีนŽ หยางลี่เหว่ย (Yang Liwei) ถูกส่งออกไปยังอวกาศครั้งแรกด้วยยานอวกาศเฉินโจว 5 และกลับมายังโลกภายใน 21 ชั่วโมง หลังจากโคจรรอบโลก 14 รอบ จีนกลายเป็นประเทศที่สามที่สามารถส่งมนุษย์ออกไปยังอวกาศด้วยจรวดของตนเองได้สำเร็จ

2004 หวังหย่งจี้ (Wang Yongzhi) หัวหน้าทีมออกแบบโครงการอวกาศของจีน ประกาศว่า ประเทศจีนได้ตั้งเป้าจะสร้างสถานีอวกาศที่มีมนุษย์ประจำการให้สำเร็จภายในระยะเวลา 15 ปี

2005 วันที่ 12 ตุลาคม ยานอวกาศเฉินโจว 6 ได้ถูกปล่อยออกสู่อวกาศเป็นเวลา 5 วัน พร้อมกับนักบินอวกาศจีนอีก 2 คน ชื่อเฟ่ยจุ้นหลง (FeiJunlong) และเนี่ยไห่เชิ่ง (NieHaisheng)


อ้างอิง

https://www.newscientist.com/article/dn8144-timeline-chinas-spaceflight-history/

https://books.google.co.th/books?id=PnsjAwAAQBAJ&printsec=frontcover&hl=th#v=onepage&q&f=false

https://books.google.co.th/books?id=PDm0DAAAQBAJ&pg=PA530&lpg=PA530&dq=Mission+581+china&source=bl&ots=A_MfXJmh68&sig=ylxtd45C4Xi3K6lAB_Gn4OP0O50&hl=th&sa=X&ved=0ahUKEwjvrZ-V7PXXAhXDu48KHQYtBDEQ6AEIKzAB#v=onepage&q=Mission%20581%20china&f=false

(ขอบคุณ ภาณี ภัททิยไพบูลย์ สำหรับความช่วยเหลือด้านข้อมูลและการแปล)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image