‘อดุลย์ แสงสิงแก้ว’ ปรับระบบบริหารองค์กร ยกระดับชีวิตผู้ใช้แรงงาน

แฟ้มภาพ

หมายเหตุ – 1 เดือนเศษ ที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว หรือ บิ๊กอู๋Ž เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งถือเป็น 1 ในกระทรวงที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคม เนื่องจากเกี่ยวข้องทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว แต่ยังมีปมปัญหาที่ต้องแก้ไขอยู่หลายประเด็นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มีแผนใช้แรงงานขับเคลื่อนประเทศ ในยุคไทยแลนด์ 4.0 นับจากบรรทัดนี้ บิ๊กอู๋มีคำตอบ

ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรราว 67 ล้านคน มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 56 ล้านคน เป็นวัยแรงงานราว 37 ล้านคน ในจำนวนนี้มีงานทำ 36 ล้านคน และมีคนว่างงานเพียง 4 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 1 ซึ่งถือว่าน้อยมาก และนับเป็นสถานการณ์ที่ดี ส่วนผู้สูงอายุมี 10 ล้านคน และในอนาคตมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก ขณะที่จำนวนแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า กัมพูชา และลาว มีรวม 3 ล้านคน จากตัวเลขดังกล่าว จึงได้วางนโยบายว่าในปีงบประมาณ 2561 คือ 11+4+6 ที่ประกอบด้วย นโยบายเร่งด่วน (Agenda Based) นโยบายระดับพื้นที่ (Area Based) และนโยบายเชิงบริหารพัฒนา (Adminitration Based)

0เร่งด่วน 11 ข้อ แก้โจทย์แรงงาน-ประเด็นร้อน

สำหรับนโยบายเร่งด่วนต้องเร่งรัดงานให้สำเร็จภายใน 3-6 เดือน และให้เกิดผลเร็วที่สุดตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย 11 ข้อ ได้แก่ 1.เร่งรัดการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ได้รับการผ่อนผัน ให้มีเอกสารยืนยันตัวบุคคลให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เป้าหมาย 1.1 ล้านคน เป็นนโยบายสำคัญมากของรัฐบาล 2.ผลักดันและเร่งรัดการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ด้านแรงงาน โดยแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมายด้านแรงงานตามไอยูยู ฟิชชิ่ง (IUU Fishing) ป้องกันไม่ให้ใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย และลดอันดับสถานการณ์ค้ามนุษย์ หรือเทียร์ (Tier 2) ให้ได้

Advertisement

3.แก้ไขปัญหาการหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศและบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันแรงงานไทยลักลอบเดินทางไปทำงานอย่างผิดกฎหมาย ปัจจุบันมีแรงงานทำงานต่างประเทศราว 4 แสนคน พบบางส่วนยังเป็นแรงงานผิดกฎหมาย จำเป็นต้องผลักดันให้ถูกกฎหมาย เพื่อให้ทุกคนได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลไทย 4.ส่งเสริมนายจ้างหรือสถานประกอบการ รับคนพิการเข้าทำงานในรูปแบบประชารัฐตามกฎหมายกำหนด ในอัตราส่วน 100:1 ขณะนี้มีผู้พิการ 1.8 ล้านคน โดยผลสำรวจชี้ว่า ผู้พิการเหมาะสมกับงานหลายประเภท เพราะมีสมาธิสูงกว่าคนทั่วไป อาทิ งานรับโทรศัพท์ งานใช้เทคโนโลยี ฯลฯ จำเป็นต้องพัฒนาระบบให้มีความพร้อม เพื่อป้อนผู้พิการเข้าระบบแรงงานให้ได้

5.เร่งรัดให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง เพื่อส่งเสริมให้จ้างงานผู้สูงอายุมากขึ้น สอดคล้องกับจำนวนผู้สูงอายุในไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้ขณะนี้มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าด้วยการจ้างงาน การออมและเข้าถึงสินเชื่อของผู้สูงอายุ ส่วนเรื่องค่าตอบแทนอยู่ระหว่างการแก้กฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินเป็นรายชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องทำงานยาวนาน 8 ชั่วโมง เหล่านี้ต้องทำต่อไป อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ผู้สูงอายุบ้านเรามีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุขัยเฉลี่ย 80 ปี โดยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ระบุว่าผู้สูงอายุที่ทำงานหลังเกษียณอายุ จะมีอายุขัยเฉลี่ยสูงกว่าผู้สูงอายุว่างงาน

6.ขับเคลื่อนนโยบายเซฟตี้ ไทยแลนด์ (Safety Thailand) ให้แรงงานเข้าระบบอย่างมีมาตรฐานและปลอดภัย ด้วยการตรวจและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง 7.ผลักดันให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงระบบหลักประกันทางสังคม เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น รักษาพยาบาล สงเคราะห์บุตร คลอดบุตร เสียชีวิต ทุพพลภาพ เป็นต้น ขณะนี้มีแรงงานในระบบประกันสังคม รวม 12 ล้านคน แรงงานนอกระบบอีก 22 ล้านคน และในจำนวนนี้สมัครใจเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จำนวน 2.5 ล้านคน ดังนั้น จำเป็นต้องผลักดันแรงงานนอกระบบที่เหลืออีก 19 ล้านคน เข้าระบบให้ได้ เพื่อรับสวัสดิการและความคุ้มครองจากรัฐ ในอนาคตเตรียมหารือถึงแนวทางบริหารจัดการเงินสมทบให้มีประโยชน์มากขึ้นต่อประชาชน โดยมีคณะกรรมการบริหารอย่างมืออาชีพ ทำงานอย่างโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงการเบิกจ่ายที่รวดเร็ว

Advertisement

โดยหลักคือ กองทุนประกันสังคมจะต้องพัฒนาหรือลงทุนให้มีดอกผล แต่ต้องปลอดภัยและสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ ผู้ประกันตนจะต้องได้สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม มีระบบบริหารจัดการที่ตอบสนองและรวดเร็วŽ พล.ต.อ.อดุลย์กล่าว

8.ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานเพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรม และโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เช่น ด้านเทคโนโลยี ด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ จำเป็นต้องบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน จนถึงกระทรวงไอซีที
โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการนั้น ต้องปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการตลาดแรงงาน ไม่ใช่เน้นเรียนกฎหมาย สังคมวิทยา หรือหลักทฤษฎีมากไป ที่ผ่านมา มีความรู้ จบปริญญาจริง แต่ว่างงาน เพราะเรียนแต่ทฤษฎี ไม่มีความรู้ด้านภาคสนาม ขณะเดียวกันต้องพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้ลูกจ้างเน้นเทรนนิ่ง ทำงานเพิ่มเทคนิคและทักษะฝีมือ สร้างอุดมการณ์ให้แรงงานรู้จักรักและทุ่มเทให้บริษัท ยกตัวอย่าง บริษัทในประเทศญี่ปุ่นที่มีกระบวนการสร้างและพัฒนาแรงงานได้อย่างน่าสนใจ เป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมให้แก่โรงงานในไทยได้Ž พล.ต.อ.อดุลย์กล่าว

9.เพิ่มขีดความสามารถของแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศให้มีสมรรถนะสูง ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานต่างประเทศ ส่วนนี้จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวของแรงงานก่อนเดินทาง ต้องจัดการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับด้านกฎหมาย วิธีปฏิบัติตัว ภาษาทางเทคนิค รวมถึงการบริหารทางการเงิน เพื่อให้แรงงานประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต เช่น การวางแผนมีครอบครัว การออมเงิน ฯลฯ เพราะบางครั้งเมื่อไปทำงานก็ไม่มีเหลือเก็บ เนื่องจากใช้เงินไปกับการเที่ยวเตร่ ติดพนัน และติดสุรามาก ส่วนนี้จึงต้องลงมือทำอย่างจริงจัง ส่วนหนึ่งจะช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับไทย และแรงงานสามารถบริหารเงินกลับมายังไทยได้
10.ผลักดันการสร้างหลักประกันทางสังคมที่เป็นธรรมและเท่าเทียมให้สามารถคุ้มครองแรงงานได้อย่างทั่วถึง โดยการเพิ่มและปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทุกกรณี เพื่อผลักดันแรงงานไทยให้มีประสิทธิภาพ และ 11.ยกระดับโทรศัพท์สายด่วน 1506 ให้สามารถเป็นเครือข่ายหลักและเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์สายด่วนอื่นของกระทรวงแรงงานได้ทั่วประเทศ เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นศูนย์ที่รับคำร้องและตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยนโยบายเร่งด่วนจะเห็นผลในไม่นานนี้ และปัจจุบัน ได้ติดตามและประเมินผลอย่างเข้มข้นในทุกวัน

0สร้างเอกภาพหน่วยงานในสังกัด

ต่อมา นโยบายระดับพื้นที่ เป็นการผลักดันให้กลไกเกิดความเข้มแข็ง ให้นโยบายเห็นผลเป็นรูปธรรม เดิมกระทรวงแรงงานไม่ได้ทำงานเชื่อมประสานกัน แม้ผังกระทรวงจะถูกออกแบบให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นเอกภาพ ได้แก่ 1.ให้แรงงานจังหวัดเป็นตัวแทนของกระทรวงในภูมิภาค ในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงระดับพื้นที่ให้เกิดเอกภาพ
ย้อนกลับมาที่กระทรวงแรงงานทุกวันนี้ ผมเองพยายามนั่งหัวโต๊ะทำงานทุกวัน โดยมีปลัดกระทรวง และอธิบดีทุกกรม ทำงานเชื่อมประสานกัน ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงทีŽ พล.ต.อ.อดุลย์กล่าว และว่า 2.ให้แรงงานจังหวัดเป็นเจ้าภาพบูรณาการทำงานกับหน่วยงานสังกัดกระทรวง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งแก้ปัญหาแรงงานให้สัมฤทธิผล 3.จัดทำแผนปฏิบัติการรายงานจังหวัด (Action Plan) ให้แรงงานจังหวัดเป็นหัวหน้าทีมและเจ้าภาพหลัก และ 4.ให้สำนักงานแรงงานจังหวัดเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านแรงงาน หรือบิ๊กดาต้า (Provincial Big Data)

0ปรับปรุงระบบ-เพิ่มสวัสดิการ ขรก.

ส่วนนโยบายเชิงบริหาร ได้แก่ 1.ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงแรงงาน ที่ตั้งอยู่บริเวณชั้น 5 กระทรวงแรงงาน ให้เป็นเครื่องมือที่พร้อมในการบริหาร ติดตาม เฝ้าระวัง อำนวยการ ขับเคลื่อน ประเมินผล และควบคุมการแก้ไขปัญหาแรงงานให้ทันต่อสถานการณ์ เพราะหากไม่มีศูนย์อาจติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับแรงงานทั่วโลกไม่ทัน เนื่องจากปัจจุบันแรงงานกระจัดกระจายไปยังประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก อาทิ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี อิสราเอล บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ ขณะที่สื่อสารมวลชนวันนี้มีข่าวสารไหลสู่ประชาชนเร็วกว่ารัฐไปมาก ข่าวออกเป็นนาที ดังนั้น องค์กรภายในต้องมีระบบติดตามข่าวสาร ระบบเฝ้าระวังทีวี 18 ช่อง ศูนย์รวบรวมข่าวสารจากโซเชียลมีเดีย ระบบประชุมทางไกล ฐานข้อมูลรวบรวมทั้งหมด โดยต้องแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ ในช่วงเช้าของทุกวัน จากนั้นใช้เวลา 1 ชั่วโมง ส่งต่อข้อมูลสู่การจัดทำนโยบายให้สอดคล้องต่อไป

2.พัฒนาบุคลากรให้มีขีดสมรรถนะ มีความเชี่ยวชาญ มีบุคลิกภาพที่ดี และมีภาวะผู้นำตั้งแต่ระดับสูง กลาง และต้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง พร้อมฝึกฝนให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผ่านโครงการพัฒนาผู้นำที่จะเริ่มขึ้นในเดือนมกราคมนี้

3.เพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติ ด้วยการจัดระบบข้อมูลและฐานข้อมูลธนาคารแรงงานให้สามารถเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน 4.เร่งรัดการออกกฎหมายสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงาน จำนวน 11 ฉบับ คือ การแก้ปัญหาไอยูยู ฟิชชิ่ง 3 ฉบับ และกฎหมายอื่นรวม 8 ฉบับ เช่น กฎหมายบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าว กฎหมายส่งเสริมการมีงานทำแห่งชาติ กฎหมายการคืนสิทธิแก่ผู้ประกันตน มาตรา 39 กฎหมายเงินทดแทน ฯลฯ 5.ยกระดับกระทรวงแรงงานให้เป็นมาตรฐานระดับสากล นำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้บริการประชาชน และ 6.จัดสวัสดิการสำหรับบุคลากรเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ เช่น ที่อยู่อาศัยและบ้านพักข้าราชการ ซึ่งเตรียมเช่าอาคารแฟลตดินแดงให้แก่ข้าราชการกระทรวงแรงงาน ให้เชื่อมโยงกับสถานที่ออกกำลังกายของศูนย์เยาวชน กทม.ไทย-ญี่ปุ่น (ดินแดง) อย่างครบวงจร ฯลฯ
โดยนโยบาย 11+4+6 เหล่านี้จะเดินหน้าไปพร้อมกัน

0ไม่ยืดเวลาพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวอีก

นอกจากนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ได้กล่าวถึงแนวทางบริหารจัดการการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าว ที่เป็นปัญหาคาราคาซังจนบัดนี้ว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ใช้มาตรา 44 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขยายเวลาการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวอีก 6 เดือน หรือวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ยอดจัดระบบแรงงานต่างด้าวทั้ง 3 สัญชาติ จำนวน 2 ล้านคน ปัจจุบันพิสูจน์สัญชาติได้ 1 ล้านคน เหลืออีก 9 แสนคน โดยกลุ่มแรงงานประมงและแปรรูปสัตว์น้ำ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 กลุ่มบัตรสีชมพูหมดอายุ วันที่ 31 มีนาคม 2561 จากการวิเคราะห์อัตราคนที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ ต้องยอมรับว่าไม่สามารถทำได้ทัน เพราะที่ผ่านมา ระบบให้บริการยังค่อนข้างช้า ใช้เวลามากถึง 13-16 ชั่วโมงต่อคน หลังจากมีคำสั่งขยายเวลา ภายในระยะเวลาที่เหลือนี้ กระทรวงแรงงานจะเร่งแก้ปัญหาความล่าช้าของระบบให้ได้

เบื้องต้นได้แต่งตั้งแรงงานจังหวัดนั่งหัวโต๊ะตามจุดศูนย์พิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้เชื่อมโยงหน่วยงานทั้งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) จัดหางานจังหวัด และเจ้าหน้าที่จากประเทศต้นทาง ให้จัดระบบคิวให้ได้และมีระบบคิวที่เที่ยงตรง อีกทั้งยังได้ย้ายศูนย์พิสูจน์สัญชาติพม่า ที่ อ.เทพารักษ์ จ.สมุทรปราการ ไปอยู่ที่ศูนย์การค้าอิมพีเรียลสำโรง ที่มีพื้นที่กว้างขวางและสะดวกสบายขึ้น คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์ระบบจะดีขึ้น ตั้งเป้าว่าลดการให้ใช้เวลารอคิวเหลือ 6-8 ชั่วโมง หรืออย่างน้อยให้เสร็จภายในวันเดียว

ขณะเดียวกัน ได้ร่วมหารือกับสถานทูตของทั้ง 3 สัญชาติ เบื้องต้นได้รับรายงานว่าจะส่งกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องมือมาเพิ่มเติมให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในช่วงเวลา 6 เดือน อยากให้นายจ้างและแรงงานต่างด้าวดำเนินการให้ถูกต้อง ระหว่างนี้ยืนยันว่าแรงงานต่างด้าวทุกคนจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายไทย จะไม่มีการจับกุมจนกว่ากระบวนการพิสูจน์สัญชาติจะแล้วเสร็จ ดังนั้น ขอความร่วมมือกับนายจ้างพาแรงงานต่างด้าวไปทำตามกฎหมายกำหนด โดยทุกอย่างจะไม่มีการหักค่านายหน้า หรือค่าหัวคิวใดๆ ทั้งสิ้นŽ พล.ต.อ.อดุลย์กล่าว

0แมชชิ่งคนจบใหม่กับงาน

ส่วนเรื่องการทำให้คนที่จบใหม่ได้งานที่ตรงสายที่เรียนมานั้น ส่วนนี้ต้องบูรณาการร่วมกันหลายส่วน โดยนำเอาตลาดแรงงาน ความต้องการของนายจ้างเป็นตัวตั้ง จากนั้นมาวางแผนในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า ว่าจะพัฒนาคนไปสู่ตลาดแรงงานอย่างไร ส่วนคนไม่มีงานทำก็จะต้องจับคู่ให้ได้ทำงานอย่างรวดเร็ว ที่สามารถทำได้ คือ เปิดแนะนำอาชีพ พัฒนาทักษะอาชีพและฝีมือแรงงาน ซึ่งวันนี้ต้องวางรากฐานการศึกษา จะหารือกับกระทรวงศึกษาธิการว่าในระยะ 5-10 ปี จะวางแผนอนาคตของชาติอย่างไร เพราะสถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ที่สำคัญนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จะมีเครื่องมือและเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่มากขึ้น จึงต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า

พล.ต.อ.อดุลย์บอกว่า รัฐบาลมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ดังนั้น แรงงานจึงต้องมีความ เสมอภาคŽ และ เท่าเทียมŽ มีความมั่นคง มีสวัสดิการและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน นับจากนี้ ไม่ว่าจะเหลือเวลาสักเท่าใด จะทำเต็มที่และเต็มความสามารถให้กับผู้ใช้แรงงานทุกคน

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image