‘ซีเอเอชอาร์’ แนะกทม.เรียนรู้จากการต่อสู้ของ ‘ป้อมมหากาฬ’ ชี้ทำลายชุมชนคือการฝ่าฝืนสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ 21 มกราคม เวลา 14.00 น. มีการจัดประชุมเครือข่ายอนุรักษ์เมือง เพื่อหารือปัญหากรณีการรื้อถอนชุมชนป้อมมหากาฬ โดยมีนายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานการประชุม นอกจากนี้ยังมีภาคส่วนต่างๆ ร่วมแสดงความเห็น อาทิ นางสุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.รังสิต, ศาสตราจารย์ไมเคิล เฮิร์ซเฟล อาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, ตัวแทนเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม, นางสุนี ไชยรส อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, อุปนายกสมาคมอิโคโมสไทย, ตัวแทนจาก สอช. รวมถึงชาวบ้านในชุมชน เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมยังมีการเปิดเผยถึงจดหมายจากศูนย์สถาปัตยกรรมและสิทธิมนุษยชน (Center for Architecture & Human Rights, CAHR)

ผศ.ดร.ธนะ จีระพิวัฒน์ อุปนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ฝ่ายต่างประเทศ ได้ทำการแปลและอธิบายถึงข้อความในจดหมาย ซึ่งมีเนื้อหาระบุว่า การดำเนินการทำลายชุมชนป้อมมหากาฬเป็นอีกหนึ่งในการบิดเบือนและฝ่าฝืนสิทธิมนุษยชน

ดังนี้

Advertisement

ศูนย์สถาปัตยกรรมและสิทธิมนุษยชน (Center for Architecture & Human Rights, CAHR)

20 มกราคม 2018

อ้างอิงเรื่อง: ป้อมมหากาฬ

Advertisement

การดำเนินการทำลายชุมชนป้อมมหากาฬเป็นอีกหนึ่งในการบิดเบือนและฝ่าฝืนสิทธิมนุษยชน

นอกเหนือไปจากนั้นกรณีนี้เป็นประสบการณ์เรียนรู้เชิงลึกสำหรับคนไทยและคนต่างชาติ นักวิชาการ และ NGOs นักท่องเที่ยว และผู้คนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ

ผู้วางแผนและนักการเมืองของ กทม. จะหาเวลามาเรียนรู้จากการต่อต้านของชุมชนตลอด 20 กว่าปีมานี้ของการวางแผนเชิงบังคับควบคุมแบบคิดตื้น ๆ ตามแนวเผด็จการแห่งรัฐหรือไม่

ชุมชนเล็ก ๆ นี้ ผู้คนจะมาใสใจทำไม? ทำไมมันจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญไม่ใช่เฉพาะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แต่รวมไปถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เหล่านักวิชาการ และ NGOs ทั่วโลก?

คำตอบต่อคำถามเหล่านี้ ได้ถูกเขียนถึงและดำเนินการมากันแล้ว ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ นักมนุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขียนไว้ในหนังสือเกี่ยวกับชุมชน ประวัติศาสตร์ของชุมชน และการดิ้นรน (หนังสือชื่อ Seige and Spirits) รองศาสตราจารย์ ชาตรี อาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ที่ต่อสู้อย่างเต็มกำลังกับชุมชนนี้ และไดัดำเนินการเก็บข้อมูล สนับสนุน และตอบโต้ในนามของชุมชนมาโดยตลอด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุดจิต ด้วยวิธีการ Vernadoc นำทีมสร้างผลงานการเก็บข้อมูลแสดงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และบทบาททางวัฒนธรรมของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชุมชนป้อมมหากาฬในระดับชุมชนและระดับชาตินี้ให้เราได้เห็นประจักษ์

กรณีนี้ทำให้เราได้หวนคิดถึงคติของหลุยส์ ซัลลิแวนที่ว่า “รูปทรงตามการใช้งาน” เมื่อมาเชื่อมกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากป้อมมหากาฬเห็นได้ว่าสถาปนิกมักให้ความใส่ใจกับคำว่า “รูปทรง” และคำว่า “การใช้งาน” คือผู้คน ประชาชน ชุมชน ที่อยู่อาศัยในและรอบ ๆ “รูปทรง” นั้น จากที่เข้าใจคำสั้น ๆ 3 คำของหลุยส์ ซัลลิแวน เราจึงต้องให้ความใส่ใจอย่างใกล้ชิดกับผู้คนและชุมชนที่เป็นเป้าหมายของการที่เราใช้ทักษะการออกแบบทำงานให้ แต่ในกรณีการวางผังแม่บทชุมชนนี้ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่นำไปสู่สถานการณ์แห่งปัญหาที่ป้อมมหากาฬนี้ เช่นเดียวกับที่ผมได้เคยกล่าวถึงในที่ต่าง ๆ ว่า วัฒนธรรมของชุมชน สิทธิของพวกเขาถูกมองข้ามและมองไม่เห็น (ดูบทความของผมชื่อ Rendered Invisible: Urban Planning, Cultural Heritage, and Human Rights ทำให้มองไม่เห็น การวางผังเมือง มรดกทางวัฒนธรรม และสิทธิมนุษยชน)

ทั้ง อาจารย์ชาตรี และ อาจารย์สุดจิต ร่วมกับกลุ่มสถาปนิกที่มุ่งมั่นอีกหลายท่าน ชุมชนนี้มีตัวตนประจักษ์ชัดเจนต่อสายตาประชาคมทั่วโลก และกลุ่มคนเหล่านี้ได้พยายาทำให้ประจักษ์ในสายตาของนักวางแผนและนักการเมืองของ กทม ในฐานะสถาปนิกของพวกเรา เราได้เรียนรู้อย่างมากจากกรณีของชุมชนนี้

บางประเด็นที่ผมได้เรียนรู้จากผู้คนในชุมชนป้อมมหากาฬคือ

  • การมีส่วนร่วมเป็นสิทธิ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐาน ที่เห็นชอบร่วมกันในที่ประชุมครั้งที่ 1 ของ UN Habitat ที่แวนคูเวอร์ในปี 1976 และถูกนำไปเป็นส่วนของข้อบังคับในกระบวนการพัฒนาในหลายประเทศทั่วโลก และยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงการพัฒนาในนานาชาติที่ทาง UN, World Bank และ ADB  ให้ทุนสนับสนุน ถ้าสิทธินี้เป็นสิ่งที่ กทม ใช้ปฏิบัติ ปัญหาการต่อต้านผังแม่บทตามแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ จะส่งผลลัพธ์ที่แตกต่างจากที่เป็นและเกิดความร่วมมือระหว่างชมุชนและหน่วยงานของรัฐและ กทม ที่ให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อทุกฝ่าย ที่ประกอบด้วย ชุมชน เมือง รวมถึงนักท่องเที่ยว การดำเนินการด้วยแนวคิดนี้ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านสถาปัตยกรรมที่มีประโยชน์อย่างสูงอีกด้วย
  • การวางผังแม่บทแบบ Top-Down เป็นการปฏิบัติที่ควรสูญพันธุ์ไปหลังยุคของ แดเนียล เบอร์นแฮม หรือ โรเบิร์ต โมเสส (ด้วยแนวคิด “ไม่ทำแผนเล็ก ๆ มันไม่มีเวทมนตร์ในการกระตุ้นให้เลือดชายชาตรีเลื่อนไหล) และต่อมาวิสัยทัศน์ที่แตกต่างของ เจน เจค็อบส์ ได้ถูกยอมรับแทนที่ในระบบการเมืองและการวางผังเมืองต่าง ๆ ของเรา นั่นแสดงถึงการตระหนักว่าความเข้าใจกระบวนการออกแบบและวางแผนอยู่บนพื้นฐานของหลักการการมีส่วนร่วมที่เป็นสิทธิ
  • วัฒนธรรม – ความเข้าใจของพวกเราต่อวัฒนธรรมและสิทธิทางวัฒนธรรมว่าจำต้องมีความแตกต่างที่ทัดเทียมกัน วัฒนธรรมพื้นถิ่นที่อาจารย์สุดจิตและทีม Vernadoc ได้สนับสนุนส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ควรต้องเพิ่มการยอมรับและเห็นคุณค่ามากขึ้น สถาปนิกมีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิทางวัฒนธรรมพื้นถิ่นนี้ ก้าวแรกคือการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูล

การดิ้นรนต่อสู้ของผู้คนในชุมชนป้อมมหากาฬเป็นบทพิสูจน์ถึงพลังของความเชื่อของพวกเขา สงครามและการต่อสู้ครั้งนี้ในกรุงเทพฯ และเมืองอื่น ๆ ทั่วโลกจะดำเนินต่อไป 

ปัจจุบันนี้กรณีโครงการที่จะรื้อ Pueblito Paisa Market ในเมือง Tottenham กำลังถูกสอบสวนภายใต้การดำเนินการของ UN Working Group on Business and Human Rights ซึ่งจะส่งผลกระทบจากนี้ไปในด้านการพัฒนาและสิทธิที่ต้องได้รับการพิจารณาโดยสถาปนิกและเจ้าของโครงการพัฒนา ในขณะที่เรากำลังก้าวไปข้างหน้าสู่การออกแบบและพัฒนาเมืองด้วยพื้นฐานด้านสิทธิเป็นแนวทาง

เพื่อขับเคลื่อนไปในแนวทางพื้นฐานด้านสิทธิในการออกแบบสถาปัตยกรรม การวางแผน และการพัฒนา มีบางสิ่งที่ผมได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวไปข้างหน้าดังนี้

  • ระดับ UNESCO ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชนและสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชน — ศูนย์สถาปัตยกรรมและสิทธิมนุษยชน (CAHR) ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการสร้างพันธมิตรกับสถาบันการศึกษาในการจัดตั้งหลักสูตรด้านนี้ และให้มีหลักสูตรวิชาชีพที่สอนเรื่องแนวทางปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมบนพื้นฐานสิทธิ
  • UIA — ที่การประชุมที่กรุงโซล ในเดือนกันยายน ปีที่แล้ว CAHR ได้ดำเนินการตั้งคณะทำงานและโครงการด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้ UIA

พวกเรามีสิ่งที่ทำอีกมากมาย และภูมิใจที่มีพันธมิตรมากมายร่วมกับสมาชิกของ ASA ที่พร้อมรับความท้าทายเช่นนี้และกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงกันอยู่

ขอแสดงความนับถือ

Graeme Bristol

ผู้อำนวยการบริหาร CAHR

วิคตอเรีย แคนาดา

ขอขอบคุณ เพจ อาษาอนุรักษ์ : ASA Conservation

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image