5G ยกระดับโลก จากแค่ ‘สัมผัส’ สู่ความเป็น ‘ดิจิทัล’

เมื่อมีการกล่าวถึง 5G หลายคนเข้าใจไปว่าเป็นเพียงเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต่อยอดจาก 3G หรือ 4G จะทำให้ความเร็วในการเล่นอินเตอร์เน็ตมีความเร็วสูงขึ้น มีความบันเทิงออนไลน์ที่มีแสงสีเสียงที่คมชัดมากขึ้น และต้อง เตรียมเก็บเงินเพื่อซื้อมือถือ 5G ใหม่

หรือแม้กระทั่งการตั้งข้อสังเกตว่า ทั้ง 3G และ 4G ยังทำได้ไม่ค่อยเต็มที่ หลายพื้นที่สัญญาณยังไม่ครอบคลุม ยังไม่ควรรีบร้อนไป 5G โดยความเห็นและข้อสังเกตเหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งที่ปกติสำหรับ สัมผัสดิจิทัลŽ (Feeling Digital)

จากแค่ สัมผัสดิจิทัล (Feeling Digital)Ž ไปสู่การ เป็นดิจิทัล (Being Digital)Ž

ในมุมมองของภาคองค์กรการเข้าใจความหมายของการเข้าสู่ยุคดิจิทัลเป็นเพียงแค่การมีเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ใช้โซเชียล มีเดียในการสื่อสารติดต่อการทำงาน ทำการซื้อขายออนไลน์ หรือการสร้างโมบายแอพพลิเคชั่นเท่านั้น

Advertisement

แต่ความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงทำได้แค่ สัมผัสดิจิทัลŽ เท่านั้น

การ เป็นดิจิทัลŽ จริงๆ จำเป็นจะต้องมีกระบวนการทั้งห่วงโซ่คุณค่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ มาทำให้เกิดต้นทุนที่ประหยัดมาก ให้บริการได้รวดเร็วขึ้น ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ไม่มีที่สิ้นสุดได้

รวมทั้งการให้บริการที่ครอบคลุมได้มากขึ้น

ดังเช่น กระแสที่ร้านค้าต่างๆ ทำการเปิดโมบายแอพพ์ เว็บไซต์ เฟซบุ๊กเพื่อทำให้เกิดการซื้อขายออนไลน์กับลูกค้าได้ อาจทำให้มีผลกำไร หรือยอดขายที่ดีขึ้นในช่วงระยะเวลาเริ่มต้น แต่เมื่อมีคู่แข่งที่สามารถลอกเลียนแบบและทำได้เหมือนกัน การสร้างการเติบโตและผลกำไรที่ยั่งยืนย่อมเป็นสิ่งที่ยากจะเกิดขึ้น เพราะเป็นเพียงแค่การสร้าง สัมผัสดิจิทัลŽ เท่านั้น

แต่การนำองค์กรให้ เป็นดิจิทัลŽ ที่สำคัญคือการสร้างระบบนิเวศใหม่ขึ้นมา โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้น

เช่นการเกิดขึ้นของธุรกิจอาลีบาบาที่ไม่ใช่ธุรกิจซื้อมาขายไปเหมือนกับธุรกิจค้าปลีกทั่วไป
อาลีบาบามาสร้างธุรกิจแพลตฟอร์มทำให้ความต้องการซื้อและความต้องการขายมาพบกันบนแพลตฟอร์มของตนเอง สามารถทำธุรกรรมกันได้จริงที่ต้นทุนต่ำกว่า รวดเร็วกว่า และครอบคลุมได้มากกว่า

หัวใจสำคัญไม่ใช่แค่การสร้างเว็บไซต์หรือใช้โซเชียลมีเดีย แต่กลับเป็นการเข้าใจและใช้เครื่องมือเหล่านี้สร้างแบบแผนธุรกิจที่ เป็นดิจิทัลŽ

อาลีบาบาไม่ได้สร้างโรงงานผลิตเพิ่มเติม แต่กลับเป็นการหาหรืออำนวยความสะดวกให้ผู้ผลิตที่อยู่ทั่วโลกมาอยู่บนแพลตฟอร์มของตนเองเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม องค์กรเดิมๆ กลับตีโจทย์เรื่องนี้ผิด กลับคิดว่าเพียงแค่เปิดเว็บไซต์ สร้างโมบายแอพพ์ก็จะประสบความสำเร็จเหมือนอาลีบาบาได้ แต่ผลที่ออกมาก็ทราบกันดีว่าองค์กรเหล่านี้ไม่สามารถอยู่รอดต่อไปได้จำนวนมาก

แนวทางนี้ก็เช่นเดียวกับ Uber หรือ Airbnb ที่ใช้เครื่องมือดิจิทัลมาสร้างนวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ แข่งขันกับรายเดิมที่มีอยู่ในตลาด

หน่วยงานรัฐหลายแห่งต้องการที่จะเป็นรัฐบาลดิจิทัล ด้วยเป้าหมายเพียงแค่ สัมผัสดิจิทัลŽ เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้ผ่านระบบออนไลน์ทั้งเว็บไซต์และโมบายแอพพลิเคชั่นเท่านั้น แต่การลดภาระกระบวนการเอกสาร และหลักฐานราชการต่างๆ ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง เช่นการบริการภาครัฐหลายแห่งที่ยังคงต้องการเอกสารราชการหรือสำเนาที่ทำการสแกนแล้วส่งไฟล์มายังหน่วยงาน โดยที่เอกสารราชการเหล่านี้อยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เดียวกัน

การสร้างรัฐบาลที่ เป็นดิจิทัลŽ ย่อมเป็นได้มากกว่าบนโครงสร้างพื้นฐานที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลทุกหน่วยงาน ทั้งในส่วนราชการและนอกส่วนราชการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนก่อนที่ประชาชนร้องขอด้วยซ้ำไป

อย่างไรก็ตาม ด้วยโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบัน การแปลงสภาพไปสู่การ เป็นองค์กรดิจิทัลŽ ต้องใช้เวลา เงินทุน รวมทั้งความรู้ความชำนาญ ดังนั้นในหลายองค์กรเลือกที่จะสร้าง สัมผัสดิจิทัลŽ ให้กับลูกค้าไว้ก่อน

เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่จาก 1G, 2G, 3G และ 4G ถูกออกแบบมาเพื่อเน้นในการสร้าง สัมผัสดิจิทัลŽ เช่น การใช้โซเชียลมีเดีย การใช้เพื่อความบันเทิง แต่การนำเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อที่จะสร้างการ เป็นดิจิทัลŽ ย่อมมีความยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายลงทุน ระยะเวลาความพร้อมในการให้บริการ และแม้ว่าจะสามารถสร้างบริการดิจิทัลได้แล้ว ปัญหาการควบคุมคุณภาพ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ก็จะเป็นปัญหาต่อเนื่องที่ตามมา

ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดระหว่าง 5G กับเทคโนโลยีก่อนหน้าคือ 1G, 2G, 3G และ 4G คือการสร้างสัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่น่าตื่นเต้นให้กับผู้ใช้บริการ แต่ในขณะที่ 5G ส่วนหนึ่งจะถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาการสร้างประสบการณ์ใหม่ แต่อีกส่วนหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าคือ การที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะสนับสนุนธุรกิจต่างๆ ให้ เป็นดิจิทัลŽ มากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ถูกลง ระยะเวลาความพร้อมในการส่งมอบบริการ การควบคุมคุณภาพการให้บริการ และอื่นๆ

โดยอุปกรณ์ปลายทางที่ใช้ใน 5G ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในรูปแบบโทรศัพท์มือถือเท่านั้น แต่จะขยายไปสู่อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์ รถยนต์ แขนกล หุ่นยนต์ เพื่อจะใช้เชื่อมต่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานกับธุรกิจในแขนงต่างๆ ได้

มีการคาดการณ์สภาพตลาดรายได้โดย Ericsson และ Arthur D. Little รายได้ที่โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เน้นการสร้างสัมผัสประสบการณ์จะมีขนาดเพียง 1,736 ล้านเหรียญ ในปี 2026 เติบโตจาก 1,497 ล้านเหรียญ ในปี 2016 แต่ในขณะที่รายได้ของการเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (5G) เพื่อที่จะสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ เป็นดิจิทัลจะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด 3,458 ล้านเหรียญ ในปี 2026 เติบโตจากรายได้ที่มีอยู่เพียง 968 ล้านเหรียญ ในปี 2016 โดยมีกลุ่มธุรกิจ 10 กลุ่มที่สำคัญในการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน 5G คือ กลุ่มเกษตรกรรม, กลุ่มค้าปลีก, กลุ่มการเงินการธนาคาร, กลุ่มสื่อและบันเทิง, กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค, กลุ่มโรงงานผลิต, กลุ่มการรักษาความมั่นคงปลอดภัย, กลุ่มบริการด้านสุขภาพ และกลุ่มการขนส่งสาธารณะ

บทสรุปมุมมองเรื่อง 5G ความสำคัญ คือ การเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ แนวนโยบายที่รัฐบาลต้องการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไปสู่ยุคดิจิทัล 5G ย่อมเป็นส่วนที่สำคัญที่จะเป็นพื้นฐานให้กับภาคส่วนต่างๆ มาต่อยอด

และย่อมเป็นเหตุผลสำคัญที่ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสนใจในเรื่อง 5G ในขณะนี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image