ส่องธุรกิจหนังสือไต้หวัน ผ่านงาน Taipei International Book Fair 2018

“Taipei International Book Fair” ได้ชื่อว่าเป็น “งานหนังสือที่สวยที่สุดในเอเชีย” “อนุรักษ์ กิจไพบูลทวี” นักแปลชื่อดัง และกรรมการผู้จัดการ“สนพ. แมงมุมบุ๊คส์” ซึ่งแปลวรรณกรรมดีๆ ดังๆจากไต้หวันหลายเล่ม เล่าให้ฟังด้วยรอยยิ้มกว้าง เมื่อถามถึงงาน Taipei International Book Fair 2018 ที่เพิ่งจบไปหมาดๆ ณ Taipei World Trade Center ภายใต้แนวคิด พลังแห่งการอ่าน (Power of Reading)

อนุรักษ์เข้าร่วมงานในฐานะของอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ และเขาเล่าให้ฟังว่างานหนังสือที่นี่ เป็นงานหนังสือที่น่าสนใจมากของเอเชีย อย่างปีนี้ก็มีสำนักพิมพ์ท้องถิ่น และสำนักพิมพ์จากประเทศต่างๆ ร่วมออกบูธในงานกว่า 60 ราย แบ่งเป็น10 ธีมพาวิล และกิจกรรมเสวนาในเวทีต่างๆ อีกกว่า 500 รายการ ซึ่งในงานได้มีการจัดแสดงหนังสือและสิ่งพิมพ์ของไต้หวัน รวมถึงการ์ตูนและเกมแอนิเมชั่นที่ได้รับความนิยมอย่างสูง รวมทั้งสำนักพิมพ์ต่างชาติทั้งจากเอเชียและยุโรปที่นำหนังสือประเภทต่างๆ มาร่วมเผยแพร่อีกด้วย ซึ่งคนล้นหลามทุกปี แม้ว่าจะต้องซื้อตั๋วเพื่อเข้างาน คือ 100 NTD ต่อวัน และ 200 NTD เข้าออกได้ทั้งงาน ก็ตาม แต่เด็กอายุต่ำกว่า 18 เข้างานได้ฟรี

“ไต้หวันมีข้อจำกัดทางกายภาพ ก็คือขนาดของประเทศที่เล็กกว่าไทยสามเท่า และประชากรที่มีเพียงยี่สิบสามล้านคน แต่กลับมีสำนักพิมพ์จำนวนมากกว่า และมีหนังสือออกใหม่ต่อปีจำนวนมาก สถิติเมื่อปี 2017 มีหนังสือออกใหม่ 40,401 ปก มี สนพ.ที่ขอเลข ISBN จำนวน 4987 สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์มากกว่า 90% ออกหนังสือไม่ต่ำกว่า 10 เล่มต่อปี ทำให้เกิดการแข่งขันสูง และมีความแออัด แต่ก็ยังมีความต้องการงานลิขสิทธิ์จากต่างประเทศสูง และมีความกระตือรือร้นในการขายลิขสิทธิ์ออกมาสู่ต่างประเทศ โดยได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ คือกระทรวงวัฒนธรรมไต้หวันเป็นอย่างดี

Advertisement

ธุรกิจหนังสือในไต้หวัน จากครั้งหนึ่ง ที่การพิมพ์หนังสือเท่ากับพิมพ์เงิน เข้าสู่ขาลงติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี จนทุกคนต่างกังวลว่ามันจะตกไปถึงจุดไหน แต่ข้อมูลที่ได้มาล่าสุดคือ สถิติในปีที่แล้ว ธุรกิจหนังสือในไต้หวันได้เด้งกลับขึ้นมาราวสองสามเปอร์เซ็นต์ อันเป็นสัญญาณสำคัญที่บอกว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว

ในส่วนของหนังสือออกใหม่ประจำปีที่แล้ว ข้อมูลจากหอสมุดแห่งชาติไต้หวันได้มีสรุปไว้ หนังสือประเภทเรียนภาษามีมากที่สุด คิดเป็น 22.63% จาก 40,401 ปก รองลงมาเป็นหนังสือแนววิทยาศาสตร์ที่ใช้งานได้จริง 16.66% ศิลปะและการท่องเที่ยว 14.82% และวรรณกรรมสำหรับเด็ก 7.51% โดยหนังสือ Best seller จะเป็นแนวให้กำลังใจ พัฒนาตนเอง โดยที่ปริมาณการตีพิมพ์นิยายรวมถึงไลท์โนเวล มีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ยอดขายลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในปีที่แล้ว หนังสือนำเข้าที่แปลจากภาษาต่างประเทศ ของไต้หวัน คิดเป็น 24.05% โดยเป็นหนังสือแปลจากภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส เยอรมนีเป็นหลัก

ส่วนเทรนด์การอ่าน ส่วนตัวแล้วเห็นว่า คนไต้หวันกับคนไทย อ่านหนังสือคล้ายๆ กัน และปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชากรการอ่านก็คล้ายๆ กัน (เกิดจากสื่อใหม่เข้ามาแย่งชิงเวลา) แต่เพราะไต้หวันมีวัฒนธรรมการอ่านที่แข็งแรงกว่า ตามท้องถนน รถไฟฟ้าจึงยังเห็นคนอ่านหนังสือเล่มมากกว่าไทย” อนุรักษ์อธิบายถึงภาพรวมธุรกิจหนังสือและเทรนด์การอ่านของไต้หวันให้ฟัง

Advertisement

ในส่วนของไทย ปีนี้เปิดบูธกิจกรรมเป็นครั้งที่ 10 แล้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย (ไทเป) ซึ่งแนวคิดปีนี้ คือ “From Books to Screen” จัดแสดงหนังสือที่ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และได้รับความนิยม มาเป็นจุดดึงดูดให้ผู้เข้าชมสนใจที่จะเข้ามาชม โดย”สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ” อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯเล่าว่า ภาพยนตร์เรื่อง “ฉลาดเกมส์โกง” ได้รับความนิยมมากในไต้หวัน และมีสำนักพิมพ์ไทยกำลังนำมาทำเป็นหนังสือแล้ว จึงทำให้มีสำนักพิมพ์ทั้งของไต้หวันและชาติอื่น ติดต่อที่จะซื้อลิขสิทธิ์ไปแปลเป็นภาษาต่างๆ ซึ่งเราคงจะได้เห็นหนังสือเล่นนี้แปลและเผยแพร่เป็นภาษาต่างชาติอย่างแน่นอน

“มีการเจรจาเรื่องการซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือและวรรณกรรมต่างๆ กว่า 50 ราย และมีความสนใจรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น สำนักพิมพ์ไต้หวันต้องการนำหนังสือไทยไปวางขายในไต้หวัน เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าคนไทยที่ไปมีครอบครัวหรือทำงานในไต้หวัน รวมทั้งการซื้อลิขสิทธิ์หนังสือประเภทนิยาย ไปแปลเป็นภาษาท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วหนังสือเด็กและหนังสือภาพจะเป็นหนังสือที่ได้รับความสนใจมากที่สุด

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ คือ หนังสือเกี่ยวกับการวิจัยที่เกี่ยวกับประเทศในอาเซียน และหนังสือวิชาการจาก สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการของไทย ได้รับความสนใจจากสำนักพิมพ์ไต้หวันที่จะนำไปแปลเป็นภาษาท้องถิ่นอีกด้วย” สุลักษณ์กล่าว

เห็นอนาคตของหนังสือที่เบิกบานสดใสในไต้หวัน หลังซบเซามาแป๊บนึง ก็แอบอิจฉาเบาๆ เหมือนกันนะ

บ้านเมืองไหนที่เห็นความสำคัญของสติปัญญาในทรัพยากรมนุษย์ ก็ส่งเสริมเรื่องการอ่านทั้งนั้นล่

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image