วุฒิชัย วุฒิอุดมเลิศ ถอดรหัสลับ 5G กับความพร้อมของไทย

มีความบันเทิงออนไลน์ที่มีแสงสีเสียงที่คมชัดมากขึ้น และต้องเตรียมเก็บเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ หรือแม้กระทั่งการตั้งข้อสังเกตว่าทั้ง 3G และ 4G ยังทำได้ไม่ค่อยเต็มที่ หลายพื้นที่สัญญาณยังไม่ครอบคลุม

ยังไม่ควรรีบร้อนไป 5G

การก้าวสู่ยุค 5G ที่กำลังมาถึงประเทศไทยในระยะเวลาอันใกล้ จำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

โดยเฉพาะหลังจาก หนังสือพิมพ์มติชนŽ ได้จัด เสวนา 5G เปลี่ยนโลกเปลี่ยนประเทศไทย เมื่อวันที่

Advertisement

23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเชิญผู้รู้ทั้งภาครัฐและเอกชนมาบอกเล่าเรื่องราว ทำให้เรื่อง 5G ได้รับความสนใจจากผู้คนมากขึ้น โดยเฉพาะ 1 ในวิทยากรที่ขึ้นเวทีในวันนั้นอย่าง นายวุฒิชัย วุฒิอุดมเลิศ หัวหน้าฝ่ายเน็ตเวิร์ค โซลูชั่น บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น ด้วยสปิริตในการประคับประคองสถานการณ์บนเวทีเสวนาให้ผ่านพ้นไปได้อย่างราบรื่น ถ่ายทอดเนื้อหาอันสลับซับซ้อนให้เข้าใจง่ายและชัดเจน ปลดล็อกความรู้แบบเดิมๆ พร้อมรับมือ และก้าวเข้าสู่ยุค 5G อย่างเข้าใจ

ความคืบหน้าของเทคโนโลยี 5G

ถ้าเราได้ยินถึงเรื่องเทคโนโลยี 5G ทุกคนจะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงมาประมาณ 3-4 ปีแล้ว และมีการพัฒนาไปอีกระดับหนึ่ง ถ้าเราดูจากประวัติศาสตร์ของโทรคมนาคม การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นทุก 10 ปี ฉะนั้น 4G เกิดขึ้นมาจะเกิน 10 ปีแล้ว จึงมีการวิจัยและพัฒนาที่ดูจากความต้องการด้านเทคโนโลยีว่าจะเป็นอย่างไร หลังจากที่ถูกเรียกมาเป็น Second Generation, Third Generation และ Fourth Generation โดยธรรมชาติจะเรียกอะไรที่จะเกิดขึ้นเป็นอันดับถัดไปคือ Fifth Generation หรือ 5G

Advertisement

ในงานเสวนา ผมพยายามนำเสนอว่าเมื่อก่อนการวิจัยและพัฒนาเกิดจากการสร้างเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อทำให้ผู้คนนำไปใช้งาน เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีเกิดขึ้นมา

เพื่อทำให้ทุกคนสามารถปรับตัวเข้ามาใช้งาน และด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจึงกลายเป็นตัวกระตุ้นทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการมากยิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่า ผู้บริโภคคือตัวกระตุ้นและสร้างความต้องการที่บ่งบอกว่าเทคโนโลยีที่ควรจะเป็นไปนั้น ต่อไปควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งเทคโนโลยี 5G ถือเป็นการตอบโจทย์แนวคิดในการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการ

ฉะนั้นจึงจะเห็นว่าคอนเซ็ปต์หรือแนวคิดในการพัฒนา 5G ที่ต่อยอดจาก 4G นี้ จะแตกต่างจากในอดีตอย่าง

สิ้นเชิง โดยจะเป็นไปในลักษณะการใช้กรณี (Use Case) เป็นตัวนำ นั่นคือความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคในที่นี้ไม่ได้เป็นเพียงผู้ใช้งานเพียงอย่างเดียว แต่มีส่วนประกอบต่างๆ เข้ามา เช่น องค์กร การผลิต และโรงพยาบาล เป็นต้น ฉะนั้นองค์กรธุรกิจแบบดั้งเดิม หรืออุตสาหกรรม

ต่างๆ ต้องมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อทำให้การพัฒนา การทำงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

 

ผู้บริโภคต้องการอะไร

เริ่มมองจากสิ่งใกล้ตัวก่อน เมื่อประมาณ 2-3 ปี

ก่อนหน้านี้เราจะได้ยินคำว่า Machine to Machine (M2M) หมายถึงการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องจักรไปสู่เครื่องจักร โดยจะทำอย่างไรให้สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์คุยกันได้ สื่อสารกันได้ และหลังจาก M2M ก็กลายเป็น M to C แต่ปัจจุบันนี้

ทุกคนเรียกว่าระบบไอโอที (อินเตอร์เน็ตออฟธิงส์)

คราวนี้จึงกลายเป็นว่าจริงๆ แล้ว สุดท้ายปลายทางของอินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ โดยคำว่า ธิงส์Ž ไม่ใช่เฉพาะสิ่งของอีกต่อไป แต่รวมถึงมนุษย์ด้วย จึงจะเกิดการสื่อสารระหว่างกันในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่เราโทรศัพท์หากัน แต่จะกลายเป็นเราต้องการสั่งงานกับอุปกรณ์ ซึ่งในขณะนี้ก็เริ่มที่จะมีอุปกรณ์อะไรใหม่ๆ เช่น ประตูสามารถปลดล็อกได้โดยไม่ต้องไขกุญแจ ด้วยการเปิดแอพพลิเคชั่น ฉะนั้นสิ่งต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นความต้องการ (อุปสงค์) และกรณีใหม่ๆ ที่เข้ามาในชีวิตประจำวัน

ส่วนหนึ่ง แต่ว่าบางกรณีก็จะเห็นว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็มีความต้องการ สื่อŽ ที่ทำให้สามารถสื่อสารกันได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีมาตรฐานที่หลากหลาย และกรณีที่หลากหลาย ที่มีความต้องการเทคโนโลยีมารองรับการสื่อสารในรูปแบบที่แตกต่างกันไป

ปัจจุบันทุกคนติดอินเตอร์เน็ต ติดแอพพลิเคชั่น

นั่นคือเรื่องของบรอดแบนด์บนมือถือ แต่สิ่งเหล่านี้ปัจจุบันเริ่มไม่เพียงพอแล้ว จากเมื่อก่อนที่เราอยากดูวิดีโอแล้วเรากลับไปเปิดวิดีโอหรือยูทูบดูที่บ้าน เนื่องจากดูบนมือถือแล้วกระตุก แต่ตอนนี้เราคือผู้ใช้งาน ที่บอกว่าต้องการจะดูวิดีโอนอกบ้าน หรือระหว่างการเดินทางบ้าง สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นตัวผลักดันให้เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งการทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้จะต้องมีช่องสัญญาณที่ใหญ่ขึ้น ความสามารถในการส่งข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นเป็นตัวชี้นำ เนื่องจากเทคโนโลยีด้านวิดีโอที่ในอดีตดูในรูปแบบอนาล็อก และเปลี่ยนมาเป็นระบบเอชดี หรือดิจิทัล และต่อมาระบบเอชดีก็ยังไม่เพียงพอ เมื่อสายตาของเราคมชัดมากยิ่งขึ้น จึงเกิดการพัฒนาจนกลายเป็นระบบโฟร์เค และเอทเค เมื่อเป็นเช่นนี้กลายเป็นว่าความต้องการช่องสัญญาณในการส่งข้อมูลก็เพิ่มขึ้นเป็น

4 เท่า และ 16 เท่า

สำหรับเรื่องอินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 แกนหลัก คือ 1.แบบไม่สำคัญ อย่างที่เราทุกคนใช้อยู่ปัจจุบัน เช่น นาฬิกาที่สามารถเชื่อมต่อและรับส่งข้อมูลได้ แต่จะสามารถส่งข้อมูลได้เพียงเล็กน้อย

เพื่อบันทึกข้อมูลการใช้งานว่าเป็นอย่างไร ฉะนั้นจึงไม่ได้ต้องการข้อมูล และอาจจะไม่ได้ต้องการความ

น่าเชื่อถือนัก และ 2.การเชื่อมต่อในแบบสำคัญ เช่น การทำงานอัตโนมัติที่เกี่ยวกับรถออโตเมติก ที่จะต้องมีระบบเซ็นเซอร์ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูล ระบบควบคุมที่บ่งบอกว่ารถสามารถวิ่งได้ที่ความเร็วเท่าไร ระบบเบรกจะต้องเริ่มทำงานหากวิ่งเกินกว่าความเร็วที่เท่าไร โดยระบบจะต้องมีการคำนวณสิ่งต่างๆ เหล่านี้ และยังมีกรณีใหม่ที่จะเกิดขึ้นในโรงพยาบาล เช่น การผ่าตัดทางไกล โดยมีแพทย์คอยควบคุมการทำงานซึ่งนั่งอยู่กับที่และใช้รีโมตคอนโทรล หมอถือมีดอยู่ที่อื่นที่ไม่เห็นตัวคนไข้ แต่สามารถรับรู้และสัมผัสได้ ซึ่งเรื่อง

ดังกล่าวต้องการการตอบสนองของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และใช้ระยะเวลาสั้นมากที่สุด เช่น ในงานเสวนา ขณะที่

ผมเงยหน้าขึ้นไปแล้วมองเห็นจอวิดีโอ จะเห็นว่าระหว่างคนที่พูดอยู่บนเวทีกับจอวิดีโอ มีการดีเลย์ ปากไม่ตรงกับเสียง เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมากว่าจะทำอย่างไรให้เกิดการดีเลย์น้อยที่สุด เพราะบางกรณีการดีเลย์ไปเพียงเสี้ยววินาทีเดียว อาจทำให้เกิดความ

ผิดพลาดอย่างร้ายแรง

แสดงว่าวิวัฒนาการที่กล่าวมาอาจจะยังไม่เห็นในระยะใกล้นี้ใช่หรือไม่

ถ้าพูดถึงทั้งหมดก็ใช่ครับ แต่อาจจะเกิดเป็นระยะๆ คือ ส่วนไหนที่เกิดก่อนได้ก็เกิดก่อน และจะมีสิ่งที่เกิดตามมาจากการที่เทคโนโลยีพัฒนาไปเรื่อยๆ อย่างระบบไอโอที ก็จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จากบรอดแบนด์บนมือถือที่ทางผู้ใช้งานต้องการ และในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องรองรับกับความต้องการ

ดังกล่าว แต่ในประเทศไทยอาจจะยังไม่เห็นผล และในเชิงของธุรกิจเองก็ยังไม่เห็นผลชัดเจน เนื่องจากปัจจุบันทุกคนต่างติดตั้งเราเตอร์ไว้สำหรับเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่บ้าน แต่ในบางพื้นที่ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีเข้าไปถึงในจุดนั้นได้

ทิศทางการใช้เทคโนโลยี 5G ในปัจจุบันของไทยเป็นอย่างไร

คำว่า 5G จริงๆ แล้วอยู่ที่เราให้คำนิยามว่าอะไร หากมองในมุมของโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีก็คงจะยังไม่มี เนื่องจากตามมาตรฐานหรือตามนิยามของ 5G แล้วแต่คนจะมอง ซึ่งเมื่อประมาณ 2-3 ปี ถ้าจะเลือก 5G ต้องสามารถให้ช่องข้อมูลได้มากกว่า 1GB ซึ่งถ้าใช้ตัวนั้นเป็นตัววัดตอนนี้โครงสร้างในประเทศไทยยังไม่ถึง แต่ปัจจุบันโลกมีการทดลอง ทดสอบเทคโนโลยี 5G เริ่มมาตั้งแต่ความสามารถในการส่งสัญญาณ 5GB และในขณะนี้ก็อยู่ที่ระดับ 20GB, 25GB และกำลังจะถึงระดับ 30GB เพราะฉะนั้นถามว่าในเมืองไทยมีหรือยัง

ก็ตอบแบบตรงไปตรงมา คือเราอยู่ระหว่างทาง (On the way) เหมือนที่อีริคสันใช้คำ On The Road to 5GŽ ว่าจะพัฒนาอย่างไร และอย่างที่ทราบว่าตัวโครงสร้างที่สำคัญของ 5G คือ เรื่องของสเปกตรัม เนื่องจากเป็นระบบไร้สาย การใช้สเปกตรัมและการจัดสรรสเปกตรัมเทคโนโลยีจึงเป็นส่วนสำคัญ

เท่ากับว่าประเทศไทยกำลังเริ่ม 5G แล้วใช่ไหม

เริ่มวางแผน คือทุกสิ่งทุกอย่างต้องเริ่มจากการวางแผน ซึ่งการวางแผนจะวางคนเดียวไม่ได้ เพราะมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วน เช่น การวางแผนระบบว่าจะดำเนินการอย่างไรในการนำเทคโนโลยีเข้ามา และจะขับเคลื่อนต่อไปในทิศทางใด ทำอย่างไรให้มีทรัพยากรสำหรับเทคโนโลยีที่เข้ามา ในที่นี้ก็คือเรื่องของสเปกตรัม ก็จะต้องมีการจัดสรรสเปกตรัม และเมื่อมีสเปกตรัมโดยธรรมชาติจะต้องมีผู้ให้บริการก็คือ ผู้ประกอบการ ว่าจะเตรียมความพร้อมของโครงข่าย ในการให้บริการได้อย่างไร วางระบบอย่างไร สำหรับอีริคสันได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะมีการปรับปรุงและพัฒนาอุปกรณ์ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการ 5G ในระดับต้นๆ ซึ่งทางรัฐบาล ผู้ประกอบการ ผู้จำหน่ายจะต้องทำความเข้าใจ แต่ในขั้นเตรียมความพร้อม ผู้จำหน่ายจะต้องมาก่อน โดยจะต้องมีอุปกรณ์ โครงสร้าง และซอฟต์แวร์ ที่พร้อมรองรับ และผู้ประกอบการก็จะเกิดความมั่นใจว่ามีของที่สามารถตอบโจทย์ได้ ก็มีการผลักดันให้เกิด

จำเป็นหรือไม่ที่รัฐบาลจะต้องลงมาเล่น 5G ด้วย

รัฐบาลจะต้องเล่นด้วย เพราะเป็นเครื่องจักรที่สำคัญในการที่จะก้าวไปสู่ 5G ได้ ซึ่งอย่างที่บอกไปแล้วว่า ถ้าเราเอา 1GB เป็นตัวตั้ง แต่ว่า 1GB เดี๋ยวนี้ก็ไม่ใช่ 5G เท่าไหร่แล้ว เพราะว่าเทคโนโลยี 4G ที่มีอยู่ก็สามารถทำได้ และถามว่า อะไรที่จะทำให้เราไปได้มากกว่านั้น ทางฝั่งโครงข่ายไร้สายก็คือ สเปกตรัม เพราะฉะนั้นการที่จะทำให้มีสเปกตรัมที่สามารถส่งข้อมูลไปได้เยอะๆ ก็ต้องเกิดจากรัฐบาลในการผลักดัน ว่าจะทำอย่างไรให้สเปกตรัมที่มีสำหรับการใช้งานและต้องเชื่อมโยงกับทั่วโลก ตามหลักมาตรฐาน ตามเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้น และจะวางแผนแม่บทไว้อย่างไร ซึ่งหากเราจะบอกว่าเมืองไทยจะมาเดินหน้าระบบของเราเอง ก็จะกลับกลายเป็นว่าจะใช้ได้เฉพาะในประเทศไทย และไม่สามารถไปต่อได้

สำหรับการพัฒนาระบบอีโคซิสเต็ม ไม่ใช่การคิดขึ้นมาเพียงคนเดียวและลงมือทำ แต่มีส่วนกลางอยู่ และถ้ามองในส่วนของโทรคมนาคมก็คือ องค์กรในการ

ขับเคลื่อน ซึ่งก็ไม่ใช่องค์กรใดองค์กรหนึ่งและก็ไม่ใช่ใครก็ได้ที่มานั่ง โดยหลักๆ ก็จะมาจากผู้จำหน่าย รวมไปถึง

ผู้ประกอบการที่จะช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และสร้างมาตรฐานขึ้นมา ซึ่งทางอีริคสันก็มีส่วนช่วยในการ

ผลักดัน และจะมีการทดลองเทคโนโลยี 5G ในกลางปีนี้

ประเทศไทยควรจะดำเนินการไปในทิศทางใด

ถ้าตอบอย่างตรงไปตรงมาก็คือ การมิกซ์แอนด์แมตช์ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องมาแบบเป็นลูกผสม เนื่องจากกรณีแตกต่างกัน แต่จะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการลงทุนแล้วคุ้มค่ามากที่สุด จะดำเนินการไปใน

รูปแบบไฮแบรนด์ที่มีความเร็ว 26GB หรือ 28GB ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ที่จะทำให้สามารถครอบคลุมได้ทั่วประเทศ และถ้าดูจากความถี่ในปัจจุบันที่แต่ละผู้จำหน่ายลงก็เป็น

หลักหมื่น ถึงเกือบสองหมื่น แต่นั่นก็ยังเป็นโลว์แบรนด์ที่มีความเร็วอยู่ที่ 2.1 GB

ผู้วางนโยบายของภาครัฐมองเหมือนภาคเอกชนหรือไม่

น่าจะมองไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากในอดีตประเทศไทยได้นำคลื่นความถี่บางย่านไปใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน อาจจะมีบางอย่างที่เราจะต้องสลับหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็ต้องอาศัยเทคนิค ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในเรื่องของรายละเอียด เช่น ระบบโรงงาน ที่ในปัจจุบันไม่จำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีใด เพราะมีระบบที่นำเทคโนโลยีเข้ามาให้ควบคู่กันอยู่เดิมแล้ว และหากในอนาคต มีการพัฒนาเป็นหุ่นยนต์ขึ้นมา และเมื่อมีการเชื่อมต่อกับเทคโนโลยี 5G จะทำให้โรงงานมีเพียงผู้ควบคุมเหลืออยู่เพียงไม่กี่คน มีการควบคุมระบบจากทางไกล โดยการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนไปของเทคโนโลยีไร้สาย จะสามารถตอบโจทย์ด้วยการ

ติดตั้งเสร็จในทีเดียว ไม่ต้องยุ่งยาก และจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในโรงงานสามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งขึ้นอยู่ที่กรณีและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

เทคโนโลยีทางสังคม ในเรื่องของเครือข่ายก็จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย เนื่องมาจากความต้องการทางเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การออกแบบ การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของโครงสร้าง และเครือข่ายหลักเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่เราดูโครงข่ายเทคโนโลยีของโทรคมนาคม ที่มีระบบเรดิโอ มีสิ่งที่เรียกว่าโครงข่ายหลัก ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับว่าเป็นผู้ให้บริการเสียง หรือผู้ให้บริการทางด้านข้อมูล และนาทีนี้ความต้องการใหม่ๆ หรือกรณีใหม่ๆ ที่เราพูดถึงระบบไอโอที และพูดถึงส่วนที่ต้องการความปลอดภัยสูงจะทำอย่างไร ก็จะสามารถตอบโจทย์ในอนาคตได้ว่า ทำอย่างไรให้การลงทุนของสังคมเครือข่ายสามารถแชร์กันใช้ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะในอดีตพอจะทำเครือข่ายอะไรออกมา ก็จะต้องดำเนินการของแต่ละตัวต่างหาก อย่างธนาคารก็ต้องสร้าง

เครือข่ายของตัวเอง หรือเมื่อเปิดโรงพยาบาลมา ก็จะต้องมีการเดินสายต่างๆ ที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก หากเรามีโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ การลงทุนต่างๆ ก็จะถูกลง เนื่องจากจะสามารถแบ่งกันใช้ในโครงสร้างที่มีอยู่ได้

เท่ากับว่าทุกหมวดธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมาหารือกันเรื่องการใช้เทคโนโลยีใช่หรือไม่

ใช่ครับ แต่อย่างที่บอกไปในตอนต้นว่าด้วยเทคโนโลยีที่ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว และจากแนวคิดของผู้ใช้งานที่ต้องการจะใช้งานอย่างไร ฉะนั้นจึงต้องย้อนกลับมาที่การวิจัยและพัฒนาว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ ซึ่ง

อีริคสันได้มีการเตรียมความพร้อมไว้แล้ว โดยจะทำเป็นโซลูชั่นออกมา และในระดับโลกในปีนี้ก็จะมีการโปรโมตเทคโนโลยี 5G ในหลายประเทศ เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี นอกจากนี้อีริคสันยังได้ทำงานใกล้ชิดกับ

ผู้ประกอบการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ประเทศไทยจะเตรียมตัวรับมือเทคโนโลยี 5G อย่างไรเพื่อให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า

ทุกภาคส่วนจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกัน เริ่มตั้งแต่จากรัฐบาล ซึ่งทางรัฐบาลก็ค่อนข้างมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เชื่อมโยงกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกอยู่แล้วว่า โครงสร้างพื้นฐานที่ถูกสร้างขึ้นมารับรองไว้ในอนาคตต้องไปในทิศทางไหน และในส่วนของผู้ควบคุมจะสามารถสอดรับกับนโยบายนี้ได้อย่างไร การเตรียมความพร้อมในการดำเนินการที่จะใช้ทรัพยากร เพื่อตอบสนองความต้องการ 5G เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง และ

ผู้ประกอบการจะเตรียมความพร้อมได้อย่างไร จะสร้างเครือข่ายอย่างไร เพื่อทำให้การเข้ามาของระบบ 5G ทำงานควบคู่ไปกับเครือข่าย 4G เดิมที่มีอยู่ได้อย่างไร ซึ่งก็เป็นในเรื่องของมาตรฐานการลงทุน

ท้ายที่สุดก็คือผู้จำหน่าย ที่จะสร้างความพร้อมให้เกิดอีโคซิสเต็มเข้ามาที่ตลาดได้อย่างไร ซึ่งผู้จำหน่ายก็มีอยู่หลากหลายแขนง ทั้งในส่วนของเครือข่ายผู้ใช้งาน และทางฝั่งของแอพพลิเคชั่น และถ้าทั้งหมดสามารถสอดประสานเข้าด้วยกันได้ ก็จะผลักดันทำให้เกิดเทคโนโลยี 5G ได้

นี่คือความท้าทายของรัฐบาลและหน่วยงานที่กำกับดูแลคลื่นความถี่ที่จะใช้เป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งหากร่วมมือกันวางแผนตั้งแต่วันนี้ก็เชื่อว่าเมื่อเทคโนโลยีมาถึงเราก็สามารถผลักดันและขับเคลื่อนได้ทันที!

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image