การค้าข้ามคาบสมุทร สุดสยามที่เพชรบุรี โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

เมืองเพชรบุรี มีการค้าข้ามคาบสมุทรโดยจีนอุดหนุน ราวเรือน พ.ศ. 1700

เพชรบุรี เป็นพื้นที่ตอนปลายสุดชายขอบการค้าข้ามคาบสมุทรของรัฐลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกการค้าโลก ราวเรือน พ.ศ. 1000

โดยมีพยานสำคัญแสดงการมีอยู่ของชุมชนคนทำการค้าข้ามคาบสมุทรยุคนั้น ได้แก่ เจดีย์ทุ่งเศรษฐี อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งมีอาณาบริเวณครอบคลุมถึงช่องสิงขร อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์

เพชรบุรี เป็นรัฐเอกราชที่ได้รับการอุดหนุนจากจีน เพื่อควบคุมเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทร ตั้งแต่ตอนบนต่อเนื่องลงไปถึงพื้นที่บริเวณเมืองนครศรีธรรมราช ราวเรือน พ.ศ. 1700

บรรพชนคนเพชร

เมืองเพชรบุรีสร้างขึ้น พ.ศ. 1731 อยู่ในความทรงจำของเจ้านายราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่ในคู่มือทูตสยามไปยุโรป

Advertisement

บรรพชนคนเมืองเพชรบุรี ไม่ได้อพยพถอนรากถอนโคนจากตอนใต้ของจีนตามที่บอกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย (ของกระทรวงวัฒนธรรม) และในตำราประวัติ ศาสตร์ไทย (ของกระทรวงศึกษาธิการ)

เมืองเพชรบุรีมีบรรพชนเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว จากนั้นมีคนนานาชาติพันธุ์จากทุกทิศทางโยกย้ายถ่ายเทเข้ามาตั้งหลักแหล่ง และผสมกลมกลืนเข้าด้วยกันแล้วกลายตนเป็นไทย ด้วยการพูดภาษาไทยสำเนียงลุ่มน้ำโขง อย่างเดียวกับสำเนียงหลวงในราชสำนักอยุธยา (ปัจจุบันเรียก เหน่อ)

ชาวสยาม ความเป็นไทย ยุคแรกมีพื้นที่ใต้สุดอยู่เมืองเพชรบุรี (ยุคนั้นรวมประจวบคีรีขันธ์)

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image