แรงเสียดทานที่ต้านไม่ได้ ‘สตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน’

แรกเริ่มจากการลุกขึ้นมาเรียกร้องค่าแรงของคนงานหญิงในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อกว่า 1 ศตวรรษที่แล้ว นำมาซึ่งวันสตรีสากล 8 มีนาคม เพื่อเชิดชูและระลึกถึงความสำเร็จของของพลังสตรีในวันนั้น

ครั้นเวลาผ่านไป ปัญหาของสตรีทั่วโลกแม้จะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ทว่าสตรีก็ยังประสบปัญหาการเข้าไม่ถึงทรัพยากร ถูกลิดรอนสิทธิ รวมไปถึงการถูกกลั่นแกล้งทางกฎหมายและการฟ้องร้องเป็นคดีมากมาย

แต่ยังมีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งที่ไม่ยอมแพ้ ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) จึงถือโอกาสวันสตรีสากล ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งปีนี้มีสตรีและองค์กรผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ ประกอบด้วย มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์, ทีมฟุตบอลบูคู เอฟซี, นุชนารถ แท่นทอง ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค, สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (Enlaw), ดารารัตน์ สุเทศ หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพังงา และ หทัยรัตน์ พหลทัพ ผู้สื่อข่าวอาวุโสสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

Advertisement

อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดบทสนทนาชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ของสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยว่า เรื่องสิทธิถูกจำกัดอยู่มาก ผู้หญิงที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ต้องถูกกล่าวหาว่าท้าทายต่อศีลธรรมเดิม บ้างถูกคุกคามทางเพศทั้งวาจาและการกระทำ ที่สำคัญคือมีการดำเนินคดีเพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ หรือเพื่อสิทธิทางพลเมืองมากขึ้น ทั้งจากรัฐและบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่ง กสม.ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การฟ้องร้องนอกจากทำให้หวาดกลัวแล้ว ยังทำให้นักสิทธิไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ ซึ่งนี่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

พูดถึงแง่มุมของกฎหมายแล้ว สุภาภรณ์ ซึ่งทำงานกับ เอ็นลอว์ ลงพื้นที่กับชุมชนตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับ 2540-2550 เผยว่า หลังรัฐประหาร 3 ปีมานี้ สิทธิมนุษยชนถูกลิดรอนไปมาก โดนคุกคามมากกว่าที่เคยโดนมาทั้งหมด เวลาไปอบรมชาวบ้านจะมีทหาร ตำรวจ ทั้งในและนอกเครื่องแบบมาถ่ายรูป ซักประวัติ และมานั่งฟังการอบรมด้วย ชาวบ้านบางชุมชนถูกเจ้าหน้าที่คุกคามยามค่ำ จะพาไปสอบสวนที่อื่น หลายครั้งก็คิดว่าหากเรากลับไปแล้วชาวบ้านจะอยู่อย่างไร

ขณะที่ ดารารัตน์ สุเทศ เจ้าหน้าที่รัฐคนเล็กๆ ก็ถูกกดดันเช่นกัน เมื่อเธอมีภารกิจดูแลชาวโรฮีนจาที่ลี้ภัยมา กว่าจะช่วยเหลือได้แต่ละกรณีไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของอำนาจ สิบปีที่ผ่านมาเธอจึงถูกตั้งคณะกรรมการสอบ ถูกตรวจบัญชีทรัพย์สิน ถูกบังคับให้เลิกทำเคสต่างๆ ถึงอย่างนั้น ผู้หญิงคนนี้ก็ไม่ได้ย่อท้อ เพราะหน้าที่นี้ทำเพื่อคนไทย

Advertisement
ดารารัตน์ สุเทศ (ขวา) – หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพังงา
สุภาภรณ์ มาลัยลอย (ขวา) – ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

แง่มุมของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image