ย้อนดู ‘กลุ่มวังบัวบาน’ อดีตผู้ยิ่งใหญ่ในไทยรักไทย

ในอดีต พรรคไทยรักไทย ที่ก่อตั้งโดย นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยมีการจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งพรรคไทยรักไทย ถือเป็นพรรคแรกที่จัดตั้งเป็นพรรคแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และถูกยุบโดยศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 และ กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ทั้ง 111 คน ถูกวินิจฉัยเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมือง เป็นเวลา 5 ปี

ในเวลานั้นพรรคไทยรักไทยถือเป็นพรรคน้องใหม่ที่มาแรงเพราะเป็นการรวมตัวจากพรรคการเมืองอื่นมาอยู่ในพรรค โดยมีสมาชิกพรรคที่แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ถึง 14,394,404 คน ซึ่งถือว่าเป็นพรรคพี่มีสมาชิกพรรคมากที่สุดเท่าที่เคยมี

ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2548 พรรคไทยรักไทย ได้ส.ส.ถึง 376 ที่นั่งขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้เพียง 96 ที่นั่ง

ทำให้ส.ส.ในพรรคไทยรักไทย มีการแบ่งกลุ่ม แบงก๊กเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม 16 เดิม กลุ่มวังน้ำยม กลุ่มวังน้ำเย็น กลุ่มวาดะห์ และกลุ่มอีกที่เป็นกลุ่มใหญ่ มีอัตราต่อรองสูง คือกลุ่มวังบัวบาน ของนางเยาวภา วงสวัสดิ์ ที่เป็นน้องสาวของ นายทักษิณ ชินวัตร

Advertisement

วันนี้ มติชน จึงขอนำเสนอที่มาของกลุ่มวังบัวบาน

เหตุที่มีชื่อว่า “กลุ่มวังบัวบาน” นั้น เพราะวังบัวบาน เป็นวังน้ำที่อยู่บนน้ำตกห้วยแก้ว ซึ่งน้ำตกห้วยแก้วนั้น อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มแรกนักการเมืองในภาคเหนือมีการรวมกลุ่มกัน โดยมีนางเยาวภา ภรรยาของนายสมขาย วงศ์สวัส อดีตนายกฯ เป็นหลักในทางภาคเหนือ หลายคนเห็นว่าที่สระแก้วเขามีวังน้ำเย็น กลุ่มนักการเมืองภาคเหนือก็เลยเรียกกลุ่มของตัวเองว่า “กลุ่มวังบัวบาน” ซึ่งก็ล้อมาจาก “กลุ่มวังน้ำเย็น” นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม สมาชิก “กลุ่มวังบัวบาน” ช่วงแรก มีจำนวนมากเรียกว่านักการเมือง และอดีตส.ส.ภาคเหนือสมัยนั้นเกือบจะทั้งหมดในขณะนั้นเลยก็ว่าได้

Advertisement

ซึ่งปัจจุบันหลายคนก็ยังเป็นแกนนำสำคัญของพรรคเพื่อไทย แต่ที่แน่นอนที่สุด คือ มีชื่อนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เป็นแกนนำเสมอมา โดยที่นางเยาวภาเองอาศัยอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ การเคลื่อนไหวของกลุ่มจึงกระทำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นหลัก ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการยกเอาชื่อ “วังบัวบาน” บนน้ำตกห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ มาใช้เรียกเป็นชื่อกลุ่ม

โดยกลุ่มวังบัวบานมีสมาชิก 36 คน ประกอบด้วย

เชียงใหม่
1.น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์
2.นายกฤาดาภรณ์ เสียมภักดี
3.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
4.นายบุญทรง เตริยาภิรมย์
5.นายนพคุณ รัฐผไท
6.นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
7.นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย
8.นายสุรพล เกียรติไชยากร

เชียงราย
1.นายสามารถ แก้วมีชัย
2.นายสฤษฎ์ อึ้งอภินันท์
3.นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์
4.น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์
5.นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์
6.นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
7.นายอิทธิเดช แก้วหลวง

น่าน
1.นางสิรินทร รามสูต
2.นายชลน่าน ศรีแก้ว

พะเยา
1.นายไพโรจน์ ตันบรรจง
2.นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ
3.น.ส.อรุณี ชำนาญยา

แพร่
1.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
2.นางปานหทัย เสรีรักษ์
3.น.พ.นิยม วิวรรธนดิฐกุล

แม่ฮ่องสอน
1.นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์

ลำพูน
1.นายสถาพร มณีรัตน์
2.นายสงวน พงษ์มณี

ลำปาง
1.นายธนากร โล่ห์สุนทร
2.นายกิตติกร โล่ห์สุนทร
3.นายวาสิต พยัคฆบุตร
4.นายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์
5.นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์

สัดส่วน
1.นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์
2.นาย สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
3.พ.ต.ท. กานต์ เทียนแก้ว
4.นายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์

อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งครั้งหน้า หลังจากที่นางเยาวภา ประกาศวางมือทางการเมืองแล้ว บรรดาสมาชิกในกลุ่มจะยังอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาหรือไม่ ต้องรอดูกัน…!!!

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image