09.00INDEX แบบเรียนเร็ว สำหรับพรรคคสช.บทเรียน เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

เห็นการเคลื่อนไหวใช้ “พลังดูด” ของ”พรรคคสช.”โดยมีทำเนียบรัฐ บาลเป็นกองบัญชาการใหญ่
หลายคนอาจนึกถึง จอมพล ป.พิบูลสงคราม
หลายคนอาจนึกถึง จอมพล ส.ธนะรัชต์ จอมพล ถ.กิตติขจร ที่เคยมีบทบาทในการก่อรูปของ”พรรคทหาร”ในกระสวนใกล้เคียงกัน
อย่าเลยภาพของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จอมพล ส.ธนะรัชต์ จอมพล ถ.กิตติขจร ห่างไกลเกินไป
ทำไมไม่นึกถึง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ณ วันนี้ยังไม่ต้องนึกถึง พล.อ.สุจินดา คราประยูร และ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก็ได้
เอาแค่ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ก็พอ

พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ฝึกปรือวิทยายุทธ์ทางการเมืองมากับ พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์
เป็นนายกรัฐมนตรีหลังรัฐประหารเดือนตุลาคม 2520
ต้องการสืบทอดอำนาจโดยอาศัยรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นแบบของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560
สามารถได้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่ต้องลงเลือกตั้ง
แต่ก็อยู่ในตำแหน่งได้เพียง 1 ปีเศษๆในเดือนกุมภาพันธ์ 2523 ก็ถูกบีบให้จำต้องลาออก
คนที่บีบไม่ใช่ใครหากแต่เป็นพวกเดียวกัน
จากนั้นก็ต้องมอบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้กับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
จากนั้น พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ก็ลงเลือกตั้งซ่อม
เป็นการเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นต้นแบบให้นินทากันสนุกสนานในเรื่อง “โรคร้อยเอ็ด”
เป็นอย่างไร “ดร.”จากทุ่งรังสิตสามารถ”ตอบ”ได้

พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ก่อตั้งพรรคชาติประชาธิปไตยและดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค ดึง ส.ส.เข้าร่วมจำนวนหนึ่ง
เลขาธิการพรรคเป็นใคร การต่อสู้แย่งชิงตำแหน่งเลขาธิการ พรรคระหว่างใครกับใครเป็นเรื่องอึกทึกครึกโครม 1 ในแวดวงการเมือง
“ดร.”คนดังจาก”ทุ่งรังสิต”สามารถตอบได้อีกเช่นเคย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image