‘เลือกตั้ง’ ผู้หญิงอยู่ตรงไหน?

จากข้อมูลการใช้สิทธิเลือกตั้งระดับชาติแต่ละครั้ง จะพบว่า “ผู้หญิง” ที่ออกมาใช้สิทธิออกเสียงมากกว่าผู้ชายถึงจำนวนล้านเศษๆ อาจด้วยเพราะโครงสร้างประชากรที่มีผู้หญิงมีมากกว่า แต่อีกทางหนึ่งก็สะท้อนถึงความสำคัญของผู้หญิงต่อการขับเคลื่อนประเทศ

สถาบันบทบาทหญิงชายและการพัฒนาร่วมกับสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ จัดงานเสวนาหัวข้อ “เลือกตั้ง ประชาธิปไตย และการปฏิรูปประเทศ ผู้หญิงอยู่ตรงไหน?” ณ ห้องประชุมบำรุง-วรีวรรณ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ ดอนเมือง กรุงเทพฯ

ดร.ถวิลวดี บุรีกุล

ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้มีคำว่า “สตรี-ผู้หญิง” ในหลายมาตรา อย่างคำว่า “สตรี” มีระบุใน 3 มาตรา เช่น มาตรา 27 ที่ว่าด้วยเรื่องมาตรการพิเศษในการอำนวยความสะดวกแก่สตรีใช้สิทธิเสรีภาพ ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ส่วนคำว่า “ผู้หญิง” มีระบุใน 2 มาตรา คือ มาตรา 27 ว่าด้วยเรื่องชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน และมาตรา 90 ว่าด้วยเรื่องการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งของแต่ละพรรคการเมือง ต้องคำนึงถึงความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง

ดร.ถวิลวดีกล่าวอีกว่า ขณะที่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีหัวข้อหนึ่งระบุถึงเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ได้กำหนดสัดส่วนสตรีในทางการเมืองไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 และกำหนดสัดส่วนสตรีในตำแหน่งบริหารหน่วยงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

Advertisement

“ส่วนตัวยังมองว่าไม่ต้องรอถึง 20 ปี หากเริ่มทำกันตั้งแต่วันนี้ โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่จะเปิดโอกาสให้ผู้หญิง ซึ่งตอนนี้ผู้หญิง และคนหลากหลายทางเพศกำลังเป็นที่สนใจ เป็นเทรนด์ของโลก เชื่อว่าหากได้ให้โอกาสแล้ว พรรคนั้นก็จะได้รับความสนใจและสนับสนุนจากประชาชนเช่นกัน ขณะเดียวกันสถาบันพระปกเกล้าและสถาบันการศึกษาต้องคอยให้ความรู้ คอยสร้างวัฒนธรรมการเมืองว่าผู้หญิงอย่ากลัวที่จะเข้าไป และอย่ารังเกียจพวกเพศสภาพ ถ้าทำได้ เราจะเห็นผู้หญิงเข้าสู่การเมืองตามเป้าหมายภายใน 5 ปี”

เปิดโอกาสให้ “ผู้หญิง”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image