อธิบดีบังคับคดี ถกโมเดลใหม่ของโลก อายัดทรัพย์สกุลเงิน “ดิจิทัล” ไทยตั้งทีมวิจัยศึกษา

เมื่อวันที่ 6 พ.ค. น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา ในการประชุมคองเกรสนานาชาติของสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ ครั้งที่ 23 ตน ได้เข้าร่วม ได้ร่วมอภิปรายและนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลกับการบังคับคดี ในการประชุมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ หลักประกันความยุติธรรมด้านเครื่องมือระบบดิจิทัลเพื่อความยุติธรรมที่ยั่งยืน ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้เป็น เป็นเรื่องสำคัญและมีความท้าทายกับการทำหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี และถือว่า เป็นเวทีแรกในประเทศไทยที่มีการหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ระหว่างกันในเรื่องนี้ ภายใต้โลกของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและพัฒนาการของเทคโนโลยีและดิจิทัลในกรอบยุคดิจิทัลซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดี มีความจำเป็นต้องคิดไปข้างหน้า ทำงานเชิงรุก และรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

น.ส.รื่นวดี กล่าวอีกว่า  ซึ่งตนได้นำเสนอต่อที่ประชุมใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1. เรื่องความหมายของสกุลเงินดิจิทัลและประเภทของสกุลเงินดิจิทัล โดยความหมาย ความหมายของสกุลเงินดิจิทัลและประเภทของเงินดิจิทัล ตามหลักสากล ความหมายของเงินตรา ต้องมีองค์ประกอบครบ 3 ประการ คือ สามารถเป็นหน่วยวัดได้ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเก็บรักษามูลค่าได้ ) เงินดิจิทัลหรือ เป็นสกุลเงินในรูปแบบใหม่) สร้างขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีรูปร่าง และไม่สามารถจับต้องได้ ณ เวลานี้ มีเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin Ethereum Ripple Dash เป็นต้น ดังนั้นจำเป็นต้องพิจารณาว่า สุกลเงินดิจิทัลเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกับเงินตราหรือไม่ และจะกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัลอย่างไร

น.ส.รื่นวดี กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทย สกุลเงินดิจิทัลหรือหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ถือเป็นเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไทย ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้น สกุลเงินดิจิทัลจึงไม่เป็นเงินตรา อย่างไรก็ตาม ประชาชนมีการซื้อขายและลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลนี้ และมีการระดมทุน สกุลเงินดิจิทัล cryptocurrency ด้วย ซึ่งขณะนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำกับดูแลอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดเก็บภาษีอากรด้วย

Advertisement

น.ส.รื่นวดี กล่าวต่อว่า  ส่วนประเด็นที่ 2 คือเรื่องของจะสามารถบังคับคดีสกุลเงินดิจิทัลได้หรือไม่ ประเด็นนี้ถือว่ามีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี เพราะ หากโจทก์ตามคำพิพากษาแจ้งว่า จากการสืบทรัพย์ของจำเลย พบว่าจำเลย มีสินทรัพย์ดิจิทัล สกุลเงินดิจิทัล หรือมีการลงทุนในcryptocurrency และขอให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการบังคับคดีอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่มีความจำเป็นและความท้าทายในการหารือร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางดำเนินการ ซึ่งในต่างประะเทศก็ไม่มีหลักปฏิบัติเช่นกัน ประเด็นที่ 3 คือหากบังคับคดีได้จะดำเนินการอย่างไร ซึ่งก็ยังมีประเด็นถกเถียงกัน คือหากมีการบังคับโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินใด สำหรับสกุลเงินดิจิทัลที่เป็นหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จะกำหนดให้จำเลย ส่งมอบรหัสผ่าน หรือกุญแจของบัญชี หรือส่งมอบสิ่งใดและหากมีการบังคับคดีได้ จะมีคำถามต่อมาว่า เมื่อจะทำการขายทอดตลาดเงินดิจิทัลดังกล่าว จะประเมินมูลค่าของเงินดิจิทัลอย่างไร เนื่องจาก โดยสภาพมูลค่าของ เงินดิจิทัลมีความผันแปรสูงมากและสามารถเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา

น.ส.รื่นวดี ยังกล่าวว่า ประเด็น ที่ 4 ที่่นำเสนอคือ 4.ความจำเป็นในการศึกษาวิจัยเพื่อความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจน ซึ่งกรมบังคับคดีได้พัฒนาระบบการทำงานโดยนำระบบเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการทำงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อพัฒนาเจ้าพนักงานบังคับคดีและกรมบังคับคดี เป็น LED 4.0 ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อพัฒนา Thailand 4.0 ในเรื่องสกุลเงินดิจิทัลกับการบังคับคดี ทั้งนี้กรมบังคับคดีได้เตรียมความพร้อมรองรับ โดยได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาวิจัยและกำหนดโครงการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจที่ชัดเจน อันจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและแนวทางดำเนินการต่อไป ดังนั้น เวทีการประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งนี้ที่กรมบังคับคดีได้มีโอกาสนำเสนอความเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ถือเป็นการจุดประกายความคิดและเป็นก้าวแรกที่สำคัญสำหรับการพัฒนาในเรื่องนี้

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image