กินให้สุขภาพดี! รู้ทันอาหาร ‘หวาน มัน เค็ม’

หวาน มัน เค็ม

รู้ทันอาหาร ‘หวาน มัน เค็ม’

สาเหตุหลักของโรคร้ายที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน ล้วนมาจากพฤติกรรมการกินอาหาร “หวาน มัน เค็ม” ที่ด้านหนึ่งให้ความอร่อย แต่อีกด้านหนึ่งก็นำมาซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

หวาน มัน เค็ม – อาทิ โรคเบาหวาน กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง ฯลฯ ตลอดจนการเสียชีวิตของคนไทย บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จึงนำผู้เชี่ยวชาญอาหารมาทำความเข้าใจ

เริ่มที่ “หวาน” ซึ่งไม่ได้มีเพียงปริมาณน้ำตาลที่เติมเพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร แต่ยังรวมถึงน้ำตาลที่อยู่ในอาหาร ขนม และเครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งการกินน้ำตาลมากเกินไป ทำให้อ้วนง่ายขึ้น และทำลายคอลลาเจนในผิวหนัง ฉะนั้นควรบริโภคให้เหมาะสมคือ ผู้ใหญ่ควรบริโภคน้ำตาลที่เติมลงในอาหารหรือเครื่องดื่มไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (หรือ 24 กรัม) ส่วนเด็กไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวัน (หรือ 16 กรัม) โดย 1 ช้อนชาเท่ากับ 4 กรัม

ต่อที่ “มัน” มาจากปริมาณน้ำมันในการประกอบอาหาร รวมถึงไขมันที่อยู่ในขนมขบเคี้ยว อาหารประเภททอด และอาหารแปรรูปต่างๆ ที่มีไขมันแฝงตัวอยู่ อาทิ ไส้กรอก ทูน่ากระป๋อง ขนมเค้ก ของหวานน้ำกะทิ เบเกอรี่ ซึ่งการบริโภคไขมันสูงเกินไป เสี่ยงต่อโรคอ้วนและความดันโลหิตสูง ฉะนั้นควรบริโภคไขมันไม่เกิน 65 กรัมต่อวัน หรือใช้น้ำมันประกอบอาหารไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน

Advertisement

และ “เค็ม” โซเดียม การกินเค็มมากเกินไปทำให้เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงและโรคไต ฉะนั้นควรบริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 1 ช้อนชาต่อวัน (หรือ 2,000 มิลลิกรัม) ทั้งนี้ แหล่งที่มาของโซเดียม ไม่ใช่แค่เกลืออย่างเดียว แต่ยังรวมถึงโซเดียมแฝงในอาหาร อาทิ อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูปขนมขบเคี้ยว อาหารหมักดอง ตลอดจนเครื่องปรุงรสนานาชนิด ฉะนั้นเราควรชิมก่อนปรุง และปรุงรสชาติอาหารแต่พอเหมาะ

ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต

ด้าน ศ.วิสิฐ จะวะสิต ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารศึกษา คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ และอาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในผลิตภัณฑ์อาหารจะมีระบุข้อมูลทางโภชนาการอยู่ด้านหลังผลิตภัณฑ์ อาจผู้บริโภคอาจมองว่ามีความซับซ้อนและสังเกตเห็นได้ยาก ทำให้ผู้บริโภคอาจไม่มีเวลาอ่านฉลาก ปัจจุบันจึงมีสัญลักษณ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ ที่ปรากฏอยู่ด้านหน้าของผลิตภัณฑ์ ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้รวดเร็วขึ้น

Advertisement

“การที่ผู้บริโภคเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพ คิดว่าจะทำให้เกิดความสนใจหาความรู้และศึกษาข้อมูลโภชนาการมากขึ้น และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ลดการบริโภคอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง ทำอาหารผัดและทอดน้อยลง และเพิ่มการบริโภคผักผลไม้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมโภชนาการเพื่อสุขภาพอย่างยั่งยืน” ศ.วิสิฐกล่าว

สุขภาพที่ดี เริ่มจากรับประทานอาหารให้สมดุล

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image