วัดพลัง ชิงเก้าอี้ “ประธานสภา” “พปชร.” พ่ายไม่ได้ เซฟเก้าอี้นายกฯ

 ไทม์ไลน์เปิดประชุมรัฐสภาชัดเจน ในวันที่ 24 พฤษภาคม ที่ห้องประชุมวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศจากนั้นกระบวนการเลือกประมุขของแต่ละสภาจึงเริ่มต้นนับหนึ่ง โดยฝั่งของสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) นัดสมาชิกส.ว.

ประชุมทันทีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา เพื่อเลือกประธานส.ว. และรองประธานส.ว.ทั้งสองคน

เต็งหนึ่งแบบนอนมาในเก้าอี้ประธานส.ว. คงไม่พ้น “พรเพชร วิชิตชลชัย” ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)

เข้ามาทำหน้าที่ดูแลการเมืองในฝั่งของวุฒิสภา ซึ่งหลายฝ่ายยังวิเคราะห์ตรงกันว่า 250 ส.ว. คงไม่มีใครกล้าแตกแถว

Advertisement

ในภารกิจแรก คือ การประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ กับเป้าหมาย ให้ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คัมแบ็กนั่งนายกฯ

แต่ที่ฝ่ายการเมืองยังต้องลุ้นกันจนนาทีสุดท้าย คือ การโหวตเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะทำหน้าที่ประธานรัฐสภาโดยตำแหน่งด้วยนั้น

ทั้งสองขั้วที่รวมเสียงแข่งกันตั้งรัฐบาลและชิงเก้าอี้นายกฯ ทั้งฝั่งของพรรคเพื่อไทย(พท.) และฝั่งของพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ต่างไม่มีใครจะยอมพ่าย

Advertisement

เสียง ของฝั่งพท.จับมือกันแน่นที่ 245 เสียง ขณะที่ฝั่งพปชร.ที่คอนเฟิร์มว่าอยู่ด้วยกันมีอยู่แล้ว 150 เสียง
ยังรอเพียงเสียงของ 2 พรรคตัวแปร คือ พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) 52 และ พรรคภูมิใจไทย 51 เสียง ที่มีเสียงรวมกันถึง 103 เสียง มาเป็นผู้ชี้ขาดเก้าอี้ประธานสภาฯ

เป้าหมายของพรรคพปชร. คือ ต้องรวมเสียงของทั้งพรรคปชป.และพรรคภท. เพื่อให้ได้ 253 เสียง
เอาชนะเสียงของส.ส.ในฝั่งของพรรคพท.อยู่ 8 เสียง

แต่การโหวตเลือกประธานสภาฯ
ซึ่งจะใช้การโหวตลับชี้ขาด จึงเป็นอีกบทพิสูจน์ของคีย์แมนที่เดินเกมการเมืองของพรรคพปชร.ว่าจะคุมเสียงพรรคแนวร่วม

ในการเลือกประธานสภาฯ ให้อยู่กับฝ่ายของพรรคพปชร.ได้หรือไม่

ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับพรรคแนวร่วม ที่จะร่วมกันโหวตเลือกนายกฯในสเต็ปต่อไป

ตรงข้าม หากฝั่งของพรรคพปชร.ไม่สามารถเลือกประธานสภาฯให้อยู่กับฝั่งของตัวเองได้แล้ว
อาจจะเกิดโดมิโนลามไปถึงเก้าอี้นายกฯของพรรคพปชร.ก็เป็นได้

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image