นิวส์รูมวิเคราะห์ : ถามหา “คนอยู่เบื้องหลัง”

หลายครั้งที่การแสดงออกทางการเมืองที่เหมือนจะไม่เป็นคุณหรือยืนตรงกันข้าม ถูกมองว่า “มีคนอยู่เบื้องหลัง”

“พานไหว้ครู” ของเด็กนักเรียนแสดงออกถึงเหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ก็ไม่เป็นที่พอใจ ทั้งที่เพียงแค่ล้อการเมือง ไม่ว่าจะพานรูปตราชั่งเอียง หรือการสร้างพานเปรียบเทียบคู่แข่งชิงนายกฯ ระหว่าง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ก่อนถูกสรุปว่า “เชื่อว่ามีคนอยู่เบื้องหลัง เพราะเด็กจะไปคิดแบบนี้ได้อย่างไร

หากย้อนไปถึงการแสดงออกทางการเมืองของ “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” ที่ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนเป็นนักศึกษา ก็เจอมองว่า น่าจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ไม่คิดว่าจะกล้าได้ หือกันได้ขนาดนี้

Advertisement

ขบวนล้อการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฟุตบอลประเพณีช่วงรัฐบาลคสช.ก็ถูกตั้งข้อสังเกต มีคนอยู่เบื้องหลัง

หรือ “เพลงประเทศกูมี” ถูกแชร์เผยแพร่อย่างท่วมท้น เมื่อเดือนต.ค.61

โฆษกรัฐบาลขณะนั้นบอกว่า “เสียใจที่เยาวชนมาทำเพลงในลักษณะนี้ ไม่แน่ใจว่าทำด้วยความตั้งใจของตัวเอง หรือมีใครอยู่เบื้องหลัง”

Advertisement

เลยสงสัยกันว่าการเมืองเป็นเรื่องของทุกคนหรือไม่

การแสดงออกทางการเมืองที่ไม่ได้เกินเลยขอบเขตเป็น “ความคิดที่แตกต่าง” เป็นสิทธิเสรีภาพที่พึงกระทำอย่างเหมาะสม ในเมื่อคนกลุ่มนี้ต่างก็ยังยอมรับฟังความคิดเห็นการเมืองและการแสดงออกของ “ผู้มีอำนาจ” มาหลายปีแล้วเช่นกัน

ข้อเท็จจริงของโลกพบว่า มีประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยมากกว่าประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

แต่ในประเทศที่ยึดประชาธิปไตยจะเต็มใบ ครึ่งใบหรือถูกล้อเลียนว่าเป็นประชาธิปไตยโลก 2 ใบ ก็ตาม ยังต้องวัดกันด้วย “คุณภาพ“ด้วยว่าบริหารประเทศได้อย่างที่พูดไว้หรือไม่

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image