เรียงคนมาเป็นข่าว : โดย ชโลธร : ประจำวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2563

มอบหน้ากาก - เครือสหพัฒน์ โดย วราภรณ์ กุลสวัสดิ์ภักดี และพัชราภรณ์ วัฒนสุข มอบหน้ากากอนามัยผ้า จำนวน 10,000 ชิ้น ให้กับศาลยุติธรรม เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับบุคลากรของศาลยุติธรรม ประชาชน คู่ความ และพยานที่มาศาล เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อเร็วๆ นี้

ร่วมพิธีชนินทธ์-วิภาดา โทณวณิก, สินี เธียรประสิทธิ์ และสุนงค์-พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค พร้อมครอบครัว ร่วมพิธีสวดพระอภิธรรม ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ผู้ก่อตั้งโรงแรมดุสิตธานี ที่ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบด้วยวัย 99 ปี ณ ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อเร็วๆ นี้

ให้ความรู้ผช.ศ.นพ.วีรชัย ศรีวณิชชากร อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ และศูนย์เบาหวาน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายให้ความรู้สาเหตุว่าทำไมผู้ป่วยเบาหวานถึงเป็นกลุ่มเสี่ยง Covid-19 ณ ศูนย์เบาหวานศิริราช เมื่อเร็วๆ นี้

Advertisement

มอบคิเรอิบุญฤทธิ์ มหามนตรี ปธ.กก. ชมัยพร สถิตย์พนาพร กก.บห.ฝ่ายบัญชี การเงิน และเทคโนโลยีสารสนเทศ และประภาศรี บุญอินทร์ ผจก.บห.ฝ่ายบัญชี บจ.ไลอ้อน (ประเทศไทย) พร้อมด้วย วราภรณ์ กุลสวัสดิ์ภักดี มอบผลิตภัณฑ์โฟมล้างมือและเจลล้างมือคิเรอิคิเรอิ จำนวน 7,200 ขวด/หลอด ให้กับ ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา และเมทินี ชโลธร รองประธานศาลฎีกา เพื่อนำไปให้บุคลากรของศาลยุติธรรม คู่ความ และประชาชน ใช้ทำความสะอาดป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ณ ศาลฎีกา ถนนราชดำเนินใน เมื่อเร็วๆ นี้

Advertisement

ร่วมใจสู้ภัยโควิด มณีสุดา ศิลาอ่อน ผอ.สำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บมจ.เอส แอนด์ พี ซินดิเคท มอบผลิตภัณฑ์คุกกี้แก่กรุงเทพมหานคร โดยมี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. และ ศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัด กทม. เป็นผู้รับมอบ ภายใต้โครงการ S&P ร่วมใจ สู้ภัยโควิด-19Ž ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เมื่อเร็วๆ นี้

แจกข้าว พรพิมล กิริวรรณา ผอ.สายการตลาด พร้อมด้วย มัลลิกา บุระขันธ์ ผอ.ฝ่ายสื่อสารการตลาด บมจ.ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุง ตราข้าวมาบุญครอง มอบผลิตภัณฑ์ข้าวรวงแก้วและน้ำดื่มคูลพลัส สำหรับบรรจุในถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด เพื่อนำไปมอบให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 ภายในชุมชนเขตบางเขน โดยมี ธนะสิทธิ์ เมธพันธ์เมือง ผอ.สำนักเขตบางเขน เป็นผู้รับมอบ ณ สำนักงานเขตบางเขน เมื่อเร็วๆ นี้

ล็อกซเล่ย์ปันสุขสมภพ เจริญกุล ที่ปรึกษาประธานกรรมการ และจรัสพงศ์ ล่ำซำ ผอ.ฝ่ายกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม บมจ.ล็อกซเล่ย์ พร้อมทีมผู้บริหาร นำสิ่งของเครื่องใช้ อาหารสำเร็จรูป อาหารแห้ง และยาสามัญประจำบ้าน ร่วมแบ่งปันใส่ตู้ปันสุข ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ล็อกซเล่ย์ แบ่งอิ่ม ปันสุขŽ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าอาคารล็อกซเล่ย์ คลองเตย

บริจาคนม ผลิตภัณฑ์เอนฟาโกร นำโดย โรหิต จินดัล ผอ.ฝ่ายบริหาร บจ.มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) สนับสนุนนมผงและนมพร้อมดื่มสำหรับเด็กเอนฟาโกร จำนวน 140 ลัง ให้แก่ จุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในโครงการรับมอบของบริจาคจากภาคเอกชนและประชาชน เพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ณ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อเร็วๆ นี้

ช่วยแพทย์กิตติพนธ์ นามพิชญ์ธนสิน ปธ.จนท.บห. บจ.คิสออฟบิวตี้ พร้อมด้วยพนักงาน ร่วมส่งมอบแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ YUMA Sanitizer (ยูมะ ซานิไทเซอร์) ให้แก่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินโควิด-19 โดยมี นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และ นพ.ภาณุวัฒน์ ปานเกตุ เป็นตัวแทนรับมอบ ณ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเร็วๆ นี้

เชลล์ห่วงใย บจ.เชลล์แห่งประเทศไทย นำโดย ปนันท์ ประจวบเหมาะ ปธ.กก. มอบเงินสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัยด้านสุขอนามัย การดูแลจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น และเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขในระยะฟื้นฟู ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี โดยมี ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดี และ ศ.คลินิก นพ.พรชัย มูลพฤกษ์ รองคณบดี เป็นผู้แทนรับมอบ เมื่อเร็วๆ นี้

 

⦁…ถ้าเอาตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นคำตอบ “โควิด-19” สำหรับประเทศเรา “ไม่มีอะไรต้องกังวลแล้ว” แต่ดูเหมือนว่า “ผู้มีอำนาจกำหนด” ยังเอา “ความวิตกว่าเชื้อยังไม่หมดจากคนไทย” เป็นตัวตั้ง จึงยังละล้าละลัง “ไม่กล้าพอจะให้ปล่อยให้ชีวิตกลับคืนสู่ปกติ” ยังท่อง “ตั้งการ์ดให้สูงไว้ อย่าประมาท” ไม่ขาดปาก ขณะที่เสียงเตือนเรื่อง “ภาวะเศรษฐกิจ” ว่า “หากขืนดันทุรังให้หยุดทำมาหากินต่อไป โอกาสจะฟื้นฟูจะยิ่งยากเย็น” เป็นสองสภาวะที่ “ปะทะกันรุนแรง” ระหว่างความปลอดภัยจากโรคของ “คนอิ่ม” กับปัญหาปากท้องของ “คนหิว” ความน่าสนใจที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้นำประเทศ จะเลือกดูแล “ชีวิตใคร”

⦁…มีแนวโน้มว่าจะผ่อนปรนมากขึ้น เพื่อเปิดทางทำมาหากิน โดยเฉพาะคนทำมาค้าขาย ไม่ว่าจะเป็น “ในห้างหรือข้างถนน” ไม่ว่าเป็น “ร้านใหญ่หรือร้านเล็ก” ปัญหาใหญ่คือ “เคอร์ฟิว” ห้ามออกจากบ้าน 4 ทุ่ม-ตี 4 ซึ่งสร้าง “วิถีชีวิตของการทำมาหากินที่ยากยิ่ง” ทั้งที่ยิ่งนานวันยิ่งเห็นชัดว่า “เคอร์ฟิว” แทบไม่มีผลต่อการระบาดของโลก
“ไม่มีสถิติว่าเกิดความเจ็บป่วยเพราะการใช้ชีวิตยามค่ำคืน” เชื้อไม่ได้เลือกว่า
“ไม่ติดกลางวัน แต่ติดกลางคืน”

⦁…กระแส “ตู้ปันสุข” ถือเป็นเรื่องดีของโอกาสแห่งการแบ่งปัน แน่นอนเริ่มด้วยการ “หยิบขนกันไม่รู้จักพอ” อย่าได้ติดข้องหมองใจเลย ของในตู้ก็แค่ “อาหารราคา
ไม่กี่บาท” แต่มีค่าสำหรับคนยากไร้ หากจะเอาไปตุนบ้าง ก็ตุนไปกิน หรือหากจะขนไปขาย “คงไม่ได้กี่สตางค์” เขาอาจมีความจำเป็นต้องใช้เงิน แบบที่ “คนอยู่ดีมีสุข”
ไม่เข้าใจ “ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน” หรือ “แม้แต่ค่านมลูก” อาจจะเป็นภาระที่
“ไม่เจอกับตัวเองไม่มีวันเข้าใจ” ถ้าจะตีค่าเป็น “ความโลภ ความไม่รู้จักพอ” แรงกดดันจากกิเลสแบบนี้เห็นได้ทั่วไป ในคนทุกระดับ ไม่ใช่เฉพาะช่วงโควิดเท่านั้นด้วยซ้ำ แต่แทบ “ทุกชนชั้น” เป็นมายาวนาน และ “หนักกว่าคนหิวด้วยซ้ำ”

⦁…เดือน “พฤษภาคม” กับการเมืองไทย มี “ประวัติศาสตร์ให้รำลึกมากมาย” ถึงวาระเช่นนี้ ทุกปีมีการทบทวนความทรงจำมาตลอด ใครทำอะไรไว้อย่างไร จะมีคนรื้อขึ้นมาให้ดูใหม่ บางคนอาจจะ “ขนหัวลุก” เพราะถูกรื้อคือเรื่องที่เป็น “ปมสำนึกผิดในใจ” แต่หากมองในภาพรวมย่อมเป็นเรื่องที่ดี เนื่องเพราะเป็นการกระตุ้นให้คิดถึงบทเรียน ว่าที่แต่ละคนทำอะไรกันไว้ “ภาพในใจของประชาชนรุ่นหลังจะเป็นอย่างไร” การเขียน “ประวัติศาสตร์ยุคใหม่” ไม่มีใครกำหนดได้ เพราะเครื่องมือในการบันทึกเพื่อเผยแพร่สู่ธาธารณะอยู่ในมือทุกคน ที่สำคัญคือปิดกั้นเหมือนในอดีตที่ “ประวัติศาสตร์เป็นไปตามที่มีอำนาจกำหนด” ไม่ได้

⦁…แม้ที่สุดแล้วคำตอบเรื่อง “การบินไทย” อาจจะเป็นไปตามที่ “นายกรัฐมนตรี” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า คือ “ไม่ถึงขั้นนั้น” อันหมายความว่า “ไม่ถึงกับปล่อยให้ล้มละลายเหมือนธุรกิจทั่วไปที่ขาดทุน” ซึ่งในความหมายอีกมุมคือ “เข้าไปอุ้มบางส่วน” ทว่าถึงวันนี้ดูจะไม่ง่ายเสียแล้ว เพราะ “ข้อมูลที่ล้นทะลักออกมานั้น” ปลุกความรู้สึกประชาชนจน “อยากให้เป็นไปอีกทาง” คือ “รับกรรมที่ก่อไว้” แม้จะปลอบใจ
ตัวเองว่า “ตัดสินใจโดยไม่หวังผลการเมือง” แต่ที่สุดแล้ว ประชาชนที่จะแสดงความไม่พอใจกับการ “ใช้เงินที่กู้มา” ให้เป็นภาระของชาติไปในทางที่ขัดใจ อาจจะ “ไม่ขอทน
โดยไม่หวังผลทางการเมือง” เช่นเดียวกัน

⦁…ยังมีอีกเรื่องที่จะต้องพูดกันไม่จบแน่ คือ มาตรการนำ “เงินกู้เป็นแสนล้าน”
ไปค้ำประกันพันธบัตรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ จะถูกผสมเข้าไป เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ประชาชนเกิดอารมณ์ร่วมเหมือน “การบินไทย” แต่เปิดสภา “22 พ.ค.นี้” น่าจะเป็นวาระที่ระเบิดเถิดเทิง “ฝ่ายค้านต้องหยิบยกขึ้นมาถล่ม” กันไม่ยั้งแน่ และนั่นจะเรียกความสนใจจากประชาชนที่ ขอ “5,000 บาท” ยังไม่ได้อย่างกว้างขวาง

⦁…ดูจากการเดินเกมของ “คณะก้าวไกล” ของ “ผู้นำอดีตพรรคอนาคตใหม่” ที่ “เข้มเต็มร้อย” แบบไม่เหลือ “ไมตรีที่จะญาติดีกับผู้กุมอำนาจ” อีกต่อไป ย่อมทำให้ “การเมืองหลังโควิด” เป็นเรื่อง “ดุเดือดเลือดพล่าน” ชนิดไม่มีไว้หน้ากันอีก “เกมแบบนี้” สำหรับ “ตัวสนับสนุนที่ไม่โยงกับประชาชน” ออกมาช่วยได้ยากเย็น เพราะจะถูกสวนกลับชนิด “เหวอะหวะ” ไม่โปร่งใสจริง ถึงขั้นเสียผู้เสียคน

ชโลทร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image