ที่ประชุมสภาชงตั้ง กมธ. แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5

แฟ้มภาพ

เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานประชุม มีญัตติด่วนตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยนายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้อภิปรายถึงปัญหาผลกระทบของฝุ่นต่อสุขภาพของประชาชนและการท่องเที่ยว หากเราไม่แก้ปัญหาจะทำให้ประเทศไทยติดภาพลบ โดยสาเหตุของปัญหาคือ จากมนุษย์ที่เกิดจากเกษตรกรรม และไม่เกี่ยวกับการเกษตรคืออุตสาหกรรม รถยนต์ หมอกควันที่ไม่ได้เกิดจากมนุษย์คือไฟป่า ดังนั้น ความท้าทายการแก้ปัญหา โดยในพื้นที่ภาคเหนือความเชื่อการเผาผืนที่เกษตรกรรมส่งผลดีในการปลูกรอบต่อไปซึ่งไม่ผิดเพราะเป็นวิถีดั้งเดิม ดังนั้นต้องให้ความรู้และเยียวยา ขณะเดียวกันช่วงหนึ่งนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจของรัฐบาลให้ปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น อ้อย ข้าวโพด ถึงตอนนี้จะส่งเสริมให้ปลูกพืชยืนต้นก็ขาดการแก้ปัญหาระยะยาว ส่วนปัญหาของ กทม. ยังมีเรื่องหมอกควันข้ามแดนจากเห็นฮอตสปอตเห็นว่าหลายพื้นที่ลอยเข้ามาและไทยลอยออกไป เห็นว่าการแก้ปัญหายังไม่ชัดเจนและขาดช่องทางกลไกนี่ถือเป็นวาระแห่งภูมิภาค แต่ละประเทศในอาเซียนขาดแผนระยะยาว

“รัฐบาลแก้ปัญหาแต่เฉพาะหน้าส่วนใหญ่ แต่เรื่องนี้เกิดปัญหาตั้งแต่ปีที่แล้ว มีมาตรการระยะสั้น กลาง ยาวหลายมติที่ผ่านครม. มีการสั่งการทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องแต่วันนี้ก็ยังไม่เห็นผลอะไรเลย ทั้งที่นายกฯบัญชาการเองทำไมยังแก้ไม่ได้ ล่องลอยแก้ปัญหาไม่ได้เพราะหน่วยงานขาดเอกภาพ ทั้งนี้ จึงมีความจำเป็นต้องตั้ง กมธ. 1.ขาดองค์ความรู้ทั้งระบบ มีความรู้ระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้ในการจัดการหลังวิกฤตหมอกควันสิ้นสุด 2.การจัดการความรู้ที่แยกส่วนไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน 3.มีความรู้จากรัฐ แต่ไม่มีพื้นที่ให้เอกชนและประชาชนให้ต่อยอดศึกษาอย่างจริงจัง ประเด็นที่สำคัญที่สุดเรื่ององค์ความรู้ในการจัดการหมอกควันในมิติต่างๆ เสนอแนะให้รัฐบาล กมธ.จะเสนอกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ความรู้มี 2 ประเภท ความรู้ที่เกี่ยวสถานการณ์ปัญหาและความรู้บริหารจัดการ”

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อภิปรายว่า การเกินฝุ่นละอองจากหลายสาเหตุ เกิดขึ้นเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน มีการขยายวงกว้างหากไม่ได้รับการป้องกันจะเป็นสาเหตุมะเร็งปอด ทางเดินหายใจ แม้มีมาตรการออกมายังไม่สามารถแก้ปัญหาได้หรือการประชาสัมพันธ์ ส่งผลต่อชีวิตประชาชนและต้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนและเป็นระบบ รัฐบาลต้องส่งเสริมให้ใช้น้ำมันเอ็นจีวีและ รถยนต์ ไฟฟ้า ขณะที่รัฐบาลส่งเสริมให้ใช้รถยนต์สาธารณะที่มีอายุ 30 ปีของ ขสมก.จะไปลดฝุ่นได้อย่างไร ต้องให้ความสำคัญรถยนต์เอ็นจีวี ขณะที่ค่าโดยสารรถไฟฟ้า สิงคโปร์ ถูกกว่าไทย 6.37 เท่า ฮ่องกง ไทยแพงกว่า 3.28 เท่า อังกฤษในลอนดอนเกือบเท่ากัน 0.478 ดอลลาร์ ลอนดอน 0.402 ดอลลาร์ แต่ค่าของชีพสูงกว่าไทยเยอะ ดังนั้นรัฐบาลต้องมาแก้ปัญหาลดค่าโดยสารให้ประชาชน รวมถึงรถเมล์ด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image