เลขาฯองค์กรต้านคอร์รัปชั่น ทวงคืบหน้า 4 ปมใหญ่โควิด คาใจผู้คน ดำเนินคดีถึงไหนแล้ว?

เลขาฯองค์กรต้านคอร์รัปชั่น ทวงคืบหน้า 4 ปมใหญ่โควิด คาใจผู้คน ดำเนินคดีถึงไหนแล้ว?

เมื่อวันที่ 17 เมษายน นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก แสดงความเห็นปัญหาการสงสัยการบริหารจัดการวิกฤตโควิด 19 ระบุว่า ใครรู้บ้าง เรื่องไปถึงไหนแล้ว..

ทุกกรณีคดโกงบ้านเมือง เอาเปรียบประชาชน หรือซ้ำเติมปัญหาบ้านเมืองในยามวิกฤติโควิด ล้วนมี “หน่วยงานที่มีหน้าที่ติดตามดำเนินคดีหรือเป็นผู้เสียหาย” แต่หลายเรื่องกลับเงียบหายไม่คืบหน้า

ดังนั้นขอให้เรามาช่วยกันติดตามทวงถาม “หัวหน้าหน่วยงาน” เหล่านั้นให้รู้กันว่า เรื่องแย่ๆ ที่คนรู้กันทั่วเมืองเหล่านี้ เมื่อไหร่จะคืบหน้า หรือว่าจะอะลุ้มอล่วย ตั้งใจดึงให้ล่าช้าจนคนเบื่อและลืม หรือรอจนหมดอายุความ

1. กรณี “กักตุนหน้ากากอนามัย” มีข้อหาและหน่วยงานที่มีหน้าที่ติดตามดำเนินคดี

Advertisement

1.1 กักตุนสินค้า ขายสินค้าเกินราคาควบคุม, หน่วยงาน กระทรวงพาณิชย์
1.2. ยักยอก ลักทรัพย์ หน้ากากที่ราชการต้องนำไปแจกจ่ายประชาชน, หน่วยงาน กระทรวงพาณิชย์
1.3. เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง, หน่วยงาน หน่วยงานต้นสังกัด, ป.ป.ช.
1.4. นักการเมืองหรือบุคคลในกำกับดูแลกระทำการขัดต่อประมวลจริยธรรม, หน่วยงาน รัฐสภา, ครม.
1.5. โพสต์ข้อความอันเป็นเท็จลงในระบบคอมพิวเตอร์, หน่วยงาน กระทรวงดิจิทัล, ตำรวจ ปอท.

2. กรณี “เรียกค่านายหน้าออกใบอนุญาตนำเข้าเครื่องมือทางการแพทย์” น้ำยา-ชุดตรวจไวรัส (PCR)

2.1. เจ้าหน้าที่ของรัฐเรียกรับสินบน มีผลประโยชน์ทับซ้อน, หน่วยงาน หน่วยงานต้นสังกัด, ป.ป.ช.
2.2. ความผิดทางวินัย, หน่วยงาน กระทรวงสาธารณสุข

Advertisement

3. กรณี “จัดชกมวยขัดมติ ครม.” ทั้งที่สนามมวยรัฐและเอกชน

3.1. ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ความผิดทางวินัย, หน่วยงาน กองทัพบก
3.2. ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรืออำนาจกำกับดูแล, หน่วยงาน การกีฬาแห่งประเทศไทย
3.3. เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง, หน่วยงาน หน่วยต้นสังกัด, ป.ป.ช.
3.4. เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง, หน่วยงาน หน่วยต้นสังกัด, ตำรวจ ปปป., ป.ป.ช.

4. กรณี “แจกเงินมาตรการเยียวยา 5,000 บาท” ผู้เดือดร้อนจากโควิด แต่มีคนให้ข้อมูลหรือปล่อยข่าวเท็จ

4.1. มีพฤติกรรมฉ้อโกง แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ, หน่วยงาน กระทรวงการคลัง
4.2. โพสต์ข้อความอันเป็นเท็จลงในระบบคอมพิวเตอร์, หน่วยงาน กระทรวงดิจิทัล, ตำรวจ ปอท.
4.3. กระทำการโดยมีเจตนาให้ร้ายแก่รัฐด้วยการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ, หน่วยงาน กระทรวงดิจิทัล, ตำรวจ ปอท.

“โกงในช่วงโควิด-19 คือโกงชีวิตคนทั้งชาติ: จับให้ได้ จับให้เร็ว ลงโทษให้สาสม”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image