‘สาทิตย์’ แนะชุมนุม ‘ลดอารมณ์’ กำหนดคนกลาง ไกล่เกลี่ย หวัง ‘ชัยชนะ ที่ไม่มีคนตาย’

‘สาทิตย์’ แนะชุมนุม ‘ลดอารมณ์’ กำหนดคนกลาง ไกล่เกลี่ย หวัง ‘ชัยชนะ ที่ไม่มีคนตาย’

เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 17 กันยายน ที่ห้องสตูดิโอ ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน กรุงเทพฯ คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ร่วมกับ คณะกรรมการณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.), มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแยัง จุฬาฯ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดเสวนาหัวข้อ “ถอดบทเรียนประสบการณ์การชุมนุมทางการเมืองและข้อเสนอต่อสังคม” โดยมีอดีตแกนนำขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในอดีต ร่วมวง

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีตแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กล่าวว่า ทุกการชุมนุมมีเงื่อนไขเสมอที่ทำให้คนก้าวออกอกจากบ้านมาลำบากที่ท้องถนน เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย เป็นเหตุการณ์ที่คนเรียนทางสังคมจะทราบว่ามีเงื่อนไข ซึ่งยุค กปปส. เงื่อนไขสะสมมาเป็นสิบปี ก่อนออกกฎหมายนิรโทษกรรม

“เรื่องใหญ่คือการนิรโทษกรรมให้คนที่ถูกตัดสินว่ามีความผิด คดีทุจริตคอร์รัปชั่นมีความผิดทางอาญา ซึ่งเงื่อนไขนี้ถอดได้ หากถอดโดยคนที่มีอำนาจ ก็เชื่อว่าการชุมนุม กปปส.ไม่เกิดขึ้น โดยรัฐขณะนั้นพยายามดึงกฎหมายนิรโทษกรรมกลับมาพิารณาใหม่ จึงเป็นเงื่อนไขการชุมนุม แต่ที่แปลกคือเป็นความรู้สึกร่วมว่า กฎหมายนิรโทษกรรมนี้ออกไม่ได้ เพราะทำลายระบบนิติรัฐและนิติธรรม ซึ่งเชื่อว่าคล้ายกันกับครั้งนี้ (19 กันยายน 63) ที่เกิดจากการกดดัน ด้วยทัศนคติที่ว่าเหตุการณ์จะดีขึ้นได้ ถ้าไม่มีใครแสดงออกแล้วดึงมาคุยกันข้างหลัง แต่การชุมนุม กปปส. ม่ใช่แค่คนต่อต้านนิรโทษกรรม มีกลุ่มชาวนาที่มีหนี้สินจากสามจังหวัดชายแดน เป็นเวทีที่ได้แสดงออกบางอย่างที่เรียกร้องต่ออำนาจรัฐให้แก้ไข ซึ่งการชุมนุมใหญ่ขึ้น จนผู้จัดวิตกว่า ข้อเรียกร้องจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่” นายสาทิตย์กล่าว

Advertisement

นายสาทิตย์กล่าวอีกว่า ฝากถึงน้องๆ ผู้จัดชุมนุม 19 ก.ย.นี้ ซึ่งไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นครั้งเดียวและจบ คือ 1.เงื่อนไขการชุมนุมสำคัญ ต้องยึดการชุมนุมว่าสันติ ปราศจากอาวุธ หากเลยขอบเขต ก็ต้องยอมรับว่าจะต้องเจอกับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเงื่อนไขการชุมนุม กปปส. พันธมิตร นปช. และชุมนุมอื่นๆ มีเงื่อนไขแน่นอน แต่เงื่อนไขนั้น ผู้จัดการชุมนุมจะต้องชัดเจนต้องมีความรับผิดชอบกับผู้ร่วมชุมนุมด้วย ต้องจัดทิศทางและจัดการให้อยู่ในวิถีทางที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น

2.มองย้อนกลับไปและเปรียบเทียบ ปัจจุบันมีข้อกังวล ที่เราสรุปว่าเกิดจากอำนาจรัฐแน่นอน แต่สิ่งที่ต้องยอมรับคือ การชุมนุมช่วง 10 ปีหลังมานี้จะมีเรื่องหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องมาก คือพื้นที่โซเชียลมีเดียที่สร้างความเห็นจำนวนมาก มีสื่อเลือกข้างที่จะบิดข้อมูล วาทกรรมเพื่อด้อยค่าอีกฝ่าย จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงที่น่ากังวลที่สุด เพราะการสร้างความรู้สึกต่อต้านนี้ก็จะไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุม จึงอันตราย กลุ่มคนเหล่านี้ก็จะเสพสื่อ เสพข่าวที่ตัวเองชอบ ตรงกับแนวคิด เมื่อถูกปลูกฝัง วิธีการปฏิบัติกับผู้ชุมนุมจึงสุ่มเสียงและอันตรายมาก

“การผลิตความรู้สึกให้ร้ายอีกฝ่าย เราไม่รู้จะไปเรียกร้องกลับใคร หากจะสุดโต่งไปเรื่อยๆ กังวลว่า 1.จะมีพื้นที่ตรงกลางให้กลับมาพูดคุยได้อีกหรือไม่ 2.เวลามีการชุมนุม แรกสุดต้องดูเครื่องมือรัฐว่ามีกี่ประเภท และเงื่อนไขสำคัญคือ คนที่อยู่ในศูนย์บัญชาการ ทัศนคติของคนในศูนย์ และการอ่านเหตุการณ์ ไม่มีการชุมุนมครั้งไหนที่แกนนำไม่คุยกับรัฐ ต้องมีคนที่พูดคุยกันได้ด้วย เพื่อกำหนดพื้นที่ปลอดภัย

Advertisement

3.ตัวผู้ชุมนุมเอง ส่วนตัวดูการชุมนุมประเทศนี้มาเกือบ 20 ปี ที่น่ากลัวคือแกนนำว่าจะกำหนดทิศทางเคลื่อนการชุมนุมอย่างไร เพื่อลดความขัดแย้ง สิ่งสำคัญคือทัศนคติที่ต้องระวัง เช่น การสร้างข่าวว่าข้างหน้ามีคนถูกตำรวจยิงตาย ซึ่งอาจทำเพราะคะนอง หรือเร่งปฏิกิริยา แกนนำจะต้องระมัดระวัง และจะต้องสื่อสารกับผู้ชุมนุมตลอดเวลา เพราะมีหลายกลุ่ม ซึ่งอาจคิดไม่ได้ตรงกันทั้งหมด และ การเอาอารมณ์เหนือเหตุผล อาจมีโอกาสให้เกิดความขัดแย้งได้ ลดอารมณ์เกลียดชัง จะสกัดเงื่อนไขความรุนแรงได้ คือสิ่งที่อยากเห็นจากการชุมนุม นายสาทิตย์กล่าว

นายสาทิตย์กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอต่อทุกฝ่าย มองว่า การลุกขึ้นของเยาวชน เป็นการลุกขึ้นครั้งแรก หลังยุค 14 ตุลา จริงๆ สะท้อนความสิ้นหวัง ความต้องการเปลี่ยนแปลงของสังคม ไม่ได้กระทบต่อรัฐบาล ยุบสภา ลาออกเท่านั้น แต่มีผลต่อทุกส่วน ไม่ว่ากระบวนการยุติธรรม การศึกษา ทัศนคติดั้งเดิมของสังคมไทย การชุมนุมที่จะเกิด ขอให้ตั้งใจฟังข้อเรียกร้อง และให้ประสมประสาน ให้คนที่เรียกร้องได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ตั้งแต่คนหนุ่มสาวลุกขึ้น รัฐสภาก็มีการเปลี่ยนแปลงมาก หลายคนที่มีความคิดไม่ยอมรับเลย ก็มีการยอมรับมากขึ้น หากมติออกมา อย่างไม่เหมือนที่หลายคนแสดงออกจะเป็นจุดหักเห การตอบรับคงจะไปถึงองค์กรที่เกิดขึ้นด้วย สัปดาห์หน้าลุ้นระทึกเช่นกัน ว่าจะออกมาอย่างที่ทุกคนหวังหรือไม่

“ทุกเงื่อนไขที่กำลังสร้างอยู่ทุกวันนี้ สามารถออกแบบได้ว่าจะนำไปสู่อะไร เขานำการผลักไม่ให้เข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็จะผลักให้เข้าสู่สนามหลวง ถ้าบีบไม่ให้ใช้สนามหลวงก็เร่งให้ไปทำเนียบรัฐบาล เพราะเวลาชุมนุม ถ้าเป็นขบวนการใหญ่ การดูแลจะไม่ครอบคลุม แม้จะออกแบบการจัดการอย่างดีแต่ไม่รู้ว่ามือที่สาม เท้าที่สี่ จะผสมตอนไหน อาจจะมีพวงเขวี้ยงรังแตนแล้ววิ่งนี้ เกิดได้ทุกสถานการณ์ คือโลกแห่งความเป็นจริง จึงฝากทั้งสองฝ่าย

“1.เคารพการตัดสินใจของคนหนุ่มสาว เรียกร้องว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต้องให้นักศึกษาจัดกิจกรรม และรัฐเองต้องอำนวยความสะดวกทุกขั้นตอน ไม่ว่าเขาจะไปไหน ตกลงกันอย่างชัดเจน เรื่องราวก็ไม่เกิดขึ้น แต่ที่ทุกคนวิตกกัน คือใครจะมีความประสงค์อย่างอื่นหรือไม่ ถ้ามีการออกแบบซ้อนการออกแบบ

“การชุมนุม 19 กันยานี้ รัฐต้องให้ความรู้สึกว่านี่คือสิทธิเสรีภาพ เพราะถ้าวันไหนไม่มีคนหนุ่มสาวปกป้องผลประโยชน์ประชาชน ขาตินั้นจะฝากความหวังไว้ไม่ได้ เราต้องทนความแตกต่างกันให้ได้ นี่คือความสวยงามของประชาธิปไตย ถ้ารัฐบาลจะเร่ง ทุกอย่างก็จะไปเร็ว ซึ่งหากเอาตามกำหนดการณ์จะไม่มีอะไร ทุกคนที่นี่ไม่ต้องการให้ความตายหรือสิ่งต่างๆ เกิดขึ้น เมื่อเราได้ประสบ สำคัญคือรัฐต้องมีหน้าที่รักษาความปลอดภัย เลิกคิดว่าการชุมนุมมีท่อน้ำเลี้ยง เพราะทุกสมัยก็บริจากกันทั้งสิ้น เลิกเล่นประเด็นหยุมหยิม ผมต้องการให้เขาประสบชัยชนะโดยที่ไม่มีความสูญเสีย คือประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ที่ไม่มีใครตาย ผมวาดหวังไว้เช่นนี้” นายสาทิตย์กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image