ส.ส.ประชาธิปัตย์ ชี้ฝ่ายรัฐบาลไม่รักษาสัญญาในการร่วมรัฐบาล

ส.ส.ประชาธิปัตย์ ชี้ฝ่ายรัฐบาลไม่รักษาสัญญาในการร่วมรัฐบาล ชี้ ส.ว. และรัฐบาลต้องเป็นผู้รับผิดชอบ กับการตัดสินใจครั้งนี้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

เมื่อวันที่ 25 กันยายน พิมพ์รพี พันธ์ุวิชาติกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความแสดงความเห็น กรณี รัฐสภามีมติตั้งกมธ.ศึกษาก่อนลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยฝ่ายค้านประกาศไม่เข้าร่วมเพราะมองเป็นการยื้อเวลา โดยระบุว่า

พรรคประชาธิป้ตย์มีมติโหวตไม่รับ การตั้งกรรมาธิการ​พิจารณาการแก้รัฐธรรมนูญ​ร่วมก้บ ส.ว. และ พรรคร่วมรัฐบาลเนื่องจาก การแก้รัฐธรรมนูญ​มาตรา 256 เป็นกุญแจดอกแรกที่สามารถนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญได้ ในการขอแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ต้องมีเสียง ส.ว. มากกว่า 84 ท่านซึ่งน่าเสียดายว่า ท้ายสุด ส.ว. และพรรคพลังประชารัฐ ภูมิใจไทย และพรรคร่วมรัฐบาล มีมติให้ตั้งกรรมาธิการร่วม เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใช้เวลาอีก 30 วัน

การทำสิ่งนี้ เป็นการไม่รักษาสัญญาประชาคม และสัญญาในการร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์​

Advertisement

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนนี้ที่ประชาชนเรียกร้องให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ การกระทำในวันนี้ถือเป็นการสุมฟืนลงไปในกองไฟ อาจทำให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง นอกสภาที่รุนแรงมากขึ้น เป็นการแปลกแยกสังคม แปลกแยกประชาชน ทวีความขัดแย้ง

ส.ว. และรัฐบาล ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ กับการตัดสินใจครั้งนี้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงขอบันทึกไว้

ลำดับเหตุการณ์ กรณีการเสนอแก้รัฐธรรมนูญ นี้

Advertisement

– เริ่มต้นหลังเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล การแก้รัฐธรรมนูญ เป็น 1 ใน 3 เงื่อนไข ที่ ประชาชนเสนอและพรรคพลังประชารัฐ ยินยอมโดยบรรจุใว้ในนโยบาย เร่งด่วน ข้อ 12 ในการแถลงนโยบายต่อสภา

-มีการเรียกร้องจากสังคม ให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ จนสภาต้องตั้ง กรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา การแก้รัฐธรรมนูญ โดยมีที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

-มีการชุมนุมของนักศึกษา และตั้งข้อเสนอหลายข้อ แต่หนึ่งในข้อเสนอนั้น คือการแก้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 60 นี้ โดยให้เหตุผลว่า ต้องการ ปิดสวิท สว ไม่ให้มีสิทธิเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะไม่มีที่มาจากประชาชน

– นายกรัฐมนตรีบอกว่าไม่ขัดข้องเป็นเรื่อง ของสภาที่มีการศึกษาอยู่ ถ้าสรุปผลมาอย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามนั้น

– กรรมาธิการศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญ ได้ศึกษาเสร็จ รายงานต่อสภาว่ามีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ใน มาตรา 256 เรื่อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

– พรรคร่วมรัฐบาลมีมติพรรคร่วมรัฐบาลร่วมกันให้ เสนอร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ ในมาตรา 256 โดยให้มีการตั้ง สสร ที่มาจากประชาชน เพื่อไปคิดว่าจะแก้ อะไรอย่างไร ไม่แต่ หมวด 1 หมวด 2 เรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์

– ประธานสภาต้องบรรจุญัตติ การขอแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งฝ่ายค้าน พรรคร่วมรัฐบาล และ ร่างต่างๆ รวม 6 ฉบับ เพื่อพิจารณา ตามกฎหมายภายใน 15 วัน

-23-24 กันยายน รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร่วมกันเนื่องจากกฎหมายกำหนด วิปพรรคร่วมรัฐบาลตกลงกันมาตั้งแต่แรกว่า รับหลักการร่าง ของพรรคร่วมรัฐบาลเอง ส่วนอีก 4 ร่างฟรีโหวต

-24 กย ก่อนลงมติรับหลักการ สว และ พรรคพลังประชารัฐ เสนอให้มีการตั้ง กรรมกาธิการเพื่อศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญ อีกครั้ง เนื่องจาก สว เป็นกังวลว่าไม่ใีส่วนร่วมการศึกษา ทั้งที่ สามารถไปดำเนินการได้ในชั้น วาระที่ 2 คือแปรญัตติ

พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าทุกอย่างผ่านการศึกษามาอย่างเป็นระบบแล้ว และเป็นร่างแก้ไข ที่เป็นของพรรคร่วมรัฐบาลเองเห็นชอบร่วมกันที่เสนอเข้ามาสู่สภา และหากลงมติเห็นด้วย จะถูกนำไปสู่ข้อกล่าวหาเตะถ่วง และเพิ่มความขัดแย้งในสถานการณ์ จึงลงมติไม่เห็นด้วยที่จะตั้งกรรมาธิการขึ้นมาศึกษา ของพรรคพลังประชารัฐ และ สว.

💙พรรคประชาธิป้ตย์มีมติโหวตไม่รับ การตั้งกรรมาธิการ​พิจารณาการแก้รัฐธรรมนูญ​ร่วมก้บ สว. และ พรรคร่วมรัฐบาล🌿 เนื่องจาก…

โพสต์โดย ดร. พิมพ์รพี พันธ์ุวิชาติกุล – Pimrapee Phanwichatikul, Ph.D เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2020

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image