ศาลายาปชต. ศึก! ‘หนุ่มปาตานี’ ซัดรัฐผูกขาดความเป็นชาติ ปฏิเสธความหลากหลาย

เทศกาลศาลายาปชต. ศึก!  ‘หนุ่มปาตานี’ ชี้รัฐผูกขาดความเป็นชาติ ปราถนาประชาธิปไตย ไม่ผลักความเป็นอื่น

เมื่อวันที่ 25 กันยายน ที่สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เครือข่าย We Fair, ภาคีนักศึกษาศาลายา, ศาลายาเนี่ยน และ สามัญชน จัดงาน “Salaya Democracy Fest” โดยมีกิจกรรม อาทิ วงเสวนา การแสดง ฉายสารคดีสั้น และการกล่าวสุนทรพจน์ เพื่อเป็นเสียงของผู้ฝักใฝ่เห็นการเปลี่ยนแปลงในระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีการออกบูธรำลึกถึงการต่อสู้ของคนในมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน, บูธรำลึกถึง นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ผู้บุกเบิกโครงการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) โดย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล, นิทรรศการ Uprising 2020 รวมความเคลื่อนไหวทางการเมืองในปีนี้ โดย พิพิธภัณฑ์สามัญชน เป็นเสื้อชุมนุมทางการเมืองของแต่ละมหาวิทยาลัย รวมถึงอุปกรณ์ชุมนุม อาทิ ป้ายผ้า สคริปต์ปราศรัย มือตบ 3 นิ้ว พัดและผ้าโพกหัว “ให้มันจบที่รุ่นเรา” ภาพวาดบุคคลสูญหาย โดยศิลปินชาวเชียงใหม่ โปสเตอร์ ยกเลิก ส.ว. สติ๊กเกอร์ จากงาน ActสิArt ป้ายห้อยคอสต๊าฟในกิจกรรมการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน และ 19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร, หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าว การจับกุมทนายอานนท์ และ ไมค์ รัยิง, นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ รูปนายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม


เวลา 17.15 น. นายซูกริฟฟี ลาะเตะ ประธานสหพันธ์นักเรียน นิสิต นักศึกษา และเยาวชนปาตานี (PerMAS) กล่าวสุนทรพจน์ เรื่อง “การคุกคามโดยรัฐ และความอยุติธรรม” โดยนายซูกริฟฟี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคง ได้จัดการอย่างไรก็ได้ เพื่อให้ความคิดของประชาชนไม่สามารถแสดงออกในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นคุณค่าในระบอบประชาธิปไตย คือการพูด การปกครองด้วยความหลัง กดคนในกรอบที่รัฐจำกัด แพร่หลายสู่สังคมไทยโดยกว้างมากขึ้น รัฐพยายามเข้ามากดวิธีคิด ความเชื่อ แม้กระทั่งความฝันของประชาชน คือ ความเป็นประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญใหม่

หน้าที่ของรัฐไม่ใช่การคุกคามประชาชนที่มีความเชื่อทางการเมือง ไปเยี่ยมบ้าน ละเมิดสิทธิทุกวันเพียงเพราะเขาพูดวาระที่ไปไกลกว่า การจำกัดความสุกงอม ต้องเปิดพื้นที่ให้เขาถกเถียงได้อย่างปลอดภัย ซึ่งรัฐควรทำตัวเป็นกรรมการในการต่อสู้ ไม่ใช่เล่นเอง การต่อสู้ในสังคมไทยทุกวันนี้ ประชาชนยื่นข้อเสนอ ท่ามกลางการปะทะของสองขั้วความคิด ที่ว่าบ้านเมืองต้องหลุดพ้นสู่แสงสว่าง และการรักษาอดีต เรากำลังถกเถียงว่าอำนาจสูงสุดเป็นของใคร ซึ่งเป็นของประชาชน จนถูกปล้นหาย สร้างความหมายใหม่ว่าเป็นของคนดี และอภิสิทธิ์ชน เท่านั้น

Advertisement

รัฐไทยเกิดขึ้นจากความหลากหลายทางความเชื่อ ไม่เพียงรัฐไทย แต่หมายถึงอุดมการณ์ความหลากหลายในสังคม แต่คำว่าชาติไทยผูกขาดความเป็นรัฐไทย  หากวันนี้เรามีความฝันว่า รัฐธรรมนูญที่ร่างจะโอบกอดยอมรับความหลากหลาย อยากถามว่า เราเคยมีหรือยัง และหลังจากนี้จะออกมาอย่างไร ที่รัฐสามารถโอบกอดความหลากหลายและปลอดภัย เขาปฏิเสธความหลากหลาย สิทธิเสรีภาพของทุกคน แต่น่ายินดีที่การต่อสู้ทะลุเพดานความกลัวแล้ว

“เราจะทำให้อำนาจสูงสุดกลับไปสู่ประชาชนอย่างไร  หากมรดกเผด็จการคือกฎหมาย แน่นอนต้องแก้ไข ซึ่งยังมีมรดกของเผด็จการอีกแบบ ในการแทรกแซง ด้วยการล่าอาณานิม ด้วยการสร้างอำนาจที่ยิ่งใหญ่ ในพื้นที่สามจังหวัด ครั้งหนึ่งเคยปรากฏในสนธิสัญญา ส่งผลต่อความไม่พอใจของคนที่เสียอำนาจ ก่อนผนวกเป็นรัฐไทยในปัจจุบัน ชาติไทย เชื้อชาติไทย รัฐ ถูกนิยามในความหมาย ปะทะกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยแสดงออกด้วยการใช้ความรุนแรงในพื้นที่ ถามว่าเราจะหลุดพ้นความรุนแรงโดยไม่ใช้อาวุธ โอบกอดอุดมการณ์นั้นไว้อย่างไร

ดังนั้น รัฐธรรมนูญทุกหมวด จึงสามารถแก้ไขได้ ตราบที่อำนาจสถาปนาต้องการเปลี่ยนแปลง แต่รัฐธรรมนูญที่ยอมรับความเป็นอื่นนอกจากความเป็นไทย และชำระระบอบเก่าอย่างไร เพราะนี่ไม่ใช่ชัยชนะของคนกลุ่มหนึ่ง แต่คือชัยชนะของทุกคน

Advertisement

รัฐควรเปิดพื้นที่ความหลากหลาย ไม่ควรผูกขาดความเป็นชาติไทย ระบุ พื้นที่อื่นที่แตกต่าง ประกอบสร้างเป็นรัฐไทยภายใต้ความหลากหลาย เคารพศักดิ์ศรี ความเป็นคน ผมปรารถนาแน่วแน่ว่าอุดมการณ์ประชาธิปไตยไม่ได้ผลักความเป็นอื่น ปราถนาว่าประเทศไทยจะหลุดพ้นความรุนแรง สู่สังคมอารยะ แก้ปัญหาทางการเมืองอย่างสันติ” นายซูกริฟฟี กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image