‘นร.เลว’ ฉะ รธน.ก็เหมือน ‘กฎโรงเรียน’ ปชช.ไม่มีส่วนร่าง เชื่อหากไม่แก้ ประเทศดิ่งลงเหว

‘นร.เลว’ ฉะ รธน.ก็เหมือน ‘กฎโรงเรียน’ ปชช.ไม่มีส่วนร่าง เชื่อหากไม่แก้ ประเทศดิ่งลงเหว

เมื่อวันที่ 25 กันยายน ที่ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เครือข่าย We Fair, ภาคีนักศึกษาศาลายา, ศาลายาเนี่ยน และ สามัญชน จัดงาน “Salaya Democracy Fest” โดยมีกิจกรรม อาทิ วงเสวนา การแสดง ฉายสารคดีสั้น และการกล่าวสุนทรพจน์ เพื่อเป็นเสียงของผู้ฝักใฝ่เห็นการเปลี่ยนแปลงในระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีการออกบูธรำลึกถึงการต่อสู้ของคนในมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน, บูธรำลึกถึง นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ผู้บุกเบิกโครงการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) โดย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล, นิทรรศการ Uprising 2020 รวมความเคลื่อนไหวทางการเมืองในปีนี้ โดย พิพิธภัณฑ์สามัญชน เป็นเสื้อชุมนุมทางการเมืองของแต่ละมหาวิทยาลัย รวมถึงอุปกรณ์ชุมนุม อาทิ ป้ายผ้า สคริปต์ปราศรัย มือตบ 3 นิ้ว พัดและผ้าโพกหัว “ให้มันจบที่รุ่นเรา” ภาพวาดบุคคลสูญหาย โดยศิลปินชาวเชียงใหม่ โปสเตอร์ ยกเลิก ส.ว. สติ๊กเกอร์ จากงาน ActสิArt ป้ายห้อยคอสต๊าฟในกิจกรรมการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน และ 19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร, หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าว การจับกุมทนายอานนท์ และ ไมค์ ระยอง, นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ รูปนายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม

เมื่อเวลา 18.10 น. วันที่ 25 กันยายน ที่ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เครือข่าย We Fair, ภาคีนักศึกษาศาลายา, ศาลายาเนี่ยน และ สามัญชน จัดงาน “Salaya Democracy Fest” โดยมีกิจกรรม อาทิ วงเสวนา การแสดง ฉายสารคดีสั้น และการกล่าวสุนทรพจน์ เพื่อเป็นเสียงของผู้ฝักใฝ่เห็นการเปลี่ยนแปลงในระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงขึ้น

Advertisement

ตัวแทนกลุ่มนักเรียนเลว กล่าวสุนทรพจน์ เรื่อง “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ว่า ถ้าพูดกันแล้วอาจรู้สึกว่าไกลจากตัวเด็กมัธยมที่ยังอายุไม่ถึง 18 ปี ลงชื่อแก้ไขไม่ได้ แต่รัฐธรรมนูญคือการเมือง เกี่ยวข้องกับชีวิตของนักเรียนจำนวนมาก ที่พร้อมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ แต่ภายใต้รัฐเผด็จการ เราหลายคนถูกคุกคาม ด้วยการใช้อำนาจโดยไม่ชอบ ทั้งในโรงเรียน โดยตำรวจ และในบ้าน การต่อสู้นี้ต้องแลกมาด้วยอะไรหลายอย่างเพื่อปลายทางที่เราฝันร่วมกัน

“รัฐธรรมนูญหลายฉบับที่ผ่านมา น้อยมากที่ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการร่าง เป็นเพียงเสี้ยวหยิบมือเล็กๆ ที่เข้าไปร่างกฎหมายที่บังคับใช้ทั่วประเทศ ไม่ต่างจากกฎโรงเรียนที่เป็นภาพสะท้อน นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการร่าง หรือคิด ว่าจะมีอะไรมาบังคับใช้กับตัวเอง ประชาชนแทบไม่มีความสำคัญในกระบวนการเหล่านี้ รัฐธรรมนูญปี 2560 นี้ บังคับใช้กับทุกคนแต่กลับไม่ให้ความสำคัญกับพวกเรา ร่างขึ้นมาเพื่อ คสช. ไม่ใช่เพื่อประชาชนและอนาคตของประเทศ แต่เพื่อผลประโยชน์ของตนเองทั้งสิ้น ในฐานะที่ต้องอยู่ประเทศนี้ไปอีกหลายสิบปี เราต้องอยู่กับสิ่งที่เราไม่มีทางเลือก เอาคนที่เราไม่ได้เลือกตั้งมาครอบเรา ตัดสินว่าควรบังคับใช้กฎหมายอะไร ทั้งที่คนเหล่านั้นนอกจากจะกินเงินเดือนจากเราโดยสูญเปล่าแล้ว ยังไม่ได้มาจากพวกเรา”

“ในสมการการเมือง ประชาชนแทบไม่เคยอยู่ในนั้น ทั้งการร่างรัฐธรรมนูญ ลงมติ ส.ส.เป็นส่วนหนึ่ง แต่จำนวนอีกครึ่งของ ส.ส. กลับเป็น ส.ว.ที่เราไม่ได้เลือกมาสักคน แล้วอนาคตเราจะเป็นอย่างไร ในอีก 20-30 ปี ส.ว.เหล่านั้นคงไปเกิดใหม่อีกชาติ แต่เรายังต้องจมกับปัญหาที่เขาทิ้งไว้ให้เรา อนาคตริบหรี่เหลือเกินภายใต้รัฐเผด็จการ

Advertisement

“ยังมีหลายคนผลักการเมืองออกจากเด็ก ในสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งสกปรก น่ากลัว แต่การเมืองก็ยังเป็นเรื่องของทุกคน อนาคตของเราที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ คนวัยทำงานที่จะโตเป็นผู้สูงอายุ ขึ้นอยู่กับการเมือง ฉะนั้น การแก้รัฐธรรมนูญ 2560 จึงเป็นสิ่งสำคัญ หากเราไม่แก้ และปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นเรื้อรัง ประเทศจะดิ่งลงเหวเรื่อยๆ และคนที่ขู่เราว่าจะมีอนาคตหรือไม่ ก็ไม่รู้ว่าวันนั้นประเทศจะยังมีอยู่หรือไม่ ดังนั้นการแสดงออกทางการเมืองจึงเป็นหน้าที่หนึ่งของเรา” ตัวแทนกลุ่มนักเรียนเลวกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image