‘เยาวชน’ ส่งเสียง ชี้ช่องว่างระหว่างเพศ คือค่านิยม ถูกปลูกฝังตั้งแต่ ‘สมัยอยุธยา’

‘เยาวชน’ ส่งเสียง ชี้ช่องว่างระหว่างเพศ คือค่านิยม ถูกปลูกฝังตั้งแต่ ‘สมัยอยุธยา’

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจุดนัดหมายจัดกิจกรรม ‘ม็อบเฟสต์’ มีประชาชนเดินทางมาร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ผู้สื่อข่าวรายว่า เวลา 20.30 น. ที่ เวทีผู้หญิงปลดแอก บริเวณหน้าแมคโดนัลด์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการเสวนาประเด็นช่องว่างระหว่างเพศ และ การกดทับในสังคมไทย โดยตัวแทนเยาวขน หญิงและชาย

เพ็ญ เยาวชนหญิง กล่าวถึงสำนวน ชายข้าวเปลือก หญิงข้าวสาร ว่า ความหมาย ตอนที่เรียนสำนวนนี้ครั้งแรก ครูสอนว่า ผู้ชายเป็นข้าวเปลือก ล่วงหล่นพื้นก็งอกเงยขึ้นใหม่ได้ แต่ข้าวสาร เมื่อลงแผ่นดิน เน่า เป็นผลผลิตใหม่ไม่ได้ เป็นเรื่องที่กำหนดว่า เพศไหน มีหน้าที่อะไร เราถูกปลูกฝังค่านิยมนี้ตั้งแต่เด็ก ว่า หญิง-ชาย มีศักยภาพไม่เท่ากัน อยู่ในสำนวน และคำสอนของหลายๆ บ้าน

ขยับมาที่วัยรุ่น เป็นวัยที่ต้องเรียนรู้ว่า ชอบ-ไม่ชอบอะไร เพราะต้องเป็นผู้ใหญ่ ทำงานเลี้ยงชีพในอนาคต ด้วยความเป็นผู้หญิงได้ยินคนรอบตัว อยากทำในสิ่งที่ดูเป็นผู้ชาย เช่น วิศวกร โปรแกรมเมอร์ บอกว่า อารมณ์อ่อนไหว จะตัดสินใจได้ดีกว่าหรือว่าความสามารถไม่มีเท่าผู้ชาย ซึ่งค่านิยมนี้ส่งผลถึงอาชีพด้วย

Advertisement

“อีกปัญหาที่ไม่หายไป คือ ผู้หญิงถูกคาดหวังว่าต้องเป็นแม่ อยู่บ้าน ฝังรากลึกจริงๆ ผู้ชายก้าวขึ้นมาอยากมีอำนาจในสังคม อยากควบคุมสิ่งต่างๆ และมองว่านี่คือจุดที่ผู้หญิงไม่มี จึงอาจเอาจุดนี้มากดเรา

เชื่อว่าการมาพูดวันนี้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงในเร็ววัน แค่ทำให้ได้ฉุกคิดว่า การได้ค่าแรงควรพิจารณาจากทักษะความสามารถหรือไม่ ไม่ใช่ตัดสินด้วยเพศ

เราไม่ได้โจมตีใคร แต่มองว่านี่คือปัญหาที่ส่งผล ระบอบชายเป็นใหญ่ไม่กระทบเพียงรายได้ แต่กระทบกับหลายอย่าง อยากให้ตั้งคำถาม ยอมรับว่ามีปัญหา เปิดใจรับฟัง ร่วมมือช่วยกันขับเคลื่อนสังคม เปลี่ยนแปลงให้น่าอยู่ สร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น ให้คนรุ่นหลังของเราได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” เพ็ญกล่าว

Advertisement

จากนั้น เกล กล่าวว่า ทำไมถึงเกิดช่องว่างระหว่างเพศ ตั้งแต่สมัยอยุธยา ประเทศไทยได้รับคติทางศาสนาพุทธ ว่า ผู้หญิง คือกิเลส ที่ทำให้ผู้ชายไม่สามารถหลุดพ้นได้ รวมถึง ชายเป็นช้างเท้าหน้า หญิงช้างเท้าหลัง ยังมีชุดความคิดว่า เมื่อสามี-ภรรยาได้แต่งงานกัน ภรรยาจะเป็นสมบัติของสามีในทุกๆ ด้าน ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิใดใด ได้เลย จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า มีพระประสงค์ให้ยกเลิกกฎหมายนี้ เพราะไม่เท่าเทียม ซึ่งสมัยนั้นตะวันตกเข้ามาล่าอาณานิคมด้วย จึงมีการพัฒนาประเทศ มีมิชชันนารีหญิงเข้ามาสอนศาสนา มี โรงเรียนหญิงล้วนเกิดขึ้น ซึ่งเป็นของชนชั้นสูง ได้รับชุดความคิดว่า  ผู้หญิงต้องทำงานแบ่งเบาภาระให้สามี

“สอนให้เราคิดว่า หาสามีมียศ แล้วอยู่สวยๆ สบายๆ คือสาเหตุที่ทำให้คนในสังคมไทยคิดว่า เพศหญิงไม่ควรได้รับเงินเดือนเท่าผู้ชาย เพราะยังเป็นช้างเท้าหลังอยู่ แต่ความจริงเราทำงานเท่ากัน สิ่งนี้เกิดขึ้นจริง ทำไมเราจึงได้เงินไม่เท่ากัน ไม่ควรจำกัดความชอบด้วยกรอบสังคม

อยากฝากไว้ว่า ถ้ายังมีช่องว่างระหว่างเพศต่อไป เราคงไม่อยากทำงานแล้ว เราจะทำงานหนักไปทำไม ถ้าไม่ได้เท่าเขา ไม่อยากให้มีเรื่องนี้ต่อไปในรุ่นหลังจากเรา” เกล กล่าว

ด้าน ชล ตัวแทนเยาวชนชาย กล่าวว่า การทานแอลกอฮอล์ เกี่ยวข้องอะไร ขอยกบริษัทญี่ปุ่นในไทย ให้เหตุผลว่า ที่ให้เงินเดือน พนักงานหญิง น้อยกว่าพนักงานลาย เพราะ พนักงานหญิงเลิกงานไปดื่มกับพนักงานชายไม่ได้ เพราะ 1. ทำให้เขาดูไม่ดี 2.กลัวเพราะเคยมีเรื่องว่า พนักงานหญิงไปดิ่มกับพนักงานชาย ถูกมองว่า พาออกไปดื่ม ทำให้เกิดปัญหา ต่อว่า ว่าจะพาไปทำมิดีมิร้าย 3.ไม่เหมือนไปดื่มกับผู้ชาย เพราะอยู่กับเพื่อนคุยอะไรก็ได้ ดื่มหนักแค่ไหนก็ได้ เกี่ยวข้องกับชายเป็นใหญ่ สังคมไทย หรือแม้แต่ต่างประเทศ ที่ยกไว้เป็นสมบัติของผู้ชาย สินค้าของตัวเองไปอยู่กับคนอื่น จึงเป็นภาพที่ไม่ดี จึงไม่แปลกที่มีประเด็นนี้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่เพียงผู้หญิง ผู้ชายก็โดนเช่นกัน กรณีหัวหน้าผู้หญิง

“การลาคลอดของผู้หญิง ที่ชัดเจนที่สุด ผู้ชายเหมือนโดนตั้งค่ามาว่า งานง่ายไม่จุกจิก ไม่เหนื่อย แล้วทำไมเราต้องทำ ซึ่งผิด เพราะงานบ้าน เหนื่อย ไม่เช่นนั้นคงไม่มีอาชีพแม่บ้าน ทุกอย่างเกิดจาการถูกปลูกฝัง

ประเทศไทย ช่องว่างอาจไม่ได้ลดลงมาก แต่ต่างประเทศลดลงทุกปี เช่น ญี่ปุ่น ผู้ชายยอมกฎลาคลอด 3 เดือน เพื่อช่วยภรรยาเลี้ยงลูกแล้ว เราอาจต้องยอมรับ เสียเงินบางส่วนสัก 3 เดือนมาช่วย เพื่อได้รู้ว่า การเลี้ยงลูกนั้น เหนื่อย และเป็นสิ่งที่ผู้ชายควรทำ” ชล กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image