‘ราษฎรชาย’ จวกรัฐทุนผูกขาด บริหารแข็งตัว กระทบเกษตรไทย จี้เพิ่มถนนตัดผ่าน เพื่อการขนส่ง

‘ราษฎรชาย’ ฉายเดี่ยว จวกรัฐทุนผูกขาด บริหารแข็งตัว กระทบเกษตรไทย จี้เพิ่มถนนตัดผ่าน เพื่อ ‘การขนส่ง’

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ ห้าแยกลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ภายหลังกลุ่ม “ราษฎร”ประกาศนัดหมายรวมตัวในเวลา 16.00 น. ที่ห้าแยกลาดพร้าว เพื่อ “ซ้อมต้านรัฐประหาร” ที่มีโอกาสเกิดขึ้น พร้อมระบุด้วยว่า “รัฐประหารคือการล้มล้างการปกครอง และถ้ากาลนั้นมาถึง ประชาชนจะไม่ยอมอีกต่อไป” นั้น

เวลา 17.15 น. ราษฎรชาย กล่าวปราศรัยตอนหนึ่ง ถึงประเด็นรถไฟฟ้า ว่า หากรถไฟฟ้ากระจายไปต่างจังหวัด จะไม่เกิดราคาที่ลงทุนไปมากขนาดนี้ ซึ่งส่งผลต่อค่าโดยสารราคาสูง ยังมีกรณีถนนของแต่ละอำเภอ โดยยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น ที่มีเนินชันจำนวนมาก แต่เกิดอุบัติเหตุน้อยกว่าไทย ซึ่งการที่มีโค้งมากทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย รวมทั้งไทยไม่มีผนังกั้นดินในหลายเส้นทาง ซึ่งสำคัญเมื่อกรณีเกิดดินถล่ม รถจะไม่สามารถสัญจรได้ หรือหากมีธุรกิจมูลค่า 2 ล้าน ก็ไปต่อไม่ได้ แค่ดินถล่มวันเดียว ธุรกิจจะต้องหยุดตัว เนื่องด้วยรัฐบาลไม่สามารถเข้ามาช่วยได้ทันท่วงที และว่า ถ้าถนนไม่ยึดโยงโครงข่ายเป็นหลัก การกระจายสินค้าจะมีได้ทั่วประเทศ เนื่องจากเราไม่ได้มีเส้นทางคมนาคมที่ขับรอบประเทศไทยได้ เช่น สตอเบอร์รี่ที่ไม่มีในภาคอีสาน ก็เพราะโครงข่ายถนนที่ผูกขาด

นอกจากนี้ การเก็บข้อมูลของรัฐ ไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของประชาชนและการทำธุรกิจ การเก็บข้อมูลสินค้าเกษตรไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เช่น เกษตรกรจะปลูกอะไร รัฐจะต้องมีข้อมูลในมือว่า ใครปลูกอะไรไปแล้วบ้าง ซึ่งรัฐจะสามารถบอกได้ว่า คุณควรปลูกอะไร ที่จะขายได้ ไม่ล้นตลาด

โครงการวิจัยส่วนท้องถิ่นที่ไม่ตรงกับพืชผลที่จะไปปลูก ว่าพื้นที่เหมาะแก่การปลูกพืชพันธุ์ใด เช่น พืชผลคือสตรว์เบอร์รี่ แต่ องค์กรทำการวิจัยองุ่น เป็นต้น

Advertisement

“องค์กรปุ๋ย และการเกษตรไม่ทันยุคสมัย คือเหตุผลที่เกษตรกรต้องพยายามพัฒนาตัวเอง คลื่นแรกที่มนุษย์มีคือยุคเกษตรกรรม จะสังเกตได้ว่าคนที่ไม่มีอะไร มีแค่ที่ดินก็รวยได้ ยุคที่สอง ยุคโรงงาน คนที่มีโรงงานจะรวย ยุคที่ 3 คือ โรงงานความรู้ คือการที่สินค้ามีความรู้มากขึ้น มีลิขสิทธิ์ สินค้าน้อยลง เกิดการครอบครองได้มากขึ้น เป็นยุคอีคอมเมิร์ซ ที่ถือสิทธิบัตร ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละยุค

ยุคที่ 5 บิ๊กดาต้า ที่รัฐควรปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย คือเหตุผลว่า ทำไมการเปลี่ยนแปลงมาเร็วมาก เพราะเราอยู่ในทุนนิยมเรียบร้อยแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรัฐควรจัดสรรให้ประชากรมีรายได้ที่สอดคล้องกับค่าครองชีพ ซึ่งรัฐแข็งตัวมากในการทำงาน นี่คือสาเหตุที่เกษตรกรไม่รวยขึ้น”

“สิ่งที่รัฐทำได้คือ 1.การมีข้อมูล 2.การให้ข้อมูลที่สอดคล้องกับโลก 3.การอำนวยความสะดวก และคมนาคมเพื่อการค้า โดยการเพิ่มถนน และจุดตัดผ่านการขนส่งที่หลากหลาย ยึดโยงหลายจังหวัดมากขึ้น
เพื่อให้เกษตรกร มีคุณภาพชีวิตที่ดี สอดคล้องกับค่าครองชีพ ซึ่งรัฐนี้คือทุนนิยมที่ไม่เห็นใจผู้บริโภค” ราษฎรชายกล่าว

Advertisement

โดยมวลชน ร่วมชู 3 นิ้ว เมื่อเข้าใจการปราศรัยในแต่ละประเด็น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image