สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จี้รัฐหยุดใช้ข้ออ้างทางกม.คุกคามชาวบ้านบางกลอย

สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จี้รัฐหยุดใช้ข้ออ้างทางกม.คุกคามชาวบ้านบางกลอย

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ออกแถลงการณ์สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอยคืนถิ่นใจแผ่นดิน ระบุว่า

สืบเนื่องจากการตัดสินใจเดินทางกลับหมู่บ้านบางกลอยบน ณ ป่าใหญ่ใจแผ่นดินซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดให้วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 18.00 น. เป็นจุดวันเวลาสุดท้ายที่จะต้องปราศจากชาวบ้านในพื้นที่บริเวณหมู่บ้าน โดยการ กระทำนี้เองถือเป็นการใช้อำนาจรัฐในการคุกคามและใช้ความรุนแรงต่อชุมชนท้องถิ่นซึ่งขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ชาวบ้านบางกลอย ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและชนกลุ่มน้อยชายขอบถูกอพยพ ออกจากพื้นที่จากการบีบบังคับโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และทหาร เนื่องด้วยข้ออ้างด้านความมั่นคงและการอนุรักษ์ผืนป่า อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านกลับไม่ได้การจัดสรรที่ดินทำกินอย่างเหมาะสม อีกทั้งรายได้ที่ได้จัดสรรดินก็ไม่เป็นไปตาม ข้อตกลงกับรัฐในตอนแรก ชาวบ้านจึงเดินทางกลับขึ้นไปอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านดังเดิม จนกระทั่ง พ.ศ. 2554 เจ้าหน้าที่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้เริ่มใช้ยุทธการ “ตะนาวศรี” โดยอาศัยการเผากระท่อมและยุ้งข้าวของชาวบ้านเพื่อ เป็นการบีบบังคับให้ชาวบ้านย้ายลงมาที่หมู่บ้านบางกลอยล่าง-โป่งลึก ซึ่งจากเหตุการณ์นี้เองได้นําไปสู่กรณีที่ “บิล ลี่ พอละจี” ถูกบังคับสูญหายในปี พ.ศ. 2557

Advertisement

เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ชาวบ้านบางกลอยได้รวมกลุ่มกันเพื่อเดินเท้ากลับไปยังหมู่บ้านบางกลอย บนอันเป็นพื้นที่ดั้งเดิมตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งผืนป่าแก่งกระจาน และแม้ว่าเหตุการณ์ การใช้ความรุนแรงของรัฐในการคุกคามชาวบ้านบางกลอยจะเป็นประเด็นความสนใจของสังคมจนเกิดกระแสในสื่อ สังคมออนไลน์ผ่าน #saveบางกลอย ซึ่งล้วนแต่เป็นการเคลื่อนไหวโดยภาคประชาชนในการนำเสนอข้อมูลต่อ สาธารณะอย่างต่อเนื่อง แต่กระนั้นแล้ว เมื่อวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ช่วงเวลา 09.00 น. กลับมีการ พบเห็นเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำบินขึ้นไป โดยคาดการณ์ว่าเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวนั้นมุ่งหน้าไปสู่บางกลอยบน ใจแผ่นดิน ซึ่งเป็นจุดที่มีกลุ่มชาวบ้านจำนวน 36 ครอบครัวกำลังปักหลักอยู่ ซึ่งการกระทำโดยรัฐในครั้งนี้นั้นขัดต่อข้อตกลงใน การหยุดคุกคามชาวบ้านบางกลอยที่ได้ตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะองค์กรที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยและหลัก สิทธิมนุษยชน ขอประณามการใช้อำนาจรัฐในการคุกคามและการใช้ความรุนแรงอย่างไร้ความเป็นธรรมกับชุมชน ชาวบ้านบางกลอย กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งใจแผ่นดิน ซึ่งเป็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน และขอเรียกร้องไป ยังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงสื่อมวลชนกระแสหลัก ให้พิจารณาการกระทำของตนและดำเนินการตามข้อเรียกร้อง ดังต่อไปนี้

1. ขอให้รัฐหยุดใช้ข้ออ้างและอำนาจทางกฎหมายในการคุกคามชาวบ้านผ่านการดำเนินคดีรวมถึงยุติการใช้ ความรุนแรงในทุกรูปแบบ

Advertisement

2. ขอให้รัฐยินยอมให้ชาวบ้านบางกลอยได้กลับคืนสู่ชุมชนดั้งเดิม อันมีประวัติศาสตร์การอาศัยอยู่ของกลุ่ม ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งแก่งกระจานมาอย่างยาวนาน

3. ขอให้สื่อมวลชนกระแสหลักทั้งหลายนำเสนอข้อเท็จจริงและสร้างความเข้าใจแก่สาธารณชนอย่างต่อเนื่อง และเป็นธรรม

สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22 กุมภาพันธ์ 2564

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image